“พานาโซนิค” เตรียมปิดโรงงานในไทย ย้ายฐานไปเวียดนาม

Photo by KAZUHIRO NOGI / AFP

“พานาโซนิค” เตรียมปิดโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย เดือนกันยายนนี้ และย้ายฐานผลิตไปประเทศเวียดนาม พร้อมตั้งเป็นศูนย์กลางการผลิตใหญ่หวังลดต้นทุนผ่านการรวมการจัดหาชิ้นส่วน

วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 นิคเคอิ เอเชียน รีวิว เว็บไซต์ข่าวเศรษฐกิจของญี่ปุ่นรายงานว่า บริษัท พานาโซนิค ผู้ผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น จะทำการปิดโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทย ภายในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้ และรวมการผลิตเข้ากับโรงงานที่ใหญ่ขึ้นในประเทศเวียดนามเพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ โรงงานผลิตในไทยจะหยุดการผลิตเครื่องซักผ้าและในเดือนกันยายน และหยุดการผลิตตู้เย็นในเดือนตุลาคม ขณะะที่ตัวอาคารโรงงานผลิตจะทำการปิดตัวในเดือนมีนาคมปี 2564 ส่วนศูนย์การวิจัยและพัฒนาในพื้นที่ใกล้เคียงจะปิดตัวเช่นกัน ปัจจุบันมีพนักงานประมาณ 800 คนที่ทำงานที่โรงงานในกรุงเทพจะได้รับการให้ทางเลือก แต่จะได้รับความช่วยเหลือในการหาตำแหน่งที่แตกต่างภายในกลุ่ม

ส่วนการย้ายไปประเทศเวียดนามนั้น พานาโซนิคต้องการลดต้นทุนผ่านการรวมการจัดหาชิ้นส่วน โดยโรงงานเวียดนามซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงฮานอย จะเป็นศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท สำหรับตู้เย็นและเครื่องซักผ้า ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ มีกำลังการผลิตส่วนเกิน

นิคเคอิ เอเชียน รีวิว มองว่า การย้ายโรงงานในครั้งนี้ สะท้อนถึงบทใหม่ในอุตสาหกรรมภาคการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงปี 1970 ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นเปลี่ยนการผลิตในประเทศไปสิงคโปร์และมาเลเซีย

จากผลของค่าเงินเยนปรับตัวสูงขึ้น อย่างรวดเร็วหลังจากเปลี่ยน เป็นอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว จากนั้น การผลิตได้ย้ายไปหลายประเทศรวมทั้งไทย ในขณะที่ค่าจ้างของสิงคโปร์แพงขึ้นจนเกินไป บริษัทต่าง ๆ กำลังมองหาที่ตั้งที่ถูกกว่าและหวังว่าจะสามารถตอบสนองความต้องการที่มีศักยภาพสำหรับตู้เย็นเครื่องซักผ้าและไมโครเวฟในประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม

ปัจจุบันพานาโซนิคมีพนักงานอยู่ในเวียตนามราว 8,000 คน นอกเหนือจากผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่แล้วหน่วยในพื้นที่ยังผลิตสินค้าเช่น ทีวี โทรศัพท์ไร้สาย เครื่องชำระบัตร และอุปกรณ์ในภาคอุตสาหกรรม

อย่างก็ดี พานาโซนิคกำลังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างโดยมีเป้าหมายในการลดต้นทุนประมาณ 930 ล้านดอลลาร์ หรือ 100 ล้านเยน ภายในปีงบประมาณสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2565 ซึ่งกำลังพิจารณาการเปลี่ยนแปลงการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อไป