EF สำรวจการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 ทั่วโลก เผยอันดับของไทยรั้งท้ายในเอเชีย

อีเอฟ เอดูเคชันเฟิสต์ (EF Education First) เปิดเผยผลการจัดอันดับความสามารถทางการใช้ภาษาอังกฤษ EF FPI (EF English Proficiency Index) ประจำปี ซึ่งเป็นการวัดคะแนนการทดสอบ จากการวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้ใหญ่ฟรี ซึ่งพันกว่าโรงเรียน บริษัท และรัฐบาลทั่วโลกใช้ EF SET สำหรับการทดสอบขนาดใหญ่

ในปีนี้สำรวจจากคนจำนวน 1.3 ล้านคนจาก 88 ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก จากผลการสำรวจพบว่า ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยอยู่ในระดับต่ำ โดยประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 64 ของโลก ซึ่งล่วงลงจากอันดับที่ 53 ในปีก่อน และหากเปรียบเทียบในระดับเอเชีย ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 16 จาก 21 ประเทศ และนับเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 8 ปี ที่ประเทศสวีเดนติดโผอันดับสูงสุดจากผลการทดสอบความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ทำให้ประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่งติดอันดับหนึ่งในปีที่แล้วลดลงมาเป็นอันดับที่ 2

ดร. มิน ทราน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายงานวิจัย กล่าวว่า ผลสำรวจพบว่าในระยะเวลา 1 ปี อันดับความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยตกลงไป 11 อันดับ และยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การสำรวจ EF EPI แสดงให้เห็นว่าประเทศและบุคคลที่ลงทุนในการศึกษาภาษาอังกฤษ และตระหนักถึงความสำคัญของภาษาซึ่งเป็นตัวผลักดันด้านการแข่งขัน จะเป็นประเทศและบุคคลที่มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลการจัดอันดับของ EF นี้ถูกนำมาเป็นข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญของรัฐบาล บริษัท และผู้ให้ความรู้ เมื่อพูดถึงทักษะด้านภาษาอังกฤษ

ผลการสำรวจประเด็นหลักๆ ของ EF EPI ปีนี้ได้แก่

  • ยุโรปยังคงเป็นผู้นำระดับโลกด้านความสามารถทางภาษาอังกฤษ โดย 8 ใน 10 อันดับประเทศที่มีความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษสูงสุดเป็นประเทศจากแถบยุโรป
  • นับเป็นครั้งแรกของประเทศในแถบเอเชียที่ติดโผ 3 อันดับแรก คือ สิงคโปร์ อยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก อย่างไรก็ตาม เอเชียยังคงมีช่องว่างที่ใหญ่ที่สุดในระดับภูมิภาค และประเทศที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษต่ำสุด (ประเทศอุซเบกิสถาน อยู่อันดับที่ 86 ของโลก)

  • แอฟริกาแสดงถึงความสามารถด้านภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ โดยประเทศแอลจีเรีย อียิปต์ และแอฟริกาใต้ ได้พัฒนาเพิ่มขึ้น 2 คะแนนหรือมากกว่า
  • ละตินอเมริกาเป็นประเทศเดียวที่แสดงถึงความสามารถด้านภาษาอังกฤษโดยรวมลดลงเล็กน้อย ผลคะแนนในภูมิภาคยังคงสม่ำเสมอกว่าที่อื่นๆ โดยมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่างประเทศที่มีระดับความสามารถภาษาอังกฤษต่ำสุดและสูงสุด
  • ผู้หญิงยังคงมีทักษะด้านภาษาอังกฤษดีกว่าผู้ชาย โดยความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษระหว่างสองเพศจากทั่วโลกเริ่มแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่ พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา
  • ผลสำรวจในแบบสหสัมพันธ์พบว่า ความสามารถทางภาษาอังกฤษในประเทศส่งผลต่อความเท่าเทียม โดยประเทศที่มีความสามารถทางการใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นจะมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น โดยพบว่าจำนวนเด็กผู้หญิงในประเทศเหล่านี้ได้รับโอกาสในการเรียนหนังสือเพิ่มขึ้นอีกทั้งยังมีบัญชีเงินฝากในชื่อตัวเองอีกด้วย

สามารถดูรายงานผลการจัดอันดับระดับภูมิภาคด้านความสามารถภาษาอังกฤษ EF EPI ปี 2561 ที่ข้อมูลด้านล่างและดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ www.ef.com/epi