กองทัพบกไม่ขัดข้องคมนาคมใช้ที่ปากช่องสร้างสถานีไฮสปีด-ไทยเร่งเคลียร์จีนค่างานระบบให้ชัดๆ

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2562 ที่ประชุมโครงการรถไฟไทย-จีนเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. เงินลงทุน 179,421 ล้านบาท รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่27 ที่ประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย คือไทย ลาว จีน เรื่องการสร้างจุดเชื่อมต่อรถไฟไทย-จีนระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ที่มีสถานีปลายทางหนองคาย จะไปเชื่อมกับรถไฟควารมเร็วสูงลาว-จีนที่เวียงจันทน์

โดยจะกำหนดตำแหน่งการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ซึ่งออกแบบรองรับราง 1.435 เมตรรองรับรถไฟความเร็วสูง ส่วนสะพานปัจจุบันที่มีราง1 เมตรอยู่แล้ว จะเป็นสะพานรองรับรถยนต์อย่างเดียว ซึ่งฝ่ายไทยจะออกค่าก่อสร้างในฝั่งไทย

“สถานีหนองคายจะเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารทั้งรถไฟไทย-จีนและลาว-จีน ส่วนสถานีนาทาเป็นสถานีจุดเปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าที่มาจากจีนและภายในประเทศที่จะขนส่งโดยรถไฟไปยังท่าเรือแหลมฉบัง”

นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ประชมยังไม่การพิจารณาด้านเทคนิค 7 ข้อที่ยังคุยกับจีนไม่ได้ข้อยุติ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่นำไปสู่การพิจารณาของสัญญา2.3 งานติดตั้งระบบ เนื่องจากค่าใช้จ่ายทั้ง 7 รายการนี้ทางจีนไม่ได้ให้รายละเอียดมีแต่วงเงินโดยรวม

ได้แก่ 1.ค่าการบริหารจัดการโครงการ 1,400 ล้านบาท 2.ค่าออกแบบรายละเอียด 700 ล้านบาท 3.ระบบเกี่ยวกับการทดสอบ 4.การจัดการแผนงาน 5.คุณสมบัติของบุคคลมากำกับคุมงานติดตั้งต่างๆ ทั้ง 3 รายงานรวม 365 ล้านบาท 6. ข้อกำหนดทั่วไป1,100 ล้านบาท และ 7.การจัดการ ยังไม่ได้กำหนดราคา

“ที่ประชุมให้การถไฟฯไปหารือกับจีนให้ได้ข้อสรุปรายละเอียดต่อไป ซึ่งฝ่ายไทยไม่ได้สงสัยเรื่องเงินแต่สงสัยว่ามาจากอะไรบ้าง”

นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาการขอใช้ราชพัสดุบริเวณปากช่องที่จะสร้างเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูง 216 ไร่ ของกรมธนารักษ์ที่ให้กองทัพบกใช้ประโยชน์เป็นเกตรกรรม ซึ่งกองทัพบกพร้อมที่สนับสนุนโครงการและไม่ขัดข้อง แต่ของให้การรถไฟฯกับกรมธนารักษ์เคลียร์แนวคิดให้ชัดเจน