กกต.เปิด 7 ขั้นตอน รับรอง ส.ส. ลุ้นครบ 95% สัปดาห์หน้า

เลือกตั้ง

กกต.เปิด 7 ขั้นตอนในการรับรองผล ส.ส.ลุ้น สัปดาห์หน้ารับรองครบ 95% ประธาน กกต. แย้ม ถ้าข้อมูลครบ อาจประกาศ 100%

วันที่ 17 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงความคืบหน้าพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส.ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางสำนักงาน กกต.ได้มีการเสนอข้อมูลการประกาศรับรองผล ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้น แต่เห็นว่าการรับรองผลจะต้องมีข้อมูลประกอบมากกว่านี้

นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงความคืบหน้าพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส.ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางสำนักงาน กกต.ได้มีการเสนอข้อมูลการประกาศรับรองผล ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้น แต่เห็นว่าการรับรองผลจะต้องมีข้อมูลประกอบมากกว่านี้

“ถ้าสัปดาห์หน้ามีข้อมูลเพียงพอก็สามารถที่จะประกาศรับรองผลให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 95 แต่ถ้าข้อมูลครบถ้วนก็จะสามารถประกาศให้ได้ครบร้อยละ 100 ยืนยันว่าจะประกาศผลให้เร็วกว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 2562”

ล่าสุด กกต. ได้เปิดเผยวิธีการรับรองผลเลือกตั้ง ส.ส. 7 ขั้นตอน ดังนี้

Advertisment

1.กกต.ตรวจสอบเบื้องต้นเชื่อว่า ผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม

2.รับฟังรายงานของผู้ตรวจการเลือกตั้งและข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากแหล่งต่างๆ ประกอบการพิจารณา

3.เพื่อประโยชน์ในการประกาศผลเลือกตั้ง ถ้าไม่มีผู้ใดร้องคัดค้านให้สันนิษฐานว่าผลการเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

4.สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจะเสนอให้ที่ประชุม กกต.พิจารณาทั้งในส่วนของผู้ได้รับคะแนนสูงสุด ที่ไม่มีเรื่องร้องคัดค้านและที่มีเรื่องร้องคัดค้าน

Advertisment

5.ประกาศผลการเลือกตั้งโดยเร็ว แต่ต้องไม่ช้ากว่า 60 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง

6.จำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95 ของเขตเลือกตั้งทั้งหมด (380 เขต)

7.ภายหลังประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส.แล้ว ถ้ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า 7.1การเลือกตั้งเขตเลือกตั้งใดมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม กกต.จะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ 7.2 ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง หรือ รู้เห็นกับการกระทำของบุคคลอื่น กกต.จะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา เพื่อสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น