ปรับค่าจ้างทำไม ? (จบ)

คอลัมน์ HR Corner

โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ http://tamrongsakk.blogspot.com 

5.ในตารางที่ 2 ผมลองคำนวณหาอัตราเงินเดือนเริ่มต้นตามคุณวุฒิต่างๆ

โดยกำหนดสมมุติฐานใหม่คือ

5.1.เดิมอัตราเงินเดือนเริ่มต้นตามคุณวุฒิ ปวช. (11,000) ห่างจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (9,750) อยู่ 13 เปอร์เซ็นต์ ผมจึงใช้เปอร์เซ็นต์ความห่างนี้คูณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่คือเดือนละ 12,750*13% จะได้เงินเดือน ปวช. อัตราใหม่คือ 14,408 บาท ซึ่งจะทำให้เงินเดือนของ ปวช. จบใหม่เพิ่มขึ้นจากอัตราเดิม (ที่ 11,000 บาท) ประมาณ 31 เปอร์เซ็นต์

5.2.เดิมอัตราเงินเดือนเริ่มต้นตามคุณวุฒิ ปวส. (13,000) ห่างจากอัตราเงินเดือน ปวช. (11,000) อยู่ 18 เปอร์เซ็นต์ ผมจึงใช้เปอร์เซ็นต์ความห่างนี้คูณอัตราเงินเดือน ปวช.ใหม่คือเดือนละ 14,408*18% จะได้เงินเดือน ปวส. อัตราใหม่คือ 17,000 บาท ซึ่งจะทำให้เงินเดือนของ ปวส. จบใหม่เพิ่มขึ้นจากอัตราเดิม (ที่ 13,000 บาท) ประมาณ 31 เปอร์เซ็นต์

5.3.เดิมอัตราเงินเดือนเริ่มต้นตามคุณวุฒิปริญญาตรี (15,000) ห่างจากอัตราเงินเดือน ปวส. (13,000) อยู่ 15 เปอร์เซ็นต์ ผมจึงใช้เปอร์เซ็นต์ความห่างนี้คูณอัตราเงินเดือน ปวส.ใหม่คือเดือนละ 17,000*15% จะได้เงินเดือนปริญญาตรีอัตราใหม่คือ 19,550 บาท ซึ่งจะทำให้เงินเดือนของปริญญาตรีจบใหม่เพิ่มขึ้นจากอัตราเดิม (ที่ 15,000 บาท) ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

6.จากทั้ง 2 ตารางจึงพอจะเห็นตัวเลขผลกระทบของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจากวันละ 325 บาท เป็นวันละ 425 บาท คือ บริษัทจะต้องปรับอัตราเงินเดือนเริ่มต้นตามคุณวุฒิดังนี้

6.1.อัตราเงินเดือนใหม่ของผู้จบ ปวช. คือ ประมาณ 14,400 บาท เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 30.9%

6.2.อัตราเงินเดือนใหม่ของผู้จบ ปวส. คือ ประมาณ 17,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 30.8%

6.3.อัตราเงินเดือนใหม่ของผู้จบปริญญาตรี ประมาณ 19,500 บาท เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 30%

7.ต้นทุนการจ่ายเงินเดือนที่จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ (รวมทั้งอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น) บริษัทต่างๆ เป็นผู้แบกรับไว้แต่เพียงผู้เดียว สำหรับเปอร์เซ็นต์ที่จะต้องปรับเพิ่มขึ้นสำหรับคนจบใหม่ตามคุณวุฒิต่าง ๆ ข้างต้น จะเป็นแนวทางให้คนที่ทำงานด้าน com & ben ได้คิดคำนวณ staff cost ในด้านต่างๆ ที่จะต้องเพิ่มขึ้นแล้วนะครับ

สำหรับต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นในเบื้องต้นผมสรุปมาให้ดังนี้ครับ

1.ต้นทุนการจ้างพนักงานเข้าใหม่ที่บริษัทจะต้องจ้างเข้ามาเป็น new hire หลังจากประกาศค่าจ้างขั้นต่ำ

2.ต้นทุนในการปรับค่าจ้างพนักงานเก่าที่ถูกจ้างมาด้วยค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อปีที่แล้ว

3.ต้นทุนในการปรับอัตราเงินเดือนเริ่มต้นตามคุณวุฒิต่างๆ ที่ผมบอกไปข้างต้นสำหรับพนักงานที่จะเข้ามาใหม่

4.ต้นทุนในการปรับเงินเดือนพนักงานเก่าที่เข้ามาก่อนหน้านี้ด้วยอัตราเริ่มต้นตามคุณวุฒิเดิมเพื่อหนีผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนเริ่มต้นตามคุณวุฒิคนใหม่ในครั้งนี้

5.ต้นทุนที่อิงกับฐานเงินเดือน เช่น ค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุด, ค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่จะต้องเพิ่มขึ้น, เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, เงินสมทบกองทุนประกันสังคมในส่วนของบริษัทที่จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น

6.บริษัทอาจจะต้องกลับมาทบทวนโครงสร้างเงินเดือนและ update โครงสร้างเงินเดือนใหม่

7.บริษัทอาจจะต้องปรับเงินเดือนพนักงานที่เป็น talent หรือพนักงานที่มีศักยภาพสูงบางคนเพื่อหนีผลกระทบครั้งนี้

8.อาจมีการปรับค่าจ้างตามทักษะวิชาชีพเพิ่มขึ้น

เท่าที่นึกออกตอนนี้มีเท่านี้ก่อนก็แล้วกัน หวังว่าข้อคิดความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้เกี่ยวข้องที่จะต้องรับผิดชอบ
งานด้านบริหารค่าตอบแทนที่จะได้นำไปประกอบการวิเคราะห์เพื่อนำเสนอฝ่ายบริหารในการรับมือในกรณีที่มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 425 บาทจริงตามข่าว

แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำสูงถึงวันละ 425 บาทตามข่าว แต่อย่างไรคงจะต้องมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ดีแหละครับ ซึ่งถ้าตัวเลขในการปรับน้อยกว่าวันละ 425 บาท ท่านก็ยังสามารถนำตารางที่ผมนำเสนอมานี้ไปปรับใช้ให้เป็นไปตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่จะปรับใหม่ได้นะครับ

ขอย้ำปิดท้ายอีกครั้งหนึ่งตรงนี้ว่านี่เป็นความคิดเห็นจากคนที่ทำงานด้านนี้โดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองใดๆ และเป็นความเห็นจากประสบการณ์เพื่อให้ข้อคิดกับคนที่จะต้องรับผิดชอบด้านค่าตอบแทนในบริษัทเพื่อเตรียมรับผลกระทบเท่านั้น