เปิดผลสำรวจค่าจ้าง-สวัสดิการ 2560/61 แนวโน้มการได้โบนัส-ขึ้นเงินเดือน

บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด ได้เผยผลสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการ, HR Benchmark 2560/61 ภายใต้การอำนวยการของอาจารย์รุ่งโรจน์ อรรถนานิทธิ์ เป็นปีที่ 10 ที่ HR Center ดำเนินการมา ทั้งนี้ ในครั้งนี้เป็นการให้ข้อมูลแนวโน้มการปรับค่าจ้างและจ่ายโบนัสประจำปี 2560, วุฒิการศึกษาที่มีอัตราแรกจ้างสูงสุด, ตำแหน่งงานที่มีเงินเดือนสูงสุด

โดยพบว่าปีนี้มีจำนวนองค์กรที่เข้าร่วมสำรวจเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอีก 10% รวมเป็น 377 องค์กร แบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจหลัก คือ 1) Manufacturing 2) Service และ 3) Trading แยกออกได้เป็น 22 กลุ่มธุรกิจ ครอบคลุมทุกภูมิภาคในประเทศไทย โดยกลุ่มธุรกิจที่มีองค์กรเข้าร่วมมากที่สุดคือกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ (67 องค์กร) รองลงมาคือกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (39 องค์กร) และลำดับสาม คือกลุ่มผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (27 องค์กร)

อัตราแรกจ้างตามวุฒิการศึกษา

เป็นการสำรวจค่าจ้างที่องค์กรกำหนดไว้ในการจ้างนักศึกษาที่จบใหม่ในวุฒิต่าง ๆ ที่ตลาดส่วนใหญ่ต้องการ พบว่าบางองค์กรรับเฉพาะผู้มีประสบการณ์แล้ว จึงไม่ได้กำหนดอัตราแรกจ้างไว้

โดยพบว่าวุฒิการศึกษาที่ตลาดต้องการมากที่สุด คือ อันดับหนึ่ง คือ ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ รองลงมาคือ ปวช.-ปวส. สาขาช่าง, และ ปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัย ตามลำดับ

ส่วนวุฒิการศึกษาทีมี่อัตราแรกจ้างสูงสุดในระดับปริญญาโทและปริญญาตรี เป็นไปดังรูปข้างล่างนี้

และวุฒิการศึกษาที่ตลาดให้ความสนใจ อีกทั้งมีอัตราแรกจ้างสูง ได้แก่ สายงานสารสนเทศ ดิจิตอล และคณิตศาสตร์ประกันภัย

ค่าจ้างตามตำแหน่งงาน

ในปีนี้มีตำแหน่งงานที่ส่งเข้าสำรวจทั้งสิ้น 260 ตำแหน่ง และเมื่อเรียงลำดับค่าจ้างในแต่ละตำแหน่งในกลุ่มพนักงานก็พบว่า ค่าจ้างสูงสุดในระดับผู้จัดการคือ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและการขาย อายุงาน 10 ปี ส่วนในระดับหัวหน้างาน ตำแหน่งที่ค่าจ้างสูงสุด คือ ล่ามภาษาญี่ปุ่น ระดับ 2 อายุงาน 5 ปี และในระดับเจ้าหน้าที่ ก็เป็นล่ามภาษาญี่ปุ่น ระดับ 3 อายุ 3 ปี

แนวโน้มการจ่ายค่าจ้างและโบนัสประจำปี

ในการสำรวจค่าจ้างและโบนัส มีการสำรวจทั้งสิ้น 3 ครั้ง คือ ในเดือนมิถุนายน, เดือนกันยายน และสุดท้ายในเดือน พฤศจิกายน เพื่อให้ผู้เข้าสำรวจเห็นข้อมูลทั้งในแง่แนวโน้มที่ปรับเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา จากการสำรวจในเดือนมิถุนายนกับกันยายน พบว่าตัวเลขเฉลี่ยของตลาดไม่แตกต่างกัน

จากกลุ่มที่เข้าสำรวจ พบว่า 0.8% บอกว่า จะไม่ปรับค่าจ้าง ส่วนอีก 99.2% บอกว่าจะปรับ

มีจุดที่น่าสังเกตในปีนี้คือ ตัวเลขการปรับค่าจ้างของปีนี้ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ในขณะที่ตัวเลขการจ่ายโบนัสสูงกว่า น่าจะบอกได้ว่าตลาดเริ่มให้ความสนใจกับการจ่ายค่าตอบแทนที่ยืดหยุ่นกับผลการดำเนินการมากขึ้น จึงไม่เน้นตัวเลขการปรับค่าจ้างสูงๆ แต่ไปเน้นการให้โบนัสเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานกับพนักงานแทน

โดยพบว่าตัวเลขเฉลี่ยของการขึ้นค่าจ้างประจำปีอยู่ที่ 5% ส่วนตัวเลขเฉลี่ยของการให้โบนัสอยู่ที่ 2.6 เท่าของเงินเดือน

นอกจากนี้ยังพบว่า ในการปรับค่าจ้าง องค์กรส่วนใหญ่นิยมใช้ ฐานค่าจ้างเป็นฐานในการปรับ มากกว่าจะใช้ Midpoint (ที่ 75.42% และ 17.68% ตามลำดับ)

ในการจ่ายโบนัส พบว่าตลาดนิยมให้ Variable Bonus คือ ยืดหยุ่นตามผลการดำเนินธุรกิจ มากกว่าการจ่ายแบบ Fixed อย่างเดียวหรือแบบ Fixed ผสมกับ Variable Bonus

อย่างไรก็ตาม 2.2% จากกลุ่มสำรวจบอกว่าจะไม่มีการจ่ายโบนัส

ผลการสำรวจแนวโน้มการจ่ายค่าจ้างและโบนัสสรุปได้ดังรูป

ภาพรวมของงาน HRM และ HRD

อัตราส่วนเจ้าหน้าที่ HR ต่อพนักงาน

ALL HR STAFF 1:72
HRM STAFF 1:163
HRD STAFF 1:310

บทสรุป

1.ภาพการใช้จ่ายเรื่องค่าตอบแทนต้องระมัดระวังมากขึ้น องค์กรควรใช้เครื่องมือการจ่ายโบนัสมากกว่าการขึ้นค่าจ้างปกติ เพราะไม่ต้องผูกพันระยะยาว แต่ใช้งบที่เหลือมาจ่ายคนที่เป็น Best Performer หรือคนเก่งคนดีแทน

2.แนวโน้มจะใช้งานด้านดิจิทัลในการพัฒนาระบบงานบุคคลมากขึ้น ทั้งการใช้หุ่นยนต์แทนแรงงาน การใช้ข้อมูลแบบ Big Data เข้ามาบริหารงานทั้ง HRM และ HRD รวมถึงการเรียนรู้พัฒนาตนเองแบบ Application

3.องค์กรต้องเร่งปรับตัว เพื่อรองรับปัญหา Generation ในการทำงาน เพราะพนักงานรุ่นเก่า ๆ (Baby Boomer) จะทยอยออกไปพร้อมกับองค์ความรู้ ควรจัดเวทีให้มีการถ่ายทอดให้ความสำคัญ