
สำนักงาน กกต.เตรียมชงระเบียบการแบ่งเขตเข้าสู่ที่ประชุม 7 เสือ ก่อนส่งไปให้พรรคการเมือง – ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แสดงความคิดเห็น
วันที่ 28 มกราคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เตรียมประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งภายหลังจากร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่2) พ.ศ.2566 และ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 มีผลใช้บังคับ จะถือว่าเข้าโหมดถอยหลังสู่การเลือกตั้งอย่างแท้จริง ซึ่งรัฐบาลสามารถยุบสภาหรือสภาอยู่ครบวาระในวันที่ 23 มีนาคมก็จะไม่มีปัญหาว่าไม่มีกฎหมายใช้ในการจัดการเลือกตั้ง
- เปิดชื่อ 10 อันดับโรงเรียนดัง กทม. นักเรียนแห่สมัครสอบเข้า ม.1 สูงสุด
- โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการระดับสูงของ กทม. พ้นจากตำแหน่ง 2 ราย
- เปิดประวัติ ฐาปณี เตชะเจริญวิกุล ผู้บริหารสูงสุดหญิงคนแรกในรอบ 140 ปี BJC
ทั้งนี้ มีรายงานวันจันทร์ที่ 30 มกราคมนี้ ทางสำนักงานฯจะเสนอระเบียบ กกต.ว่าด้วยการแบ่งเขตการเลือกตั้ง ส.ส เข้าสู่ที่ประชุม กกต. เพื่อพิจารณาและออกเป็นกฎหมายโดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้ กกต.ประจำจังหวัดดำเนินการแบ่งเขตการเลือกตั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ กกต.จะต้องทำการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.จำนวน 400 เขตเลือกตั้ง ทั้งนี้ ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2561 มาตรา 27 กำหนดให้ กกต.ต้องส่งรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งไปให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัด เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กับ พรรคการเมืองแสดงความเห็น
ซึ่งการพิจารณาเลือกรูปแบบการแบ่งเขตของ กกต. ซึ่งจะใช้เวลารวมรวม 25 วันและอีก 20 วัน เมื่อได้ดําเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้ใช้เขตเลือกตั้งนั้นจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่
สำหรับพรรคการเมืองที่จะต้องดำเนินกระบวนการคัดสรรผู้สมัคร ส.ส.หรือไพรมารีโหวต และหากเริ่มนับระยะเวลา 45 วันที่กกต.ขอในการเตรียมการสำหรับการจัดการเลือกตั้งจะพบว่าตั้งแต่ 15 มีนาคมเป็นต้นไป หากจะมีการยุบสภาหรือรัฐบาลอยู่ครบวาระวันที่ 23 มีนาคมก็จะไม่มีปัญหาเรื่องของการจัดการเลือกตั้ง