มติชน(ด)รามา พร้อมเปิดรอบปฐมทัศน์       

หนังสือของสำนักพิมพ์มติชน
คอลัมน์ : ประชาชาติ บุ๊คส์คลับ ออนไลน์
ผู้เขียน : สาโรจน์ มณีรัตน์

ต้องบอกว่างานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 28 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-23 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ปีนี้สำนักพิมพ์มติชนมาในคอนเซ็ปต์ที่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา เพราะปีนี้ใช้ธีม “มติชน(ด)รามา”

ด้วยการให้ “ตะวัน วัตุยา” ศิลปินร่วมสมัย เจ้าของรางวัล “ศิลปาธร” สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี 2566 โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้ออกแบบและกำกับศิลป์

ดังนั้น สื่อโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์จากแพลตฟอร์มต่าง ๆ จึงเสมือนเป็นการออกแบบย้อนยุคไปหาร่างเงาของความบันเทิงในอดีต คล้ายกับใบปิดหนังที่วาดถึงพระเอก-นางเอก ผู้ร้าย และตัวประกอบ พร้อมกับระบุชื่อหนัง ผู้ประพันธ์ วัน เวลา และสถานที่ในการฉายหนังเรื่องนั้น ๆ

ใบปิดหนังของสำนักพิมพ์ก็เช่นเดียวกัน

เพราะการออกแบบบูทสำนักพิมพ์มติชนครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ตอนเปิดโรงพร้อมกันในวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ณ บูท J47 ชั้น LG ฮอลล์ 5-7 จากนั้นจึงออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักพิมพ์ เริ่มตั้งแต่โปรแกรมพบปะมิตรรักนักอ่านเพื่อแจกลายเซ็นนักเขียน, กิจกรรมพิเศษ Meeting ตะวัน วัตุยา ศิลปินศิลปาธร เพื่อพูดคุยถึงที่มา และแรงบันดาลใจในการออกแบบบูทครั้งนี้ พร้อมกับโชว์วาดภาพสดด้วยสีน้ำ

และกิจกรรมเสวนาเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี 14 ตุลาฯ พร้อมกับนำชมนิทรรศการ 50 ปี 14 ตุลา เจ้าฝันถึงโลกสีใด

นอกจากนั้น ภายในงานมหกรรมหนังสือฯ สำนักพิมพ์มติชนยังขนหนังสือไฮไลต์มาอวดโฉมผู้อ่านทั้งหมด 6 ปกด้วยกันคือ 1.สถาปัตย์-สถาปนา : การ(เมือง)ดีไซน์พื้นที่และความนัยสถาปัตยกรรม โดยชาตรี ประกิตนนทการ 2.นิธิ เอียวศรีวงศ์ กับตาข่ายแห่งความทรงจำและนิยามประชาธิปไตย โดยสายชล สัตยานุรักษ์ 3.ข้างหลังภาพ 14 ตุลาฯ : จากระบอบปฏิวัติของเผด็จการสู่การปฏิวัติของประชาชน โดยบัณทิต จันทร์โรจนกิจ

4.ทหารกับประชาธิปไตยไทย : จาก 14 ตุลาฯ สู่ปัจจุบันและอนาคต โดยสุรชาติ บำรุงสุข 5.ประวัติศาสตร์สังคมว่าด้วยส้วมและเครื่องสุขภัณฑ์ในประเทศไทย โดยมนฤทัย ไชยวิเศษ และ 6.Getting Land Right : ระบบกำกับดูแลที่ดินไทยต้องปฏิรูป ผาสุก พงษ์ไพจิตร บรรณาธิการ

ที่สำคัญ ภายในบูทสำนักพิมพ์มติชนยังมีหนังสือออกใหม่อีก 16 ปก อาทิ Quichotte กิช็อต บุรุษบ้าและมายาสมัย, Salman Rushdie เขียน วรางคณา เหมสกุล แปล, สยามโมเดิร์นเกิร์ล ภาวิณี บุนนาค เขียน, ประวัติศาสตร์สังคมว่าด้วยส้วมและเครื่องสุขภัณฑ์ในประเทศไทย มนฤทัย ไชยวิเศษ เขียน, The Art of Noticing ศิลปะแห่งการสังเกต Rob Walker เขียน พรรษรัตน์ พลสุวรรณา แปล,

โบราณกาลปัจจุบัน สันติ เล็กสุขุม เขียน, สถาปัตย์-สถาปนา : การ(เมือง)ดีไซน์พื้นที่และความนัยสถาปัตยกรรม ชาตรี ประกิตนนทการ เขียน, กำศรวลพระยาศรี ณ เพ็ชรภูมิ เขียน, Getting Land Right : ระบบกำกับดูแลที่ดินไทยต้องปฏิรูป ผาสุก พงษ์ไพจิตร บรรณาธิการ

Amidst the Geo-Political Conflicts สมรภูมิพลิกอำนาจโลก ปิติ ศรีแสงนาม และจักรี ไชยพินิจ เขียน, Restorative Cities ให้นครเยียวยาใจ Jenny Roe & Layla Mccay เขียน ธาม โสธรประภากร แปล, How to Prevent the Next Pandemic สู่โลกปลอดเชื้อ : คู่มือป้องกันการระบาดใหญ่ครั้งต่อไป Bill Gates เขียน นำชัย ชีววิวรรธน์ แปล

ความหวังที่เคลื่อนไหว : โลกขวา ๆ ซ้าย ๆ และความท้าทายของประชาธิปไตย ประจักษ์ ก้องกีรติ เขียน, ข้างหลังภาพ 14 ตุลาฯ : จากระบอบปฏิวัติของเผด็จการสู่การปฏิวัติของประชาชน บัณทิต จันทร์โรจนกิจ เขียน, กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช เขียน,

ทหารกับประชาธิปไตยไทย : จาก 14 ตุลาฯ สู่ปัจจุบันและอนาคต สุรชาติ บำรุงสุข เขียน และนิธิ เอียวศรีวงศ์ กับตาข่ายแห่งความทรงจำและนิยามประชาธิปไตย สายชล สัตยานุรักษ์ เขียน

ทุกปกลดราคาให้ผู้อ่านเฉพาะงานนี้สูงสุดถึง 15%

นอกจากนั้น ยังมีโปรโมชั่นลดราคาหนังสือชุดต่าง ๆ อีก 25% พร้อมกับรับของพรีเมี่ยมสุดพิเศษอีกมากมาย พูดง่าย ๆ ว่าถ้าเหล่าบรรดาหนอนหนังสือ และแฟนานุแฟนสำนักพิมพ์มติชน ตรงมาที่บูท J47 นอกจากจะได้หนังสือถูก ๆ กลับบ้านอย่างจุใจ หากยังได้สินค้าพรีเมี่ยมที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลกอีกด้วย

อย่าลืมแวะมา “มติชน(ด)รามา” เพื่อร่วมเปิดรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 12 ตุลาคม 2566 นี้กันนะครับ

ส่วนคราวหน้าผมจะเขียนแนะนำหนังสือไฮไลต์ทั้ง 6 เล่มอีกครั้งว่าน่าสนใจเพียงใด ?