นิคมอุดรเสนอขอสิทธิ BOI เทียบ SEZ

ขณะที่การยกระดับการผลิต และการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต มีการเสนอขอรับสนับสนุน 5 ด้าน คือ 1) การพัฒนาการเกษตรครบวงจรในพื้นที่ที่มีศักยภาพกลุ่มจังหวัด ส่งเสริมการผลิตผักและสมุนไพร การเลี้ยงโค การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2) การพัฒนาและยกระดับตลาดผ้าบ้านนาข่า สู่การเป็น smart market

3) การสร้างศูนย์การเรียนรู้และออกแบบสร้างสรรค์ผ้าทอมือลุ่มน้ำโขง 4) การส่งเสริมการผลิตผ้าไหม และผ้าพื้นเมือง โดยการจัดสร้าง “วิชชาลัยผ้าทอเมืองลุ่มภู” และ 5.การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน

1 ใน 2 เรื่อง คือ 5.1 ขอให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่าหรือเท่ากับผู้ประกอบการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) และขอให้กระทรวงคมนาคมพัฒนาถนนเลียบเส้นทางรถไฟต่อเชื่อมจากนิคมอุตสาหกรรมเข้าสู่ใจกลางเมืองอุดรธานี เพื่อรองรับการปริมาณการจราจรจากการลงทุนในนิคม 5.2 เสนอให้มีการสำรวจและศึกษาเพื่อก่อสร้างถนน local road เชื่อมต่อจากถนนเลียบทางรถไฟหนองตะโก้ จนถึงแหล่งธุรกิจใจกลางเมืองอุดรธานี ระยะทาง 16 กม. เพื่อเพิ่มเส้นทางสัญจรและรองรับการเติบโตของชุมชนรอบนิคมในอนาคต

“ข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ใช่การช่วยเหลือเอกชนรายใดรายหนึ่ง แต่ให้มองเป็นภาพรวมของจังหวัด หากมีการลงทุน ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในจังหวัด และต่อภาพรวมของประเทศ โดยปัจจุบันจังหวัดอุดรธานีมีนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี บนพื้นที่ 2,219 ไร่ ต.โนนสูง และ ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี ดำเนินการโดยบริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด เป็นผู้ลงทุนพัฒนา และให้บริการระบบสาธารณูปโภค

หากได้สิทธิประโยชน์มากกว่าหรือเท่ากับผู้ประกอบการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนก็จะช่วยดึงดูดนักลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศเข้ามา เนื่องจากทางนิคมมีความพร้อมด้านการลงทุนและการดำเนินการอยู่แล้ว โดยที่ตั้งนิคมอยู่ห่างจากชายแดนระยะทางเพียง 53 กม. รวมถึงต้องการผลักดันท่าเรือบก บริเวณใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ซึ่งมีศักยภาพและความพร้อม เพราะมีทางรถไฟอยู่แล้ว” นายสวาทกล่าว

 

 

 

ไม่พลาดข่าวสารเศรษฐกิจ เจาะลึกทุกประเด็นทั้งภาครัฐ-เอกชน เพิ่มเราเป็นเพื่อนที่ Line ได้เลย พิมพ์ @prachachat หรือ คลิกลิงก์ https://line.me/R/ti/p/@prachachat
.
หรือจะสแกน QR Code ในรูป เราพร้อมเสิร์ฟข่าวเศรษฐกิจ-ธุรกิจถึงมือผู้อ่านทันที!