เปิดประวัติ 5 ผู้สมัคร ซ้อมใหญ่ในสนามเลือกตั้งซ่อมเขตหลักสี่

ส่องโปรไฟล์ 5 พรรคใหญ่ ส่งตัวแทน ลงสมรภูมิเลือกตั้งซ่อม ส.ส.หลักสี่ เขต 9 กทม. แทนสิระ หลายพรรคการเมืองต้องดิ้นรนที่คว้าชัยและได้เสียงในสภาอันทรงเกียรติ 

การเลือกตั้งซ่อม ส.ส. หลักสี่ กทม. แทนนายสิระ เจนจาคะ ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 7 ต่อ 2 ให้พ้นออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเคยถูกศาลพิพากษาจำคุกคดีฉ้อโกงเมื่อปี 2538 สะดุดคุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 2560 เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการเลือกตั้งขึ้นซ่อมในวันที่ 30 ม.ค. 2565 ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (28 ธ.ค.) เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เลือกตั้งซ่อม ส.ส.กรุงเทพมหนคร เขต 9 ภายใน 45 วัน

ประชาชาติธุรกิจ เปิดโปร์ไฟล์ “ตัวแทน” ที่จะเข้าร่วมศึกชิง ส.ส. ในเขตนี้ ดังนี้

เพื่อไทย : สุรชาติ เทียนทอง

“สุรชาติ เทียนทอง” อายุ 42 ปี เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของ “ป๋าเหนาะ เสนาะ เทียนทอง” อดีต ส.ส. หลายสมัย และรัฐมนตรีหลายกระทรวง “สุรชาติ” สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านการเงินและการจัดการ และปริญญาโทสาขาผู้นำองค์กร จากมหาวิทยาลัยจอห์นสัน แอนด์ เวลส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

“สุรชาติ” ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี 2550 สังกัดพรรคประชาราช แต่ไม่ได้รับการเลือก ต่อมาลงรับสมัครเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2554 และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในสังกัดเพื่อไทย

ในปี 2562 “สุรชาติ” แพ้ให้ “สิระ” อันดับที่หนึ่งไป 2,700 คะแนน พลาดเนื่องจากพรรคการเมืองฟากเดียวกันอย่างพรรคอนาคตใหม่ของนายธนาธร ไปตัดคะแนนนั้นเอง

พลังประชารัฐ : สรัลรัศมิ์ เจนจาคะ

“สรัลรัศมิ์ เจนจาคะ” เป็นภรรยาคนปัจจุบันของนายสิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส.คนเก่าในเขตนี้ นอกจากนี้ เธอยังเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ สน.ทุ่งสองห้อง และกรรมการบริษัท และหุ้นส่วนใน หจก. และอีกหลายบริษัท เช่น บริษัท วิภาวดี พาเลซ จำกัด, หจก.ไทยสงวนอีควิปเม้นท์, หจก.ไทย เอส.วี.อิมพอร์ท

พลังประชารัฐ : สรัลรัศมิ์ เจนจาคะ

ก้าวไกล : เพชร-กรุณพล เทียนสุวรรณ

“กรุณพล เทียนสุวรรณ” หรือ เพชร อายุ 45 ปี เป็นบุตรชายของ พล.ต.ต. เทอดพงศ์ เทียนสุวรรณ กับ ประภัสสร พานิชกุล อดีตนางสาวไทย ปี 2509 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร เขาเข้าสู่วงการบันเทิง เป็นนักแสดงตั้งแต่ปี 2544 และมีชื่อเสียงจากบท “วนัส” ในเรื่องคู่กรรม ปี 2547

ก่อนที่เบนเข็มเดินเข้าสู่เส้นทางการเมือง ในปี 2563 เขาประกาศจุดยืนสนับสนุนผู้ชุมนุมประท้วง เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเรียกร้องรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

วันที่ 19 กันยายน ปี 2563 เขาได้ขึ้นปราศรัยบนเวที เขาถูกคนในวงการบันเทิงบางกลุ่มแบน แม้การร่วมชุมนุมในครั้งนั้นไม่ได้เป็นการคิดล้มล้างการปกครอง แต่ต้องการให้กฎหมายเป็นกฎหมาย ให้ประเทศไทยมีระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง

“เพชร” เริ่มมีชื่อเสียงในเส้นทางการเมืองอีกครั้ง จากรายการโหนกระแส โดยมีการพูดถึง “สนธิญา สวัสดี” ที่ปรึกษากรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ที่ประกาศตรวจสอบกรณีการออกมาของดารา นักร้อง และผู้มีชื่อเสียง เกี่ยวกับสถานการณ์โรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหลายข้อหา

ก่อนที่จะได้รับเลือกจากพรรคก้าวไกล ในการลงสมัครการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. หลักสี่

พรรคกล้า : อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี

“อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี” อายุ 43 ปี เป็นบุตรชายของนายสมพงศ์ สุวรรณภักดี อดีตอัยการกับนางภคินี สุวรรณภักดี อดีตรองกรรมการผู้จัดการธนาคารมหานคร ซึ่งเคยถูกกล่าวหาในคดีทุจริตการปล่อยสินเชื่อของธนาคารมหานคร ต่อมาศาลพิพากษาถึงที่สุดว่า ไม่มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์

“อรรถวิชช์” สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายการเงินการธนาคาร มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

นายอรรถวิชช์ เคยรับราชการสังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง มีผลงานเด่นหลายเรื่อง อาทิ การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน การกำกับดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลให้อยู่ในระดับร้อยละ 28 ต่อปี  รวมถึงงานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน การธนาคาร หลายฉบับ

ปี 2551 : อรรถวิชช์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 4 คือ เขตจตุจักร, บางซื่อ, หลักสี่ ในนามพรรคประชาธิปัตย์ โดยร่วมทีมกับนายบุญยอด สุขถิ่นไทย และนายสกลธี ภัททิยกุล สามารถชนะเลือกตั้งแบบยกทีม

ปี 2554 : อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ได้รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  กรุงเทพมหานคร เขต 9 จตุจักร

ปี 2562 : เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

จากนั้น 16 มกราคม 2563 “อรรถวิชช์” ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อไปร่วมก่อตั้งพรรคกล้า กับนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรองหัวหน้าพรรคที่ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกัน

ขณะนี้ “อรรถวิชช์” ดำรงตำแหน่งเป็น เลขาธิการพรรคกล้า 

พรรคไทยภักดี : พันธุ์เทพ ฉัตรนะรัชต์

“พันธุ์เทพ ฉัตรนะรัชต์” อายุ 43 ปี เป็นนักธุรกิจหนุ่มไฟแรง เคยดำรงตำแหน่งซีอีโอบริษัทหลายบริษัท ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์บัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน โทสาขาการพัฒนาเศรษฐกิจและสาขา เศรษฐศาสตร์แรงงาน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ หลักสูตรนานาชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“พันธุ์เทพ” เคยเป็นผู้ชานาญการกรรมมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีสวนร่วมของ ประชาชน อนุกรรมาธิการพิจารณาการศึกษาการพัฒนาสื่อด้านการพัฒนาการเมืองสาหรับเด็กและ เยาวชน คณะทำงานเพื่อพิจารณาศึกษาการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่ สากล ไอเอ็มที ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ

พรรคไทยภักดี : พันธุ์เทพ ฉัตรนะรัชต์

ย้อนดูเลือกตั้งปี 62 ส.ส. หลักสี่ เขต 9

สำหรับผลคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ปี 2562 หลักสี่ กรุงเทพมหานคร เขต 9 ดังนี้

    1. นายสิระ เจนจาคะ จากพรรคพลังประชารัฐ : คะแนน 34,907 คะแนน
    2. นายสุรชาติ เทียนทอง จากพรรคเพื่อไทย : คะแนน 32,115 คะแนน
    3. นายกฤษณุชา สรรเสริญ จากพรรคอนาคตใหม่ : คะแนน 25,735 คะแนน
    4. พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ จากพรรคประชาธิปัตย์ : คะแนน 16,255 คะแนน
    5. นายศักดิภัทร์ สวามิวัสดุ์ จากเศรษฐกิจใหม่ : คะแนน 5,873 คะแนน
    6. นายปัณณธร รัตน์ภูริเดช พรรคเสรรีวมไทย : คะแนน 2,593 คะแนน
    7. นายบวรกิตติ์ สันทัด พรรคภูมิใจไทย : คะแนน 1,666 คะแนน
    8. สุรวัช สุนทรศารทูล พรรครวมพลังประชาชาติไทย : คะแนน 760 คะแนน
    9. นายวีรพัส เทพา พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย : คะแนน 578 คะแนน
    10. พลตรีเจริญ สุดโสภา พรรคชาติไทยพัฒนา : คะแนน 380 คะแนน
    11. นางประภัสสร ชูทอง พรรคเพื่อชาติ : คะแนน 348 คะแนน
    12. นายชุมพล รุ่งวิชานิวัฒน์ พรรคชาติพัฒนา : คะแนน 241 คะแนน
    13. นายธัชชา ภิรมย์ชาติ พรรคประชาชนปฏิรูป : คะแนน 237 คะแนน
    14. นายศุภกร จงนภาศิริกูล พรรคพลังท้องถิ่นไท : คะแนน 170 คะแนน
    15. นางสาวนันทวัน อินธิแสง พรรคประชาชาติ : คะแนน 147 คะแนน
    16. นายกฤษฎา แรงสูงเนิน พรรคประชากรไทย : คะแนน 98 คะแนน
    17. นายฐิตินันท์ ชวนอยู่ ประชานิยม : คะแนน 81 คะแนน
    18. นายพสันต์ ดิษเจริญ พลังประชาธิปไตย : คะแนน 71 คะแนน
    19. นางสาวโสพรรณา ทิพย์โยธา พรรคครูไทยเพื่อประชาชน : คะแนน 59 คะแนน
    20. นายพิชิต จันทร์ประเสิรฐ พรรคประชาภิวัฒน์ : คะแนน 58 คะแนน
    21. นายธงชัย เสี่ยงเทียนชัย พรรคพลังสังคม : คะแนน 55 คะแนน
    22. นายณัฐพล วิสุทธิวงศ์ พรรคภราดรภาพ : คะแนน 54 คะแนน
    23. นายฐิตินันทน์ แก้วกิตติกาญจนา พรรคพลังชาติไทย : คะแนน 52 คะแนน
    24. นายรุ่งโรจน์ อิบบรอฮีม พรรคประชาธรรมไทย : คะแนน 49 คะแนน
    25. จ่าสิบเอกไพบูลย์ ภู่ธงแก้ว พรรคพลังไทสร้างชาติ : คะแนน 46 คะแนน
    26. นางกรรวิการ์ บุตรเนียร พรรคพลังปวงชนไทย : คะแนน 41 คะแนน
    27. นางกนกวรรณ กล่ำเครือ พรรคภาคีเครือข่ายไทย : คะแนน 38 คะแนน
    28. นายสมปอง เพิ่มพูล พรรคพลังศรัทธา : คะแนน 25 คะแนน
    29. นางอรอุสา งามเบญจวิชัยกุล พรรคมติประชา  : คะแนน 23 คะแนน
    30. นายฟ้าใส บินสุมัน พรรคมหาชน : คะแนน – คะแนน