ศุภาลัยแจงลูกค้า ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอน EIA ต่อศาลปกครองสูงสุด

ศุภาลัยขยับตัวแล้ว หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการศุภาลัย ลอฟท์ รัชดาฯ-วงศ์สว่าง โดยทำหนังสือเวียนถึงลูกค้าที่จองซื้อห้องชุดในโครงการ แจ้งแนวทางบริษัทใช้สิทธิอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสด

วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ทางบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจงกรณีศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้เพิกถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA โครงการศุภาลัย ลอฟท์ รัชดาฯ-วงศ์สว่าง โดยให้มีผลย้อนหลัง เนื่องจากได้รับอนุมัติ EIA ในปี 2564

โดยศุภาลัย เตรียมใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดต่อไป ขณะเดียวกัน ได้ทำหนังสือแจ้งกับลูกค้าที่จองซื้อคอนโดมิเนียมศุภาลัย ลอฟท์ รัชดาฯ-วงศ์สว่างทุกราย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 เพื่อแจ้งแนวทางและข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าโครงการ

ศุภาลัย ลอฟท์ รัชดา-วงศ์สว่าง pool

สำหรับหนังสือชี้แจงของศุภาลัย มีรายละเอียด ดังนี้

ศุภาลัยส่งหนังสือชี้แจง-ใช้สิทธิอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุด

วันที่ 1 มิถุนายน 2566

เรื่อง ขอขี้แจงกรณีโครงการศุภาลัย ลอฟท์ รัชดาฯ-วงศ์สว่าง

ตามที่บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ได้ทำการพัฒนาโครงการศุภาลัย ลอฟท์ รัชดาฯ-วงศ์สว่าง โดยก่อนที่บริษัทจะทำการประชาสัมพันธ์ขายโครงการนั้น

บริษัทได้จัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามขั้นตอนของกฎหมายและได้ดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างตามระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานราชการครบถ้วนทุกประการ

โดยทางบริษัทได้ยื่นหนังสือขออนุญาตตั้งแต่ปี 2559 และคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ซึ่งเป็นผู้พิจารณารายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้มีความเห็นให้บริษัทดำเนินการแก้ไขประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนช้างเคียงและสิ่งแวดล้อม

ซึ่งบริษัทได้ปฏิบัติตามมาโดยตลอด ตามความเห็นของคณะกรรมการ

โดยบริษัทได้มีการแก้ไขรูปแบบอาคารและปรับระดับความสูงตามที่ชุมชนโดยรอบโครงการมีความคิดเห็น จนเป็นที่มาของการได้รับหนังสือเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ElA) ในวันที่ 25 ตุลาคม 2564

ศุภาลัย ลอฟท์ รัชดา-วงศ์สว่าง co-living

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2566 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

(EIA) ที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการเป็นผู้พิจารณาอนุญาต

โดยศาลเห็นว่า การที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการมีมติเห็นชอบรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เนื่องจากการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากพื้นที่ข้างเคียงในเรื่อง แสงแดด และลม ของคณะกรรมการผู้ชำนาญการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านไม่เพียงพอ

เป็นเหตุให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเพิกถอนรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวตล้อม (EA) ดังกล่าว จึงเป็นการที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนรายงานผลกระทบต้านแสงแดด และลม เป็นครั้งแรก นับแต่มีการพิจารณารายงานของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ

ศุภาลัย ลอฟท์ รัชดา-วงศ์สว่างlobby

ในขณะนี้บริษัทมีความจำเป็นต้องระงับการก่อสร้างไว้ชั่วคราวตามคำสั่งศาลปกครองกลาง และใช้สิทธิในการ

อุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลปกครองสูงสุด

และเมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้บริษัทสามารถกลับมาก่อสร้างโครงการได้ บริษัทจะเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการ ศุภาลัย ลอฟท์ รัชดาฯ-วงศ์สว่าง โดยเร็วที่สุด

โดยในส่วนของลูกค้า บริษัทได้เริ่มจัดส่งหนังสือถึงลูกค้าโครงการศุภาลัย ลอฟท์ รัชดาฯ-วงศ์สว่าง ทุกราย ในวันที่

1 มิ.ย. 2566 เพื่อแจ้งแนวทางและข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าโครงการดังกล่าว

ขอแสดงความนับถือ

บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)

เปิดขายเดือนมกราคม 2565 เฉลี่ย 6.5 หมื่น/ตารางเมตร

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานเพิ่มเติมว่า โครงการศุภาลัย ลอฟท์ รัชดาฯ-วงศ์สว่าง เริ่มต้นขออนุมัติ EIA ในปี 2559 และได้รับอนุมัติ EIA เมื่อเดือนตุลาคม 2564

จากนั้น ศุภาลัยได้เปิดพรีเซลในเดือนมกราคม 2565 โดยประกาศให้ลูกค้ารับทราบว่าโครงการได้รับอนุมัติ EIA (EIA Approve) เรียบร้อยแล้ว

รายละเอียดโครงการ ออกแบบเป็นคอนโดฯไฮไรส์ สูง 18 ชั้น 3 อาคาร จำนวนรวม 1,302 ยูนิต มูลค่าโครงการ 3,200 ล้านบาท

มีห้องชุดให้เลือกแบบสตูดิโอ พื้นที่ใช้สอยเริ่มต้น 28 ตารางเมตร และห้องชุด 1-2 ห้องนอน พื้นที่ใช้สอยสูงสุด 64 ตารางเมตร และมีห้องลอฟต์ พื้นที่ 2 ชั้น ขนาด 47-48 ตารางเมตร อีกเพียง 24 ยูนิต

โดยศุภาลัย ลอฟท์ รัชดาฯ-วงศ์สว่าง ในช่วงเปิดพรีเซลมีราคาเริ่มต้น 1.7 ล้านบาท หรือเฉลี่ยตารางเมตรละ 6.5 หมื่นบาท ข้อมูล ณ ต้นปี 2565

ศุภาลัย ลอฟท์ รัชดา-วงศ์สว่างroom LOFT