ถอดบทเรียน “ดอยตุง” นำร่องคาร์บอนเครดิตโมเดล พลิกชีวิตเกษตรกร สู่วิถียั่งยืน

ย้อนกลับไป ปี 2514 แม่ฟ้าหลวง คือ คำที่ชาวบ้านเรียกสมเด็จย่า ผู้ทรงก่อตั้ง มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และนำมาสู่โครงการพัฒนาดอยตุง เมื่อปี 2531 

พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง”

นั่นนับเป็นจุดเปลี่ยนของภูเขาหัวโล้นที่มีแต่ดินลูกรังสีแดง ให้กลับมาเขียวอีกครั้ง

ด้วยแนวคิดที่ว่า “ปลูกป่าไม่สำเร็จ ถ้าไม่ปลูกคน” ที่สมเด็จย่าวางไว้ ทำให้ชาวบ้านที่เคยทำไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่น หันมาทำการเกษตร จน พื้นที่โครงการ 91,179ไร่  ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกป่าเศรษฐกิจ และดึงภาคเอกชนมาร่วมลงทุน ตั้ง บริษัท นวุติ จำกัดมี 6 รายอาทิ  เอื้อชูเกียรติ มิตซุย เข้าร่วม 

จากคำบอกเล่าของ “อมรรัตน์ บังคมเนตร” ผู้จัดการเผยแพร่องค์ความรู้ สำนักงานประสานงาน โครงการพัฒนาดอยตุง
 

ส่งเสริมกาแฟ-แมคคาเดเมีย

‘กาแฟ’ เป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่เริ่มสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกในตอนนั้น ด้วยแนวคิดที่ว่ากาแฟ ชอบดินแบบเดียวกับฝิ่น และยังเป็นพืชที่มีตลาดรองรับ ( ส่วน ชา ยังมีตลาดไม่มากเท่ากาแฟ  ) ซึ่งจนถึงปัจจุบันที่นี่สามารถปลูกได้ ปีละ 400 ตัน และพัฒนาเป็นร้านกาแฟจนเป็นที่รู้จักในแบรนด์ “ดอยตุง”

ต่อมา “แมคาเดเมีย” พืชตระกูลนัท เป็นพืชเศรษฐกิจตัวที่สองที่ได้ส่งเสริมให้ปลูก เพราะในโลกนี้มีพื้นที่ปลูกแมคคาเดเมีย เพียงไม่กี่แห่งในโลก คือ ที่ฮาวาย และออสเตรเลีย เพราะพืชชนิดนี้เป็นไม้เอเลี่ยน เมื่อปลูกแล้ว จะกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ อายุยาวนานเป็น 100 ปี แต่ด้วยลักษณะที่เข้ากับพื้นที่กลมกลืนไปกับป๋าไม้ จึงได้รับการส่งเสริม

5 ธุรกิจ หลักของดอยตุง

ไม่เพียงเท่านั้น ยังได้มีการพัฒนาพื้นที่ดอยตุงเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีการจัดสวน วางภูมิทัศน์ ปรับเปลี่ยนต้นไม้ในโครงการทุกปี ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ 

ที่สำคัญโครงการนี้ ยังสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน ให้มาปลูกป่าแทนการปลูกฝิ่น โดยให้ค่าจ้างวันละ 40 บาทและหากเกษตรกรรายใดมาปลูกกาแฟ จะได้ค่าจ้างคิดเป็นหลุม หลุมละ 2 บาท และหากปลูกต้นแมคคาเดเมียจะได้หลุมละ 8 บาท และสุดท้ายเมื่อกาแฟผลิดอกออกผล ก็ ยกต้นกาแฟคืนให้กับชาวบ้าน กาแฟของที่นี่จึงเป็นกาแฟของชาวบ้าน 

การพัฒนาโครงการหลวง ยังขยายต่อยอดถึงการตั้งโรงคั่วกาแฟ และรับซื้อผลผลิตให้เกษตรกร เพื่อสร้างรายได้ แต่ไม่ได้ใช้ระบบบังคับ เหมือนเอกชน

และยังได้จัดตั้ง “ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ” ส่งเสริมการผลิตงานหัตถกรรม ปรับรูปแบบให้ทำชิ้นงานสร้างรายได้ โดยยึดหลักว่า จะไม่เข้าไปเปลี่ยนวิถีขีวิตเขา แต่ให้แนวทางในการพัฒนาชิ้นงาน ที่มีดีไซส์สวยงาม และมีคุณภาพสูง และที่สำคัญต้องดูแลสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย

จากปลูกป่า สร้างงาน แปรรูปและผลิตอาหาร คาเฟ่ หัตถกรรม เกษตร และท่องเที่ยว กลายเป็น 5 สาขาที่เป็นธุรกิจหลักสร้างรายได้ให้เกษตรกรที่นี่พลิกจากติดลบ กลับมา มีรายได้สูงถึง 90,000 บาทต่อคนต่อปี

นับเป็นการส่งเสริม อย่างสร้างสรรค์ พอเพียง ยั่งยืน เปิดโอกาสให้คนมาศึกษาและเรียนรู้ และสร้างสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI )พํฒนาต่อยอดผลิตภัณ์ กาแฟแคปซูล โคลบิวและเมล็ดกาแฟชนิดพิเศษ (specialty coffee)

ชูกลยุทธ์ collaboration แบรนด์ดังระดับโลก 

ตอนนี้โครงการฯ ได้วางกลยุทธ์สร้างการเติบโตด้วยการผนึกกับพันธมิตร ทำการตลาดแบบ collaboration กับแบรนด์ดังทั่วโลก อาทิ  มุจิ โอนิซึกะไทเกอร์ผลิต คอลเลคชั่นรองเท้าที่ใช้ผ้าไทย ประสบความสำเร็จจนขายหมดภายใน 1 สัปดาห์ 

และยังร่วมกับเมือง kasama ประเทศญี่ปุ่น พัฒนาเรื่องเซรามิกส์ และทำคอลเลคชั่นเซรามิกส์พิเศษให้กับอิเกีย เพื่อนำไปจำหน่านในร้านสาขาที่สแกนดิเนเวียร์ และเสิร์ฟกาแฟดอยตุงให้กับสายการบินระดับชาติ อย่าง เจแปนแอร์ และ การบินไทย

จุดสำคัญ ไม่ใช่มุ่งเน้นเพียงกับกำไร แต่ยังเป็นการต่อยอด สร้างประสบการณ์ ทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ว่าการทำงานระดับโลก ละเอียดดีมาก 

หล่อหลอมเยาวชน

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญในการพัฒนาจะเดินต่อไม่ได้เลย หากไม่มี “คน” โครงการหลวงฯ จึงมุ่งสร้างคนรุ่นต่อไป  หล่อหลอม เด็กและเยาวชน 

โดยจัดให้มี “ศูนย์เด็กใฝ่ดี” เปิดพื้นที่ให้ลูกหลานชาวบ้าน มีเวที มีพื้นที่สำหรับปล่อยพลัง สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างอาชีพในอนาคต  จนเด็กๆ มีการรวมตัวตั้งเป็น ชมรม 8 ชมรม เช่น ถ่ายรูป ค่าเฟ่ นักร้อง ดนตรีและให้ทุนแก่เด็ก

ผลสำเร็จรายได้-พื้นที่ป่าพืชเพิ่ม

ผลสำเร็จของ การทำงานในโครงการนี้ ไม่ใช่การบอกว่าสิ่งที่ชาวบ้านทำอยู่แล้วนั้นถูกต้องหรือไม่ แต่เป็นการวัดความคืบหน้าในการทำงานตามเป้าหมายที่วางไว้

เช่นว่า หากวัดเป็นตัวเลขรายได้การสร้างงานสร้างอาชีพทำให้ชาวบ้านสามารถทำได้ถึง 90,000 บาท ต่อคนต่อปี ลูกหลานได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น

และที่สำคัญการพัฒนาการเกษตรทำให้สามารถฟื้นฟูพื้นป่ากลับมา  86.8%  จากในอดีตที่พื้นที่ป่ามีเพียง 54%

ก้าวต่อไป พืช “วนิลา”

แม้ว่าผลิตภัณฑ์ดอยตุงจะได้รับความนิยมอย่างมากในตลาด แต่ที่นี่ยังไม่หยุดพัฒนา

โดยมองว่า ก้าวต่อไปถ้ากาแฟและแมคคาเดเมียไปไม่รอด ต้องหาผลิตภัณฑ์ใหม่มาเสริม นำมาสู่ การวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ อย่าง  วนิลา มาทดลองปลูก

“วนิลา” เป็นพืชใหม่ที่ถูกเลือก เพราะเหมือนกาแฟตรงที่มีการปลูกไม่มาก มีตลาดรองรับแน่นอน  และนักพัฒนาในโครงการนี้ืเก่งเรื่องดอกไม้อยู่แล้ว การต่อยอดมาปลูกวนิลาจึงไม่ใช่เรื่องยาก 

และที่สำคัญวนิลาสามารถสร้างรายได้ถึง กก.ละ 18,000 บาท หากงานวิจัยนี้สำเร็จใน 2-3 ปี จะส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกได้ ใช้พื้นที่ไม่เยอะ ใช้เทคโนโลยีปลูกได้ 

ตอนนี้โครงการฯ ได้ร่วมกับเอไอเอสใช้เทคโนโลยีมาช่วยยกระดับการเกษตร ควบคุมการผลิต บริหารจัดการแบบเป็นระบบ

กระบวนการทำงานของที่นี่ เริ่มจากการคิดจากการระดมสมอง ถามชาวบ้าน สร้างการเข้าใจเข้าถึงตามในหลวงรัชกาลที่9 ทรงปลูกฝังให้ดำเนินการทุกอย่างกระบวนการต้องเกิดจากการคิดและการมีส่วนร่วมจากบนวนลงล่าง และคิดย้อยกลับจากล่างขึ้นบนด้วย ไม่ใช่ใช่ระบบสั่งการ แต่คิดและสร้างการมีส่วนร่วม

ลุย ‘ขายคาร์บอนเครดิต’

จากแนวคิดเศรษฐกิจของโครงการดอยตุงต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งส่งเสริมชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่เริ่มจากตัวเองก่อน เช่น กาาใช้สีย้อมผ้าธรรมชาติ

นำมาสู่การออกแบบดีไซน์สร้างมูลค่า รีไซเคิล และใช้ circulating economy แพ็กเกจกิ้ง พลังงานโซลาร์ และการจัดการขยะกลายเป็น 0 แล้วเสร็จในปี 2018 ที่ผ่านมา

ต่อเนื่องมาด้วย ‘การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” (GHG ) โดยเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) สามารถนำป่าชุมชนเข้าร่วม เริ่มชายคาร์บอนเครดิต 106,788 ตันคาร์บอนต่อปี ทำรายได้ 21.3 ล้านบาทต่อปี เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี  ตามอายุใบรับรอง จากนั้นจะมีการมีตรวจสอบใหม่ในระยะต่อไปและร่วมกับ บริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)จัดทำโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

โครงการหลวงดอยตุง เป็นบทพิสูจน์ว่าการทำธุรกิจที่สอดประสานไปกับการสร้างความยั่งยืน สามารถประสบความสำเร็จได้ สร้างงานสร้างอาชีพดูและสมาชิก 11,000 คน หรือ  1,714 หลังคาเรือน ได้มาตลอดระยะเวลา 35 ปี