นายกรัฐมนตรี ย้ำภาคธุรกิจไทยในวิถียั่งยืน “เราต้องรอด ล้มแล้วลุกให้ไว”

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ ย้ำภาคธุรกิจไทยในวิถียั่งยืน “เราต้องรอด ล้มแล้วลุกให้ไว”

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 แกรนด์ฮอล์ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ภาคธุรกิจไทยในวิถียั่งยืน” ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ว่า ทุกคนอยู่ในที่นี้เพื่อร่วมมือพัฒนาประเทศเราให้เจริญเติบโตไปข้างหน้า ท่ามกลางสถานการณ์โควิด แม้เราบริหารจัดการได้ดีเพียงใดก็ตาม แต่ผลกระทบทางธุรกิจ ท่องเที่ยว การค้า การลงทุนกระทบกับเราทั้งสิ้น เราจำเป็นต้องหามาตรการที่เหมาะสมควบคู่ไปด้วยกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เราต้องให้ความสำคัญ

คือทุกคนต้องเข้มแข็งสามารถเดินหน้าในการพัฒนาทุกระดับ ทุกกลุ่มประชาชน ทุก sector ทุกกิจกรรม ทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืนโดยไม่กระทบสิ่งแวดล้อม รักษาความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เราคงไม่สามารถเดินหน้าประเทศโดยรัฐเพียงอย่างเดียว ภาครัฐ เอกชน ประชาชน ต้องหันมาปรึกษาหารือกัน หาแนวปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุด ดีที่สุด เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน เกิดผลสัมฤทธิ์ได้ 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า โลกเปลี่ยนทุกวัน ทุกนาที แนวทางที่ดีที่สุดที่คิดคือ เมื่อคิดว่าแนวทางไหนดีที่สุดแล้ว เราต้องสร้างการรับรู้กับประชาชนว่าเขาจะร่วมมือตรงไหน เอกชนจะอยู่ตรงไหน เคยพูดหลายครั้งว่า ประเทศเราต้องมองสองอย่าง มองวันนี้และอนาคต มองไกลตัวค่อยมาถึงใกล้ตัว หลายอย่างเป็นเรื่องโครงสร้าง เป็นเรื่องการทำงานระยะยาว อาจเกิดประโยชน์ในอนาคต แต่ใกล้ตัวยังไม่ถึง จึงเกิดความคิดที่สับสนอลหม่าน เราต้องช่วยกันตรงนี้ว่าจะอยู่กันอย่างไร

มองต่างประเทศเขาก็มีความสุขของเขา มีชุมชนเมือง ชุมชนชนบท แต่ของเราเป็นชุมชนเมืองเกือบทั้งหมด ชนบทยากจนก็คือยากจน เกิดความแตกต่างมากมาย สิ่งแรกที่จะทำคือ ทำอย่างไรให้คนทุกคนเข้าถึงโอกาสในการใช้ทรัพยากรของประเทศ รัฐบาลปรับแก้ตรงนี้มาพอสมควร ถ้าเข้าถึงโอกาสทุกคนก็มีโอกาสไปแสวงหาประโยชน์ หารายได้ ไม่ใช่ทำเพื่อคนรวยหรือคนจน

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อุปสรรคบ้านเรามีอยู่ แต่ต้องมองเรื่องโอกาสของประเทศมีมากมายมหาศาล โดยเฉพาะเราเป็นศูนย์กลางภูมิรัฐศาสตร์ของอาเซียน เราต้องไม่ทำลายจุดนี้ด้วยความไม่มีเสถียรภาพ ไม่มีความมั่นคง ปลอดภัย ต้องไม่ทิ้งตรงนี้ถ้าลืมตรงนี้หายไปหมด ธรรมชาติงดงาม อาหารอร่อย ราคาถูก จิตในการให้บริการ สิ่งเหล่านี้ต้องรักษาให้ได้

บ้านเราไม่ค่อยได้เผชิญสถานการณ์ภัยธรรมชาติเหมือนต่างประเทศ มีแต่ร้อนมาก ร้อนน้อย แล้งมาก แล้งน้อย น้ำท่วม เราต้องแก้ไป เราทำไปเท่าไหร่แล้วเรื่องน้ำ แต่ระบบการส่งน้ำไม่เพียงพอเพราะมีปัญหาพอสมควร ต้องมีการกระจายแหล่งน้ำขนาดเล็กตามแนวทางพระราชดำรัส ให้มีการกระจายแหล่งน้ำลงไปพื้นที่การเพาะปลูกซึ่งต้องมาจากน้ำฝน เก็บกักน้ำในที่ทำกิน ซึ่งคนไทยมีพื้นที่น้อย แต่คนรวยมีพื้นที่เยอะ คือความแตกต่างต้องบริหารจัดการตรงนี้อย่างไร

“ทำอย่างไรจะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพเพิ่มในช่วงที่ว่างจากการทำไร่นา นอกจากไปขายแรงงาน เป็นสิ่งที่เอกชนต้องช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไร” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลมองอย่างไรให้ 70 ล้านคน จะมีความสุขอย่างยั่งยืน ความสุขอย่างพอเพียง ทุกอย่างอาจไม่เหมือนกันทั้งหมด ความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันเพียงพอ แต่ขึ้นอยู่กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีเหตุมีผล พอประมาณ มีภูมิคุ้มกันที่ดี แต่ปัญหาอยู่ที่จะนำมาสู่การปฏิบัติอย่างไรทุกอย่างอยู่ที่จิตใจของคน ไม่เช่นนั้นก็ขัดแย้งกันรัฐบาลต้องคำนึงถึงประชาชนอยู่เสมอ เพราะประชาชนเป็นศูนย์กลาง รัฐบาลก็คิดทุกอย่าง 

“วันนี้มูลค่าการใช้จ่ายภาครัฐ รายจ่ายประจำ รายจ่ายการลงทุน ถ้ารายจ่ายประจำมากเกินไป การลงทุนก็ไม่ได้ แต่รายจ่ายประจำติดด้วยการดูแลประชาชน ดูแลเรื่องข้าว ยาง อ้อย มันสำปะหลัง มีจำนวนมาก แต่ทำอย่างไรให้เขาเข้มแข็งซึ่งดีกว่าเติมเงินไปเรื่อยๆ บางครั้งก็ทำให้คนไม่เกิดการพัฒนา

ฝากคิดไว้ด้วยว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร จะใช้งบประมาณให้ตรงเป้าหมายอย่างไร คิดง่ายๆ เรื่องการเกษตร ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มกระบวนการแปรรูป ไปสู่การใช้ออนไลน์ การค้าขายเป็นทั้งหมดหรือยัง เหล่านี้กำลังเร่งรัดพัฒนา รัฐบาลมุ่งเน้นบริหารราชการเป็นไปตามโลกปัจจุบัน เทคโนโลยี ดิจิทัล ซึ่งวันนี้กฎหมายเรื่องออนไลน์ก็ออกมา ไม่เช่นนั้นคอนโทรลอะไรไม่ได้เลย

แต่เราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกฎหมาย เช่น ในสถานการณ์โควิด ถ้าใช้มาตรการกฎหมายอย่างเดียวทำอะไรไม่ได้หมด การกู้เงิน เข้าถึงซอฟต์โลน ในเมื่อต้องกู้เงินต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ต้องขึ้นทะเบียน ต้องมีบัญชีธุรกรรม แต่ถ้ารัฐบาลปลดล็อกมากๆ ธนาคารล้มขึ้นมาใครจะรับผิดชอบ มีผลกระทบหมด เราไปสั่งธนาคารพาณิชย์ได้ไหม เพราะเป็นเงินประชาชน 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า หากเปรียบเทียบแต่ละปีมีอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง วันนี้มีรถไฟฟ้ากี่สาย มีรถไฟทางคู่กี่กิโลเมตร มีท่าเรือ อีอีซี สิ่งเหล่านี้ ปีข้างหน้ามีผลผลิตออกมาแน่นอน ถ้าเราอดทน แต่ถ้าเลิกก็จบ ต้องหาอะไรใหม่ขึ้นมาทำ ต้องระวังการทุจริต มีการลงทุนร่วมภาครัฐเอกชน สิ่งที่ทำวันนี้ถ้าทำอย่างรอบคอบ การหารือ เห็นชอบร่วมกัน โดยที่ยังไม่ต้องเรียกร้องซึ่งกันและกันมากจนเกินไปจนดูแลไม่ได้  มันจะทำได้  

เราต้องการให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทย แต่เราก็ยังมีปัญหากันทุกวันแล้วเขาจะมาหรือไม่ ไม่ได้องการให้คนเป็นห่วงตัวผม ห่วงสถานะประเทศไทยจะไปอยู่ตรงไหน ถ้าย้ายไปที่อื่นหมดแล้วจะทำอย่างไร สิทธิประโยชน์เราให้น้อยกว่าหลายประเทศ เพราะเป็นสิ่งที่ต้องรับฟังความคิดเห็น ให้มากเกินไปก็เอื้อประโยชน์ ให้น้อยเกินไปเขาก็ไม่มา การปกครองก็ต่างกัน สังคมนิยมประชาธิปไตย กับประชาธิปไตยต่างกันตรงไหน คือสิ่งที่ทุกคนก็ต้องวิเคราะห์ การที่มองว่าประเทศนั้นทำได้ เขาทำได้เพราะเขามีอำนาจ

“ผมมีอำนาจเหมือนไม่มีอำนาจ ผมไม่ต้องการอำนาจ ผมต้องการความเข้าใจ ต้องการความร่วมมือ ที่พูดทุกวัน หลายคนบอกว่าพูดเยอะ ผมต้องระบายให้ฟังว่าเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ผมไม่ต้องการพูดให้อยู่อายุ 100 ปีหรือไง ใครอายุ 100 ได้บ้าง” นายกฯ กล่าว 

 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า  การที่ประเทศไทยยังมีปัญหาคือ ผูกอยู่กับการส่งออก หลายอย่างมูลค่าน้อย หลายอย่างไม่ใช่ของใหม่ ไม่มีนวัตกรรม พอมีโควิด-19  การส่งออกเริ่มมีปัญหา โยงถึงการท่องเที่ยว สัดส่วนจีดีพีของภาคการเกษตร สัดส่วนที่มีผลคือการใช้จ่ายภาครัฐ ต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ทั้งหมด คิดแบบเดิมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนทุกระยะด้วยความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนด้วยการค้าและอุตสาหกรรม มีอุตสาหกรรมใหม่ที่ต้องส่งเสริมอีก ประเภท ทั้งหุ่นยนต์ รถยนต์สมัยใหม่ ยา อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การบิน

“เราให้บีโอไอปรับโครงสร้างข้างในใหม่ทั้งหมด ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันว่าให้อะไรนักลงทุนได้บ้างหรือไม่ ไม่เช่นนั้นก็ให้ได้แต่ภาษี พอให้อย่างอื่นแต่ประชาชนไม่ยอมแล้วเราจะไปสู้อะไรเขาได้ หลายประเทศไม่ใด้ให้ภาษีอย่างเดียว แต่อย่าลืมว่าเมื่อเขาได้สัญญา เมื่อบริษัทหมดสัญญาไปแล้วทุกอย่างก็กลับเป็นทรัพย์สินของรัฐทั้งหมด ถ้ามองแต่เราเสียประโยชน์ก็ทำอะไรไม่ได้ แต่ถ้ามองว่าเสียตรงนี้แล้วได้ตรงนี้ จะได้ระยะสั้น หรือระยะยาว  ผลประโยชน์ตอบแทนเท่าไหร่

เราต้องคิดให้ละเอียด ถ้าหลักการไม่เข้าใจก็วิพากษ์วิจารณ์ไปเรื่อย รัฐบาลเอาคำวิจารณ์มาแล้วแก้ตามคำวิจารณ์ก็จะอีรุงตุงนังไปหมด ผมก็กลัวติดคุกเหมือนกันใครไม่กลัวบ้าง ไม่มีหรอกครับ บางคนไม่กลัวก็มี ก็แล้วแต่ เพราะกฎหมายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนอยู่ร่วมกันได้ในสังคม เพราะคนอยู่ใต้กฎหมายตัวเดียวกัน ส่วนใครไม่ได้รับความเป็นธรรมก็ไปฟ้องร้องรื้อคดี” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า หลักการสำคัญในการสร้างการแข่งขันของประเทศ คือเราต้องสร้างพื้นฐานประชาชนของเราให้เข้มแข็งด้วยหลักการเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้สอนให้คนจน ให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามฐานะที่ตนเองมีอยู่ มีเหตุผลพอประมาณในการใช้จ่าย พระองค์ท่านรับสั่งให้ปลา ให้เบ็ด บางคนให้เบ็ดก็ไม่มีเหยื่อ บางคนให้ปลา บางคนให้เหยื่อ เพื่อให้อยู่ได้ในวันนี้แล้วเบ็ดก็ไปทำต่อ ต้องคิดอย่างนี้ทั้งหมด  เพราะขณะนี้คนไทยต่ำกว่าเส้นความยากจนเป็น 10 ล้านคน จังหวัดท้ายๆ แทบไม่มีรายได้ที่เพียงพอเลย

วันนี้รัฐบาลปรับแก้จัดการบริหารราชการ ภาค  มีภาค อีอีซี กับ ภาคชายแดนภาคใต้ เพื่อหางบประมาณลงไปให้ได้ในเรื่องการพัฒนา วันนี้มีงบบูรณาการ งบต่างๆ ปรับแก้จนกว่าจะเข้าที่เข้าทาง ทุกจังหวัดได้งบประมาณมากกว่าแต่ก่อนมากพอสมควร

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ดังนั้น วิถีความยั่งยืนจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีของเรา เกิดวิกฤตครั้งนี้รัฐบาลพยายามประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้เลิกจ้างพนักงาน แต่จะให้ธุรกิจมีรายได้เท่าเดิมได้ไหม ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ทุกประเทศเจอปัญหาเหมือนกันหมด มาตรการช่วยเหลือก็เหมือนกับทุกประเทศ ต่างกันแค่เม็ดเงินที่มีไม่เท่าประเทศใหญ่ๆ  

อีกสิ่งที่ต้องช่วยกัน start up และ SMEs เขาต้องเข้าสู่การขึ้นทะเบียน ล้านราย อาจมากกว่านั้นหากนับรวม Micro SMEs มีกว่า ล้านราย มีการจดทะเบียนน้อยมากเพราะเขากลัวเรื่องภาษี ถ้ายังกลัวอยู่อย่างนี้แล้วไม่อยู่ในระบบรัฐบาลจะไม่สามารถช่วยเหลือได้ ใครจะให้ท่านอย่างน้อยต้องขึ้นบัญชี ที่เดือดร้อนติดปัญหาตรงนี้มาก ตนไม่อาจโทษพวกเขา ไม่รู้โทษใคร เพราะเขากลัวภาษี ถ้ายังกลัวภาษีก็ไปไม่ได้วันหน้าใช้เงินรัฐไม่ได้เลย เพราะไม่มีใครให้กู้

แต่ถ้าเข้ามาจดทะเบียนยังมีทางออก แต่ถ้าไม่ขึ้นทะเบียนแล้วกู้เงิน หากธนาคารล้มใครรับผิดชอบ ถ้าคิดแต่เพียงอยากได้เงินเอาเงินจากไหนไม่สนใจ ฉันอยากได้ ฉันต้องการก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ start up และ SMEs ซึ่งเด็กเราเก่ง มีความสามารถมีการขึ้นบัญชีนวัตกรรมแล้วนำไปสู่การผลิต 300 กว่าเรื่อง และให้รัฐสามารถใช้เงินยอดไม่เกิน 30% ซื้อของเหล่านี้ได้ เช่นเดียวกับวิสาหกิจชุมชน ให้แก้ไขระเบียบโดยให้ส่วนราชการในพื้นที่ไปซื้อของได้โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง หลายอย่างเปลี่ยนไป 

นอกจากนี้ การพัฒนาคนสำคัญที่สุด การศึกษาปรับไม่รู้จะปรับอย่างไร ปรับไม่ได้เพราะคนในระบบเยอะ ถ้าทุกคนเอาอนาคต เอาประเทศชาติเป็นหลัก ทำได้หมด แต่ทุกคนติดอยู่กับตัวเองจึงทำอะไรไม่ได้

“ดังนั้น ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งหมด รัฐบาลต้องดึงศักยภาพของคนในประเทศมาใช้ให้หมด  ที่พูดคือรวมไทยสร้างชาติ ไม่ใช่สร้างเฉพาะวันนี้ สร้างไปยาวๆ ร่วมใจกันทุกรัฐบาล ใครจะอยู่ ใครจะไปก็แล้วแต่ ร่วมใจกันทุกรัฐบาลร่วมสร้างชาติในทางที่ถูกต้อง เราจะต้องรอด วันข้างหน้าก็ต้องเข้มแข็งกว่าเดิม อะไรที่ล้มแล้วก็ลุกให้ไว้ ไม่ใช่ล้มแล้วหงายท้องตายไปเลย แต่บางอย่างถ้าเราจัดกลุ่มแล้วดีอยู่ก็ประคับประคองไป แต่ถ้าอันนี้กำลังจะล้มแล้วถ้าเราช่วยนิดเดียวแล้วไปข้างหน้าได้ อีกอันคือมีศักยภาพแต่ค่อนข้างล้มก็ต้องฟื้นฟู และที่กลุ่มที่ล้มแล้วไม่รู้จะไปอย่างไรสนับสนุนไปก็ไม่ฟื้น ต้องหาทางให้เขาไปทำอย่างอื่น จะให้ทุกคนเป็นไปไม่ได้ ไม่ใช่ผมใจดำ การใช้เงินต้องแยกกลุ่มแยกประเภท” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญ SMEs  และ start up เราต้องกระตุ้นให้ชุมชน ท้องถิ่นมีวิธีคิดอย่างไร ต่างประเทศทำอย่างนี้อยู่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น อาหาร ที่ทุกคนกลับไปสู่ธรรมชาติ ถ้าเดินหน้าไปสู่สมัยใหม่เสน่ห์จะหายไป โลกกำลังกลับไปสู่อดีต ความสงบเรียบร้อย ธรรมชาติ เรามีของเราอยู่แล้ว รวมถึงพัฒนาภูมิปัญญาร่วมกับชาวบ้านให้เกิดรายได้ ถ้าเปิด 100 อย่างก็ไม่ไหว ต้องจัดกลุ่มออกมา แล้ว CSR ไปคิดว่าจะดูแลกลุ่มนี้อย่างไร เดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง นอกจากนี้