
สเปซเทคฯ-NT คว้าสิทธิวงโคจรดาวเทียมจาก กสทช. จำนวน 3 ชุดแพ็กเกจ มูลค่า 806 ล้นบาท สัญญา 20 ปี
วันที่ 15 มกราคม 2566 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ผลสรุปการแข่งขันประมูลสิทธิวงโคจรดาวเทียม ใช้ลักษณะการจัดชุด มีบริษัทเข้าร่วมประมูล 3 ราย ได้แก่ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด, บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) และ บริษัท พร้อม เทคนิคอล จำกัด แต่ได้ผู้ชนะ 2 ราย คือ
- เปิดวิธีลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 มีขั้นตอนอย่างไร ?
- ความเสี่ยงในวัยเกษียณ 5 ข้อสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ?
- โควิดระบาด 3 ปี ไม่เคยติดเชื้อ จับตาปริศนากลุ่ม “โนวิด”
1.บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ “ไทยคม” คว้า 2 ชุดแพ็กเกจ คือ ชุดที่ 2 และชุดที่ 3 (รายละเอียดตามตารางประกอบ)
2.บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) คว้า 1 แพ็กเกจ คือ ชุดที่ 4 (รายละเอียดตามตารางประกอบ)
สำหรับ พร้อม เทคนิคอล ได้เข้าแข่งขันประมูลในชุดแพ็กเกจที่ 2 เแต่แพ้ไป เนื่องจากหลังจากทั้งสองบริษัท (พร้อม เทคนิคอล และสเปซ เทค) เสนอราคารอบที่สอง ราคาเพิ่มขึ้นจาก 360 ล้านบาท (ราคาตั้งต้น) เป็น 370 ล้านบาท (เพิ่มครั้งละ 5% จากราคาตั้งต้น) รอบสุดท้าย สเปซเทค เคาะเพิ่มอีก 5% เป็น 396 ล้านบาท ทำให้ พร้อม เทคนิคอล ยอมถอย และเสนอราคาสุดท้ายให้ผู้ชนะคือ ราคา 380 ล้านบาท
การประมูลครั้งนี้ กสทช. ได้รับเงินค่าใบอนุญาตจาก 3 ชุดแพ็กเกจ รวมทั้งหมด 806,502,650 บาท
ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ กสทช. กล่าวว่า การประมูลสิทธิการเข้าใช้วงโคจรครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของไทยในกิจการสื่อสารผ่านระบบดาวเทียม ที่มีการเปลี่ยนจากระบบสัมปทานมาสู่ระบบใบอนุญาต
ด้าน พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ กสทช. กล่าวเสริมว่า ภาพรวมของการประมูลครั้งนี้ ไม่มีข้อขัดข้อง ไม่มีสะดุด จากวัตถุประสงค์การประมูลที่ต้่องการรักษาสิทธิการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม จากที่จัดประมูลไว้ 5 ชุดแพ็กเกจ สามารถประมูลได้ 3 ชุดแพ็กเกจ ถือว่าเกินครึ่ง และยังทำให้เกิดผู้เล่นรายใหม่ ที่จะสามารถแข่งขัน สร้างและส่งดาวเทียมในการให้บริการลูกค้าในไทยได้ ขณะที่ประชาชนก็น่าได้ประโยชน์จากการมีผู้เล่นหลายราย ทำให้ได้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้ได้ทั้งบรอดแบรนด์และบรอดแคสต์
งวดการจ่ายเงินค่าประมูล แบ่งจ่าย 3 งวด คือ งวดแรกภายใน 90 วันหลังได้รับใบอนุญาต จำนวน 10% ของมูลค่าการประมูล (มีการหักจากเงินค้ำประกัน) งวดที่สองในปีที่ 4 จำนวน 40% ของมูลค่าการประมูล งวดสุดท้ายในปีที่ 6 อีก 50% ที่เหลืออยู่ ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวมีอายุ 20 ปี
“สำหรับชุดแพ็กเกจที่เหลืออยู่ คือ ชุดที่ 1 และ 5 จะมีการหารือกันภายในบอร์ด กสทช. อีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยเฉพาะชุดที่ 1 ที่ใกล้จะถึงข้อกำหนดการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรตามเงื่อนไขของ ITU ภายในเดือนธันวาคม 2566 นี้”
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย กรรมการ กสทช. กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจดาวเทียมในตลาดโลก มีความรุนแรงและมีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น ทำให้การกำหนดราคาประมูลของ กสทช. ต้องไม่เป็นภาระของผู้ประกอบการในไทย เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างชาติ และทำให้สามารถเก็บวงโคจรของประเทศไว้ให้ได้