ป่วยโรคหายาก ประกันคุ้มครองไหม?

ป่วยโรคหายาก

ป่วยโรคหายากต่างจากโรคร้ายแรงตรงไหน
เป็นโรคที่พบได้น้อย หรือมีความชุกของโรคต่ำกว่า 1 ใน 2,500 คนของประชากร ซึ่งสามารถหายารักษาได้ยาก ตัวโรคก็ยังมีความรุนแรงด้วย ในปัจจุบันพบว่า มีผู้ที่เป็นโรคหายากทั่วโลกมากถึง 8,000 ชนิด และส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 มีสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคจากพันธุกรรม
โรคหายากจะต่างจากโรคร้ายแรงคือ โรคร้ายแรงนั้นพบได้ทั่วไป แม้จะมีอาการร้ายแรงและมีความชุกจำนวนมาก จึงเป็นที่คุ้นเคยกับชื่อโรคกันเป็นอย่างดี

กลุ่มตัวอย่างของโรคหายาก ได้แก่
• โรคแอมโมเนียคั่งในเลือด พบได้ในทารกและเด็กเล็ก มีอาการซึม กินไม่ได้ อาเจียน โคม่า สมองบวม ตับโต อาการสมองพิการถาวร
• โรคพราเดอร์-วิลลี่ เกิดขึ้นในทารกทำให้หลับนานมาก ไม่ค่อยกิน น้ำหนักขึ้นน้อย 6-9 เดือนจึงจะเริ่มตื่นตัวดี ส่งผลให้พัฒนาการและสติปัญญาล่าช้า
• โรคมาแฟน มักพบในเด็กโตรูปร่างสูง ผอม นิ้วยาว ข้อกระดูกบิดงอง่าย กระดูกหน้าอกบุ๋มและโป่ง กระดูกสันหลังคด สายตาสั้นมาก เลนส์ตาเคลื่อนหลุด
• โรคแองเจลแมน จะมีพัฒนาการช้า มีปัญหาในการเคลื่อนไหว เดินเซ ไม่มั่นคง ทารกจะเริ่มมีอาการหลังครบ 6-9 เดือนขึ้นไป
• โรคเพรนเดร็ด อาการคือหูหนวกตั้งแต่กำเนิด ต่อมไทรอยด์โตหรือคอพอกแบบไม่เป็นพิษ
• ฯลฯ
ชื่อโรคเหล่านี้ไม่เป็นที่คุ้นเคยในวงกว้าง เพราะเป็นกลุ่มโรคหายาก และส่วนใหญ่โรคเหล่าเป็นมาแต่กำเนิด ทำให้ไม่มีประกันใดๆ คุ้มครอง เนื่องจากอาการเจ็บป่วยแต่กำเนิดนั้น คือเงื่อนไขหลักๆ ที่ประกันสุขภาพไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้

โรค SLE อีก 1 โรคร้ายแรงที่จัดว่าเป็นโรคหาประกันยาก
เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลาย อาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรง หรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานานหลายปี หรืออาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อมๆ กัน และด้วยความที่มีการเกิดอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปนี่แหละ อาจทำให้ไม่สามารถทราบก่อนทำประกันสุขภาพได้ว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ และในบางครั้งอาจกินเวลาเป็นปีหลังจากทำประกันไปแล้วจึงเริ่มแสดงอาการ

อาการของโรค SLE อาจตรวจพบในภายหลังทำประกันสุขภาพ
โดยส่วนใหญ่มักไม่เป็นที่สังเกตเห็นของตัวผู้ป่วยเอง เพราะอาการบ่งชี้ในช่วงเริ่มต้นนั้นค่อนข้างธรรมดาสามัญ ไม่ต่างจากอาการป่วยทั่วไปมาก เช่น มีไข้ ผื่นขึ้นที่ใบหน้า เกิดแผลในปาก ผมร่วง มีอาการปวดข้อ บางครั้งก็เป็น พอรักษาก็หายไปแล้วก็กลับมาเป็นวนซ้ำอีก ซึ่งในบางครั้งผู้ป่วยอาจคิดแค่ว่าตัวเองมีอาการสะเก็ดตามร่างกาย หรือเซ็บเดิร์มปกติทั่วไป แต่ในความไม่ปกติคือ จะค่อยๆ มีอาการร่วมต่างๆ เผยออกมาในภายหลัง ได้แก่
• อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด
• อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ มักเป็นบริเวณข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเท้า หรือข้อเข่า เป็นเหมือนๆ กันทั้ง 2 ข้าง
• ไตอักเสบจากลูปัส ได้แก่ บวม ปัสสาวะเป็นฟอง ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง
• อ่อนเพลียหน้ามืดจากภาวะซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และเกร็ดเลือดต่ำ อาจพบจุดจ้ำเลือดออกตามตัวได้
• อาการชักและอาการทางจิต นอกจากนี้อาจมีอาการปวดศรีษะรุนแรง หรือมีอ่อนแรงของแขนขา อาจพบได้ในระยะที่โรคกำเริบ
• เจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาหายใจเข้าสุด ตรวจพบมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด

มีเงื่อนไข หรือประกันอะไรบ้างที่คุ้มครองโรคหายากเช่นนี้
แค่ขึ้นชื่อว่าป่วยเป็นโรคหายาก กำลังใจของผู้ที่กำลังประสบอยู่ก็เรียกได้ว่าถดถอยกว่าสถาวะปกติอยู่แล้ว โดยหลักๆ แล้วประกันสุขภาพส่วนมาก จะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคที่มาจากกรรมพันธุ์หรือพันธุกรรม เพราะไม่มีทางรักษาหาย (และโรคหายากมักพบในทารก และจะมาตรวจเจอภายหลัง)

โครงการเมืองไทย แฮปปี้ เลดี้
ประกันสุขภาพที่คุ้มครองโรคร้ายแรงและโรคหายากอย่างเช่น SLE โดยมีเงื่อนไขคือ ผู้เอาประกันต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ และบริษัทฯ ได้พิจารณาแล้วว่าผู้เอาประกันภัยมีการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคใดโรคหนึ่งดังนี้
• มะเร็งเต้านมหรือปากมดลูก
• มะเร็งที่ยังไม่ลุกลามเข้าถึงเยื่อบุฐานของเต้านมหรือปากมดลูก (เฉพาะข้อ 2 นี้จ่ายผลประโยชน์ 30% ของผลประโยชน์โรคร้ายแรง และผู้เอาประกันภัยยังมีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองในข้อ 1, 3 และ 4 อีก 70% ของผลประโยชน์โรคร้ายแรง)
• โรคมะเร็งอื่นๆ ของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ได้แก่ มดลูก รังไข่ ท่อทางเดินรังไข่ ช่องคลอด หรือปากช่องคลอด
• โรคลูปัส หรือ โรค SLE บริษัทฯ จะจ่ายผลประโยชน์ 100% ของผลประโยชน์โรคร้ายแรง

เงื่อนไขหลักที่ประกันจะคุ้มครองโรคหายาก คือห้ามปกปิดในกรณีที่รู้อยู่เเล้ว
เพราะหากผู้เอาประกันภัยทราบอยู่เเล้ว แต่ยังคงทำสัญญาประกันสุขภาพ หากทางบริษัทตรวจพบในภายหลัง กรมธรรมนั้นจะถูกล้างและยกเลิกสัญญา อันเนื่องมาจากการปกปิดข้อมูลอาการป่วยที่เป็นมาอยู่แล้ว

แต่ถ้าใครคิดว่าเราควรบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกีบชีวิตและสุขภาพไว้ก็อาจศึกษาเรื่อง ประกันสุขภาพและประกันชีวิตมีความจำเป็นแค่ไหน?  ได้ที่ลิงก์นี้