กาตาร์ เปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลาม แลนด์มาร์กรับบอลโลก 2022

กาตาร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะมุสลิม
Photo by PATRICK BAZ / Qatar Museums / AFP

พิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลาม ในกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์เปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อ 5 ต.ค. ที่ผ่านมา หลังจากปิดปรับปรุง เพื่อให้ทันต้อนรับมหกรรมกีฬาฟุตบอลโลก 2022

วันที่ 10 ตุลาคม 2565 อาหรับ นิวส์ รายงานว่า กาตาร์เปิดตัวพิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลามในกรุงโดฮา เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อเป็นการแสดงให้โลกรู้จักกับโลกอาหรับ พร้อมกับเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ หลังจากใช้เวลา 1 ปีกว่า ๆ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

จูเลีย กอนเนลลา ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลามกล่าวว่า เราเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลามที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้… และเราอยู่ในใจกลางโลกอาหรับ…คุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ศิลปะ และประวัติศาสตร์อิสลามได้ที่นี่

พิพิธภัณฑ์ โดฮา
พิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลามกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ Photo by Karim JAAFAR / AFP

ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงงานศิลปะและสิ่งประดิษฐ์อิสลามกว่า 14 ศตวรรษจากทั่วโลก เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นบนเกาะ มีทางเดินริมน้ำของโดฮา ออกแบบโดย ไอ. เอ็ม. เพ หรือ เป้ย์ ยวี่หมิง สถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายจีน หนึ่งในสถาปนิกที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 เป็นอาคาร 5 ชั้น มี 2 ใน 3 เป็นพื้นที่จัดแสดงใหม่สำหรับพิพิธภัณฑ์

“เมื่อก่อนมันเกี่ยวกับศิลปะ ตอนนี้มันเกี่ยวกับวัฒนธรรม” กอนเนลลากล่าว “เราต้องการบอกเล่าเรื่องราวเบื้องหลังผลงานชิ้นเอกจริง ๆ”

ธงชาติ ฟุตบอลโลก โดฮา
Photo by Ammar ABD RABBO / Qatar Museums / AFP

ในฐานะที่กาตาร์เป็นประเทศเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกในปีนี้ ซึ่งจะเริ่มขึ้นวันที่ 20 พ.ย.นี้ กาตาร์จึงทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเนรมิตสนามกีฬาแห่งใหม่ รวมถึงวางตำแหน่งแห่งที่เป็นผู้นำด้านวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสาธารณะหลายสิบชิ้น และเปิดพิพิธภัณฑ์กีฬาโอลิมปิกและกีฬากาตาร์เมื่อต้นปีนี้

พิพิธภัณฑ์ศิลปะสะท้อนชีวิตและวัฒนธรรมโลกอาหรับ

ขณะที่ นิวยอร์ก ไทมส์ รายงานว่า พิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลามแห่งนี้ได้เปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งพาให้ผู้เข้าชมได้เห็นการจัดแสดงใหม่เกือบ 1,100 รายการ รวมถึงเครื่องประดับหลายสิบชิ้นที่มีป้ายแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม

มีจอแสดงผลแบบดิจิทัลสำหรับผู้เข้าชม แม้จะมีอายุน้อยกว่าพิพิธภัณฑ์แสดงงานศิลปะระดับโลกหลายแห่ง แต่ที่นี่ก็ใช้ระบบการจัดแสดงที่ทันสมัย

เครื่องประดับ พิพิธภัณฑ์ศิลปะโดฮา
สร้อยคอจากเมืองพาราณสีของอินเดีย สมัยโมกุล (ศตวรรษที่ 18) ประดับด้วยเพชร มรกต ไข่มุก ทอง และอีนาเมล
Photo by Karim JAAFAR / AFP

ดิก ฟาน ดิจก์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ ของ Waag มูลนิธิไม่แสวงหากำไรในอัมสเตอร์ดัม ที่ดูแลเรื่องเทคโนโลยีกับวัฒนธรรมกล่าวว่า พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุใช้ความพยายามอย่างมาก เพื่อนำทุกอย่างเข้าสู่โลกออนไลน์ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในตอนนี้ คือเราได้เปลี่ยนจากเสียงภัณฑารักษ์หนึ่งไปเป็นการนำเสนอแบบหลายชั้นมากขึ้น และเสียงรอบ ๆ วัตถุชิ้นหนึ่งมากขึ้น

สำหรับพิพิธภัณฑ์ศิลปะมุสลิมในโดฮา มีพื้นที่ขนาด 376,740 ตารางฟุต เปิดแสดงมาตั้งแต่ปี 2552 และเมื่อปีกว่า ๆ ที่ผ่านมาปิดปรับปรุง และเปิดอีกครั้งพร้อมการนำเสนอใหม่ ได้รับการคัดเลือกจากคอลเล็กชั่น 10,000 ชิ้น รวมถึงเครื่องประดับ 556 ชิ้น ตามลำดับเวลาทางประวัติศาสตร์

จูเลีย กอนเนลลา ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ กล่าวในการทัวร์ในเดือนมิถุนายนว่า โดยพื้นฐานแล้วสิ่งที่เรากำลังทำกับการเปิดตัวใหม่ คือการสร้างเนื้อเรื่องและสร้างแนวเรื่อง โดยเริ่มจากต้นกำเนิดของศาสนาอิสลาม ในศตวรรษที่ 7 คนงานก่อสร้างหลายร้อยคนเต็มโครงสร้างด้วยเสียงสะท้อนของค้อนและไฟฟ้า เช่น เครื่องประดับผ้าโพกหัวที่ประดับด้วยเพชรพลอย ก่อนหน้านี้มีป้ายระบุว่า: “เครื่องประดับผ้าโพกหัว ศตวรรษที่ 18 ประเทศอินเดีย” เป็นต้น