กลุ่มโรงงานไทยเบฟ 18 แห่ง ได้รับประกาศนียบัตร มอก.9999

กลุ่มโรงงานไทยเบฟ 18 แห่ง ได้รับประกาศนียบัตร มอก.9999

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ” หรือ “บริษัท”) ตอกย้ำองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนระดับโลก ที่มุ่งเน้นการสร้างธุรกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับการส่งเสริมความยั่งยืนเพื่อ “สรรสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน” (Enabling Sustainable Growth) พร้อมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุมทุกมิติทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า  

ล่าสุดโรงงานในกลุ่มไทยเบฟจำนวน 18 แห่ง ได้รับมอบประกาศนียบัตรผ่านการทวนสอบตามมาตราฐานแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรม (มอก.9999) จากสถาบันรับรองมาตราฐานไอเอสโอ (Management System Certification Institute: MASCI) เพื่อส่งเสริมให้มีการนำมาตรฐานดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก โดยมี นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตราฐานไอเอสโอ และ นายฐานิต ปิยะศิริศิลป์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันรับรองมาตราฐานไอเอสโอ ร่วมด้วย นายปราโมทย์ หรรษมนตร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักการผลิตสุรา ผู้จัดการโรงงาน พร้อมด้วยตัวแทนผู้บริหารจากโรงงาน 18 แห่งของไทยเบฟ เข้าร่วมในพิธีมอบประกาศนียบัตรดังกล่าว ณ โรงงานสุราบางยี่ขันจังหวัดปทุมธานี 

จงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร

เกี่ยวกับรายละเอียดการได้รับ มอก.9999 ในครั้งนี้ นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ กล่าวว่า “รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มอบใบประกาศนียบัตรมาตรฐาน มอก.9999: มาตรฐานแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรม ในวันนี้การที่โรงงานกลุ่มไทยเบฟ ได้รับใบประกาศนียบัตรมาตรฐาน มอก.9999: มาตรฐานแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรม จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ 

แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของทุกระดับ เริ่มตั้งแต่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน หรือประเทศชาติ ให้สามารถรับมือได้กับทุกการเปลี่ยนแปลงในสังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน และเป็นส่วนสนับสนุนแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควบคู่ไปกับเจตนาในด้านความรับผิดชอบต่อพนักงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม และหวังว่าการได้รับการรับรองนี้จะพัฒนาไปสู่ความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืน ต่อไป

สถาบันฯ มีความภาคภูมิใจที่การบริการของสถาบันฯ ในด้านการทวนสอบมีส่วนสนับสนุนให้การดำเนินงานของบริษัทฯ เป็นไปตามมาตรฐาน และที่สำคัญผมในนามของสถาบันฯ ขอแสดงความชื่นชมยินดีต่อคณะผู้บริหาร ตลอดจนพนักงานที่มีความมุ่งมั่นร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ทุ่มเท จนบรรลุผลในวันนี้ และขอให้ท่านรักษาระบบจัดการที่ท่านได้รับการรับรองนี้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดไป 

ปราโมทย์ หรรษมนตร์

ทางด้าน นายปราโมทย์ หรรษมนตร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ ไทยเบฟตระหนักถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กร และดำเนินธุรกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ความยั่งยืนของไทยเบฟที่ต้องการ “สรรสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน” (Enabling Sustainable Growth) ด้วยการกำหนดเป้าหมายและการวัดผลที่ชัดเจนในแต่ละด้านเพื่อให้ครอบคลุมทุกมิติของการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างครบถ้วน โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราชบรมนาถบพิตร เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในฐานะผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

การดำเนินงานของโรงงานทั้ง 18 แห่ง และโรงงานต่าง ๆ ในกลุ่มไทยเบฟ มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม ที่ตระหนักถึงความสำคัญของระบบบริหารคุณภาพ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน และการจัดการด้านพลังงาน โดยผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001) มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร (ISO 22000) มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001) และระบบการจัดการด้านพลังงาน (ISO 50001) จึงกำหนดนโยบายให้ครอบคลุมทั้งด้านการบริหารคุณภาพ ความปลอดภัยของอาหาร การจัดการสิ่งแวดล้อม พลังงาน  อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้

  • ผลิตและพัฒนาสินค้า รวมทั้งการบริการ ที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า การอนุรักษ์พลังงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึง
    อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน พร้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และบริบทขององค์กร
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารคุณภาพ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การจัดการสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และการจัดการด้านพลังงานของทางราชการ และผู้มีส่วนได้เสียอย่างเคร่งครัด
  • ประเมินความเสี่ยงและโอกาสทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณภาพ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การจัดการสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และการจัดการด้านพลังงาน ในการผลิตและพัฒนาสินค้ารวมทั้งบริการ โดยกำหนดมาตรการ กำจัดอันตรายและลดความเสี่ยง ให้เกิดความมั่นใจในการป้องกัน ควบคุมดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร รวมถึงโอกาสในการปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน
  • พนักงานและผู้ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมขององค์กรทุกคน ร่วมกันพัฒนาสินค้า ปรับปรุงการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ปกป้องสิ่งแวดล้อม
    อาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน และพลังงาน อย่างต่อเนื่อง
  • นำนโยบายมาเป็นกรอบในการกำหนดและทบทวนวัตถุประสงค์ ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารคุณภาพ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การจัดการสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และการจัดการด้านพลังงาน 
  • สร้างจิตสำนึกให้พนักงานมีความตระหนัก และรับผิดชอบ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อคุณภาพ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ รักษาสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและ
    ความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งการอนุรักษ์พลังงาน โดยจัดให้มีการฝึกอบรมแก่พนักงานและถ่ายทอดให้กับบุคคลที่ทำงานให้กับองค์กร  
  • สนับสนุนการออกแบบ จัดซื้อ จัดหาเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์การผลิต และบริการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อการปรับปรุงสมรรถนะด้านคุณภาพ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การจัดการสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และการจัดการด้านพลังงาน ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • สื่อสารนโยบายให้ทราบ เข้าใจ และนำไปใช้ภายในองค์กร พร้อมประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

ทั้งหมดนี้ คือความมุ่งมั่น ที่จะดำเนินการตามนโยบายพร้อมปฏิบัติตามข้อกำหนดของคู่มือคุณภาพ  ระเบียบ และวิธีปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของกลุ่มโรงงาน

น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใช้ในการผลิตสินค้าดี มีมาตรฐานมีความปลอดภัย ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสีย และสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน และการอนุรักษ์พลังงาน

รายชื่อโรงงาน 18 แห่ง ที่ได้รับ มอก.9999

  • บริษัท แสงโสม จํากัด จังหวัดนครปฐม  (แห่งที่ 1)
  • บริษัท เฟื่องฟูอนันต์ จํากัด จังหวัดปราจีนบุรี
  • บริษัท ธนภักดี จํากัด  จังหวัดเชียงใหม่
  • บริษัท มงคลสมัย จํากัด จังหวัดอุตรดิตถ์
  • บริษัท กาญจนสิงขร จํากัด  จังหวัดกาญจนบุรี
  • บริษัท แสงโสม จํากัด จังหวัดกาญจนบุรี  (แห่งที่ 2)
  • บริษัท สุราบางยี่ขัน จํากัด  จังหวัดปทุมธานี
  • บริษัท อธิมาตร จํากัด จังหวัดบุรีรัมย์
  • บริษัท เอส.เอส.การสุรา จํากัด จังหวัดอุบลราชธานี
  • บริษัท แก่นขวัญ จํากัด  จังหวัดขอนแก่น
  • บริษัท เทพอรุโณทัย จํากัด จังหวัดหนองคาย
  • บริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จํากัด จังหวัดสมุทรสาคร
  • บริษัท สีมาธุรกิจ จํากัด จังหวัดนครสวรรค์
  • บริษัท ยูไนเต็ดไวน์เนอรี่ แอนด์ ดิสทิลเลอรี่ จํากัด จังหวัดนครปฐม
  • บริษัท ประมวลผล จํากัด จังหวัดนครปฐม
  • บริษัท หลักชัยค้าสุรา จํากัด จังหวัดราชบุรี
  • บริษัท นทีชัย จํากัด  จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • บริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จํากัด จังหวัดกําแพงเพชร