วิธีถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษ วิษณุ แนะ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

วิษณุ แนะ ยิ่งลักษณ์ ถวายฎีกา ขอพระราทานอภัยโทษ

นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย แนะนำให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มารับโทษก่อนยื่นถวายฎีกา

วันที่ 25 ธันวาคม 2566 นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ ที่ทำเนียบรัฐบาล กรณี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ต้องการขอพระราชทานอภัยโทษต้องดำเนินการอย่างไร

โดยนายวิษณุ เครืองาม ตอบตามขั้นตอนว่า หนึ่งต้องเข้ามา สองมอบตัวเป็นนักโทษแล้วถึงจะถวายฎีกาได้ ถ้ายังไม่รับโทษยังไม่สามารถถวายฎีกาได้ ไม่เรียกว่าฎีกา สำหรับฎีกา คือสิ่งที่นักโทษเด็ดขาดเป็นผู้ถวายขึ้นไป ส่วนจะโปรดเกล้าฯ หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับพระมหากรุณา

อนึ่ง การพระราชทานอภัยโทษ มี 2 แบบคือ การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป 2. การพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย

กรณีเป็นการทั่วไป ในวาระที่เป็นมงคล จะมีประโยคต่อท้ายประกาศในราชกิจจานุเบกษา ว่า “เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป”

กรณีการพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย กรณีทักษิณ ชินวัตร เป็นการพระราชทานอภัยโทษ ลดโทษ จากมีกำหนดโทษจำคุก 8 ปี โดยรับโทษมาแล้ว 10 วัน เหลือโทษจำคุก 7 ปี 11 เดือน 20 วัน อยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

โดยราชกิจจานุเบกษา พะราชทานอภัยโทษ ลดโทษ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีความตอนหนึ่งว่า…

“ความว่าเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อถูกดำเนินคดีและศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกดังกล่าวด้วยความเคารพในกระบวนการยุติธรรม ยอมรับผิดในการกระทำ มีความสำนึกในความผิด จึงขอรับโทษตามคำพิพากษา ขณะนี้อายุมาก มีปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยต้องเข้ารักษาพยาบาลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ”

“ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว จึงพระราชทานพระมหากรุณาอภัยลดโทษให้นักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร เหลือโทษจำคุกต่อไป อีก 1 ปี ตามกำหนดโทษตามคำพิพากษา เพื่อจะได้ใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ช่วยเหลือและทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ สังคมและประชาชน สืบไป”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักโทษรายใดจะขอพระราชทานอภัยโทษ ทั้งแบบเฉพาะราย และแบบเป็นการทั่วไป การได้รับพระราชทานอภัยโทษ ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัย