
21 กรกฎาคม ถึงคราวปรับโครงสร้างกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย (กก.บห.) หลังมีความจำเป็นทั้งเงื่อนไขด้านกฎหมาย ที่ต้องจัดประชุมใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 หน ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และมีความจำเป็นต้องเขย่าขวดใน กก.บห.กันใหม่
เพราะมีหลายคนที่ต้องพ้นสภาพ เช่น “ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์” ลาออกจากรองหัวหน้าพรรคไปตั้งพรรคใหม่ เช่นเดียวกับ “สามารถ แก้วมีชัย” ที่ลาออกจาก กก.บห. ส่วน “ปลอดประสพ สุรัสวดี” ต้องพ้นไปเพราะต้องโทษ 1 ปี 8 เดือน เหตุย้ายข้าราชการกรมป่าไม้โดยมิชอบจาก กก.บห. 29 คน เหลือ 26 คน
- เปิดชื่อ 10 อันดับโรงเรียนดัง กทม. นักเรียนแห่สมัครสอบเข้า ม.1 สูงสุด
- โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการระดับสูงของ กทม. พ้นจากตำแหน่ง 2 ราย
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 12.5 ล้านคน ได้สิทธิลอตแรก รับเงินกี่บาท เช็กที่นี่
แถมยังมีความขัดแย้งกันในพรรค ที่ก่อนหน้านี้ยังไม่อาจหา “จุดลงตัว” ได้ระหว่าง 2 ขั้วที่คุมพรรค กระทั่งมีวลีเดือดออกมาว่า ใครตัวจริง-ใครสร้างภาพ
เปิดศึกโต้คารมในพรรคระหว่างฝ่ายต้าน-ฝ่ายหนุนแกนนำพรรคบางรายที่แยกตัวไปกรุยเส้นทางการเมืองสายอื่น แยกออกไปให้ขาด
ผูกโยงการก่อกำเนิดของกลุ่มแคร์ ที่รวมอดีตมือขวาบริวาร “ทักษิณ ชินวัตร” การเซตอัพพรรคใหม่ของอดีตแกนนำอย่าง “จาตุรนต์ ฉายแสง” และกรณี “พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร” ที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเมืองของ ปิติพงศ์ เต็มเจริญ “ว่าที่หัวหน้าพรรคกลาง” ขณะที่ขั้วการเมืองฝั่ง “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” ประธานคณะกรรมการกิจการพิเศษ ก็ยัง wait & see การปรับโครงสร้างกก.บห.เพื่อไทย จึงมีเอฟเฟ็กต์ข้างเคียงต่อกลุ่มต่าง ๆ ที่กำลังรอดูท่าที
ของเก่าเพื่อไทยมี กก.บห.เดิม 29 คน มีรองหัวหน้าพรรค 15 คน รองเลขาธิการพรรคอีก 7 คน โจทย์ใหม่ที่คนการเมืองทุกขั้วในเพื่อไทยเห็นตรงกันคือ การปรับ กก.บห.ชุดใหม่ให้ “กระชับ” มากขึ้น
รองหัวหน้าพรรคที่มีถึง 15 คน กะปรับลดลง 9-10 ตำแหน่ง ให้เหลือแค่ 5-6 คนเพื่อความคล่องตัว ที่เหลือจะเป็น กก.บห.
- ปรับ ครม. นายกฯ ย้ำรัฐมนตรี 4 แบบ “ไพรินทร์” เต็งพลังงาน
- ปรับ ครม. พลังประชารัฐ 2 ขั้วเปิดศึกชิงขุมทรัพย์ กระทรวงพลังงาน
- ประกาศแล้ว! รายชื่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 13 ชุด 13 ด้าน อยู่ยาวถึงปี’65
ทั้งนี้ กก.บห.ที่จะถูกปรับนั้น เป้าอยู่ที่การลดจำนวน “ผู้อาวุโส” แล้วเติมบุคคล generation รุ่นกลาง-รุ่นใหม่เข้าไปแทน เน้น “นักการเมืองรุ่นลูก” ปรับตัวให้ทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่แต่ละพรรคชูคนรุ่นใหม่
โดยเฉพาะหลังคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล ที่นับวันยิ่งเปิดปฏิบัติการ “รุกพื้นที่การเมือง” ของพรรคเพื่อไทย จึงต้องเติมคนรุ่นใหม่ให้มีหน้าตาทันสมัยขึ้น
“หากเราไม่เอาคนรุ่นใหม่เข้ามา เราก็โดนก้าวไกลทิ้งห่าง” แกนนำเพื่อไทยรายหนึ่งกล่าว
นอกจากนี้ พลิกแผนการตอบโต้ทางการเมืองจากที่ปฏิบัติวาทกรรมการเมืองที่เป็นการเมืองล้าหลัง หันเน้นการให้ข้อมูลแบบ “ก้าวไกล” มากขึ้น
ทว่า มีเสียงจากฝ่ายนักการเมืองรุ่นใหม่ในพรรคระบายว่า การจะเข้ามามีตำแหน่งในพรรค ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่าย เพราะในพรรคเพื่อไทยยังมีระบบนักการเมือง “อาวุโส” ปกคลุมในพรรค หากจะเป็นรุ่นใหม่ซิงๆ จะต้องมี “แบ็กอัพ”การเมืองรองรับที่คนในพรรคยอมรับได้ถึงจะมีตำแหน่ง
ขณะที่ความหวังของ ส.ส.ฝ่ายตรงข้าม “คุญหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์” ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค “เจ้าแม่ กทม.” ที่กุมบังเหียนการบริหารพรรคในตอนนี้ แอบตั้งความหวังลึก ๆ ว่าจะใช้โอกาสเซตซีโร กก.บห.จัดสมดุลอำนาจใหม่ระหว่างขั้ว เพราะตลอด 1 ปี ในฝ่ายตรงข้าม “เจ้าแม่ กทม.” เห็นว่าพรรคเดินต่อไม่ได้
แต่ถ้าถาม ส.ส.ที่อยู่ตรงกลาง ค่อนไปทางเชียร์เจ้าแม่ กทม.อยากใช้โอกาสปรับโครงสร้าง กก.บห. โละคนที่ไม่มีสปิริตไปตามทางที่ควรจะไป
ทว่า…ทั้งสามกลุ่มก้อนคนการเมืองในเพื่อไทยเห็นตรงกันว่า การปรับโครงสร้าง กก.บห.ครั้งนี้จะต้อง “กระชับ” ทันกับสถานการณ์ เพราะโครงสร้างแบบเก่าเทอะทะเกินไป
แต่ยังมีเทคนิคทางกฎหมายที่ยังไม่ตกผลึกก่อนปรับโครงสร้างพรรค เพราะ”ติดล็อก” ตำแหน่งของ “สมพงษ์ อมรวิวัฒน์” หัวหน้าพรรคเพื่อไทย อีกหมวกหนึ่งเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
เนื่องจากเกรงว่า หาก “สมพงษ์” ลาออกจากหัวหน้าพรรค เพื่อ set zero กก.บห.ใหม่ จะกระทบตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านที่ต้องพ้นโดยอัตโนมัติ เพราะตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทยที่มี ส.ส.มากเป็นอันดับหนึ่งของฝ่ายค้าน จะเป็นผู้นำฝ่ายค้านโดยตำแหน่ง และที่สำคัญเป็นตำแหน่งที่โปรดเกล้าฯ
ดังนั้น เมื่อ “สมพงษ์” ลาออก ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านจะว่าง จึงมีวิธีแก้ด้วยแท็กติกทางกฎหมายใน 2 ทาง
ทางหนึ่ง แนวโน้มเป็นไปได้มากสุดคือ ให้ “สมพงษ์” ลาออกจากหัวหน้าพรรค 1-2 วันก่อนประชุมใหญ่พรรค โดยระหว่างนั้นให้ “รักษาการ” ในตำแหน่งหัวหน้าพรรค และรักษาการผู้นำฝ่ายค้าน
อีกทางหนึ่งให้ “สมพงษ์” ลาออกในที่ประชุมใหญ่พรรค 21 กรกฎาคม เพื่อให้ กก.บห.ทั้งชุด 26 คนพ้นตำแหน่ง จากนั้นเลือกคนใหม่มาสวมทันที แต่จะไม่เป็นการ set zero
แต่การปรับโครงสร้างพรรคครั้งใหม่ในเพื่อไทยยังไม่เปลี่ยนหัวหน้า-ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค ยังเป็นตำแหน่งเดิมทั้ง “สมพงษ์-สุดารัตน์”
ทำให้ ส.ส.รายหนึ่งในพรรควิเคราะห์ว่า การปรับโครงสร้างครั้งนี้คงไม่ถึงกับสลายขั้ว-ล้างความขัดแย้ง “เพราะหัวหน้าพรรคยังเป็นท่านสมพงษ์ และคุณหญิงสุดารัตน์ก็ยังเป็นประธานยุทธศาสตร์อยู่”
หลังการปรับโครงสร้างพรรค ยังต้องสงบศึกอยู่ระหว่างกลุ่ม-ก๊วนควบคู่กับการทำให้พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล
“คุณหญิงสุดารัตน์” ประธานยุทธศาสตร์พรรค กล่าวถึงการทำให้พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาลว่า แม้เราเป็นฝ่ายค้าน แต่เราต้องเป็นพรรคที่บอกทางออก ทางรอดให้กับประชาชนด้วยความคิด นโยบาย สิ่งที่จะทำต่อไปคือ ความเป็นตัวเราแต่ทำให้ชัดขึ้น โดยเฉพาะโลกที่มีโซเชียลมีเดียจะง่ายขึ้น
พอใกล้ถึงเวลาที่แคมเปญจะเมสเสจอะไรกับประชาชน ซึ่งทีมยุทธศาสตร์เตรียมไว้ แต่ยังไม่ถึงเวลา
“ก็ต้องไปแสดงบทบาทในสภา”