เป็นคดีประวัติศาสตร์ของผู้บริโภค เมื่อผู้ซื้อรถ 9 ราย ฟ้องร้องบริษัทจำหน่ายรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วน และล่าสุดศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้บริษัทเรียกคืนรถยนต์มาสด้า 2 เครื่องยนต์เชื้อเพลิงดีเซล (Mazda 2 Skyactiv D 1.5) ที่ผลิตในปี 2557-2561 ทุกคันมาซ่อมแซม พร้อมชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้บริโภค
วันที่ 30 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้ใช้รถจำนวนมาก และเนื้อหาคำพิพากษาศาลคดีหมายเลขดำที่ ผบ 347/2561 คดีหมายเลขแดงที่ ผบ 238/2566 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ลงวันที่ 28 มีนาคม 2566 ระบุว่า คดีนี้มีโจทก์ 9 ราย และมีจำเลย 3 ราย ประกอบด้วย บริษัทมาสด้า เชลส์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทมาสด้า พาวเวอร์เทรน แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นจำเลยที่ 1-3 ตามลำดับ
โดยคดีนี้ เป็นคดี “ซื้อขาย เช่าซื้อ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551” เนื่องจากโจทก์ทั้ง 9 เป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์ยี่ห้อมาสด้า รุ่นมาสด้า 2 สกายแอคทีฟ เครื่องยนต์ดีเซล ได้รับความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์รุ่นดังกล่าว อันเป็นสินค้าที่จำเลยทั้ง 3 ผลิตและขายให้แก่โจทก์ทั้ง 9 และผู้บริโภคทั่วไป
โดยเป็นสินค้าที่ด้อยคุณภาพ ชำรุดบกพร่องอันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปรกติ ไม่ตรงตามคำโฆษณา ทั้งเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัยในการใช้งาน คือ ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องยนต์สั่น เร่งความเร็วไม่ขึ้น กระบอกสูบและหัวฉีดทำงานไม่ดี โดยเชื่อมโยงกับระบบไฟฟ้า ระบบเกียร์เทอร์โบ กล่องวงจรควบคุมคอนเวอร์เตอร์ ปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปปนกับน้ำมันเครื่องน้ำมันเครื่องเกินจุดปรกติ
ปัญหาเสียงดังจากอุปกรณ์ต่าง ( กับเสียงดังจากช่วงล่าง โช้กอัพ และห้ามล้อ โจทก์ทั้ง 9 นำรถยนต์เข้าแก้ไขที่ศูนย์บริการหลายครั้ง เสียเงินค่าซ่อมแต่แก้ไขไม่ได้ เพราะรถยนต์มีปัญหาที่ซอฟต์แวร์ด้วย ทำให้โจทก์ทั้ง 9 ต้องขาดประโยชน์จากการใช้งาน
โจทก์ทั้ง 9 ขอให้จำเลยทั้ง 3 รับสินค้าคืนและคืนเงินค่าสินค้าทั้งหมดแก่โจทก์ทั้ง 9 แต่จำเลยทั้ง 3 เพิกเฉย โจทก์ทั้ง 9 อยู่ในกลุ่มบุคคลที่ใช้สินค้าดังกล่าว จำเลยทั้ง 3 เป็นผู้ประกอบธุรกิจและผู้ประกอบการ
โดยจำเลยที่ 1 ขายสินค้า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผลิตและประกอบสินค้า จึงต้อง ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ทั้ง 9 และสมาชิกกลุ่ม
คิดค่าขาดประโยชน์วันละ 1,800 บาท พร้อมค่าเสียหายต่อจิตใจ
โจทก็ทั้ง 9 ได้รับความเสียหายเป็นราคาที่ชำระค่าเช่าซื้อที่เสียไป ค่าซ่อม และขอคิดค่าขาดประโยชน์วันละ 1,800 บาท แบ่งเป็น
- โจทก์ที่ 1 เป็นเงินดาวน์ 171,250 บาท ค่าเช่าซื้อ 593,928 บาท ค่าขาดประโยชน์ 12,600 บาท
- โจทก์ที่ 2 เป็นเงินดาวน์ 165,600 บาท ค่าเช่าซื้อ 695,952 บาท ค่าซ่อม 53,403.98 บาท ค่าขาดประโยชน์ 36,000 บาท
- โจทก์ที่ 3 เป็นเงินดาวน์ 167,288 บาท ค่าเช่าซื้อ 766,584 บาท ค่าขาดประโยชน์ 50,400 บาท
- โจทก์ที่ 4 เป็นเงินดาวน์ 223,700 บาท ค่าเช่าซื้อ 628,500 บาท ค่าช่อม 1,800 บาท ค่าขาดประโยชน์ 25,200 บาท
- โจทก์ที่ 5 เป็นเงินดาวน์ 183,750 บาท ค่าเช่าซื้อ 578,160 บาท ค่าขาดประโยชน์ 14,400 บาท
- โจทก์ที่ 6 เป็นเงินดาวน์ 157,800 บาท ค่าเช่าซื้อ 764,648 บาท ค่าขาดประโยชน์ 82,800 บาท
- โจทก์ที่ 7 เป็นราคา 748,379 บาท ค่าขาดประโยชน์ 7,200 บาท
- โจทก์ที่ 8 เป็นเงินดาวน์ 620,500 บาท ค่าเช่าซื้อ 533,340 บาท ค่าซ่อม 3,200 บาท ค่าขาดประโยชน์ 21,600 บาท
- โจทก์ที่ 9 เป็นเงินดาวน์ 158,000 บาท ค่าเช่าซื้อ 708,856 บาท ค่าซ่อม 2,700 บาท ค่าขาดประโยชน์ 36,000 บาท
และได้รับความเสียหายต่อจิตใจจึงขอคิดค่าเสียหายในส่วนนี้คนละ 50,000 บาท ต่อปี
ให้คำพิพากษามีผลผูกพันสมาชิกกลุ่ม
จำเลยทั้ง 3 กระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม หรือจงใจให้ผู้บริโภคเกิดความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค หรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงขอให้ศาลสั่งให้จำเลยทั้ง 3 จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง
ให้จำเลยทั้งสามจัดการประกาศและรับสินค้า ซึ่งอาจเป็นอันตรายคืนจากผู้บริโภคเพื่อทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนให้ใหม่ภายในเวลาที่กำหนด โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้ง3 เอง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ไม่อาจแก้ไขหรือดำเนินการตามที่กล่าวข้างต้นได้ ก็ให้ใช้ราคา ห้ามจำเลยทั้ง 2 จำหน่ายสินค้าที่เหลืออยู่ และให้เรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคกลับคืนจนกว่าจะได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสินค้าดังกล่าวให้มีความปลอดภัย
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้ง 3 ผลิตหรือนำเข้าสินค้านั้นและทำลายสินค้าที่เหลือนั้นด้วย กับขอให้คำพิพากษาของศาลมีผลเป็นการผูกพันสมาชิก
กลุ่ม โดยใช้หลักการและวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับโจทก์ทั้ง 9 เพื่อชำระเงินให้สมาชิกกลุ่มศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม
เปิดคำให้การ 3 จำเลย : ผู้จำหน่าย ผลิต ประกอบรถยนต์
จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์ทั้ง 9 ไม่ใช่ผู้เสียหายตามพระราชบัญญัติความรับผิด
ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เพราะไม่ปรากฏว่ามีความเสียหาย
ต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สินเกิดขึ้น
จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์ทั้ง 9 เพราะไม่ใช่ผู้ขายหรือผู้ให้เช่าซื้อ แต่คู่สัญญากับโจทก์ทั้ง 9 คือบริษัทผู้ขายหรือบริษัทผู้ให้สินเชื่อ ซึ่งไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 เพียงแต่จำเลยที่ 1 ให้การรับประกันสินค้าแบบจำกัดรถยนต์ยี่ห้อมาสด้า รุ่นมาสด้า 2 สกายแอคทีฟ เครื่องยนต์ดีเซล ไม่ใช่สินค้าที่ไม่ปลอดภัยหรือสินค้าที่ชำรุดบกพร่องจากการผลิตและออกแบบ เพราะผ่านการทดสอบ ผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม
ส่วนรถยนต์ของโจทก์ทั้ง 9 ผ่านการใช้งานมาแล้วจึงเป็นธรรมดาที่เกิดการชำรุดสึกหรอ ซึ่งจำเลยที่ 1 แก้ไขให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจนใช้งานได้ตามปรกติ ตรวจสอบรถยนต์ของโจทก์ทั้ง 9 แล้วพบว่า
บางรายการไม่มีอาการตามฟ้อง ทั้งอาการของสินค้าตามฟ้องไม่ใช่ความชำรุดบกพร่อง แต่อาจเกิดจากการเสื่อมสภาพ ดัดแปลงสภาพรถยนต์ ดัดแปลงเครื่องยนต์ หรือไม่ได้บำรุงรักษา รถยนต์รุ่นที่ขายในประเทศไทยแตกต่างจากที่ขายในต่างประเทศ และที่ขายในต่างประเทศก็ไม่เคยถูกเรียกคืนเพื่อเปลี่ยนสินค้า ทั้งการเรียกคืนมีหลายอย่าง เช่น เพื่อตรวจสอบหรือปรับปรุงประสิทธิภาพ
โจทก์ทั้ง 9 ไม่อาจเรียกเอาค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม หรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่อ
อย่างร้ายแรง ไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค หรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน
ไม่ได้ผลิต นำเข้า หรือขายสินค้าโดยรู้อยู่แล้วว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือมิได้รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเมื่อรู้ว่าสินค้าไม่ปลอดภัยภายหลังจากการผลิต นำเข้า หรือขายสินค้านั้น แล้วไม่ดำเนินการใด ๆ ตามสมควรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจึงไม่จำต้องประกาศและรับสินค้าคืนหรือใช้ราคาแก่โจทก์ทั้ง 9 และสมาชิกกลุ่ม หรือต้องห้ามจำหน่ายสินค้าที่เหลืออยู่และเรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่ายกลับคืนจนกว่าจะได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้มีความปลอดภัย หรือต้องห้าม ผลิต นำเข้าสินค้า หรือทำลายสินค้าที่เหลือ
โจทก์ทั้ง 9 และสมาชิกไม่อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายต่อจิตใจได้ เพราะความเสียหายต่อจิตใจต้องเนื่องมาจากมีความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพ อนามัยเท่านั้น โจทก์ทั้ง 9 และสมาชิกกลุ่มไม่อาจเรียกเอาค่าบริการ ค่าอะไหล่ที่เสียไป หรือค่าขาดประโยชน์ เพราะเข้าข้อยกเว้นการรับประกันของจำเลยที่ 1 โจทก์บางคนได้รับรถยนต์ไปใช้ในระหว่างช่อม โจทก์ทั้ง9 ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง จึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
คำให้การจำเลยที่ 2 ผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้ง 9 และสมาชิกกลุ่ม จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ยี่ห้อมาสด้า รุ่นมาสด้า 6 สกายแอคทีฟ เครื่องยนต์ดีเซล แต่ผลิตเป็นบางคันเพราะมีโรงงานอื่นร่วมผลิตด้วย จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 หรือจำเลยที่ 3 ไม่ใช่ผู้รับประกันสินค้า ไม่ใช่ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และไม่ใช่ผู้ประกอบการตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เพราะไม่ได้เป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ขายสินค้า รถยนต์รุ่นดังกล่าวไม่ใช่สินค้าที่ไม่ปลอดภัยหรือสินค้าที่ชำรุดบกพร่องจากการผลิตและออกแบบ เพราะผ่านการทดสอบ ผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม
รถยนต์ของโจทก์ทั้ง 9 ผ่านการใช้งานมาแล้ว จึงเป็นธรรมดาที่เกิดการชำรุดสึกหรอ ซึ่งจำเลยที่ 1 แก้ไขให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจนใช้งานได้ตามปรกติ และบางกรณีเกิดจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง เช่น ใช้ยางรถยนต์ที่เสื่อมสภาพทำให้รถยนต์สั่น หรือโจทก์บางคนดัดแปลงสภาพรถยนต์ ไม่ได้บำรุงรักษาตามระยะทางหรือเวลาที่กำหนดไว้ในสมุดคู่มือ ทั้งรถยนต์รุ่นที่ขายในประเทศไทยแตกต่างจากที่ขายในต่างประเทศ และที่ขายใน
ต่างประเทศก็ไม่เคยถูกเรียกคืนเพื่อเปลี่ยนสินค้า ทั้งการเรียกคืนมีหลายอย่าง เช่น เพื่อตรวจสอบหรือปรับปรุงประสิทธิภาพ
โจทก์ทั้ง 9 ไม่อาจเรียกเอาค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ เพราะจำเลยที่ 2 มิได้กระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม หรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค หรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ไม่ได้ผลิต นำเข้า หรือขายสินค้าโดยรู้อยู่แล้วว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือมิได้รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเมื่อรู้ว่าสินค้าไม่ปลอดภัยภายหลังจากการผลิต นำเข้า หรือขายสินค้านั้นแล้วไม่ดำเนินการใด ๆ ตามสมควรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย
จึงไม่จำต้องประกาศและรับสินค้าคืนหรือใช้ราคาแก่โจทก์ทั้ง 9 และสมาชิกกลุ่ม หรือต้องห้ามจำหน่ายสินค้าที่เหลืออยู่และเรียกเก็บสินค้าที่ยังไมได้จำหน่ายกลับคืนจนกว่าจะได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้มีความปลอดภัย หรือต้องห้ามผลิต นำเข้าสินค้า หรือทำลายสินค้าที่เหลือ
โจทก์ทั้ง 9 และสมาชิกไม่อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายต่อจิตใจได้ เพราะความเสียหายต่อจิตใจ ต้องเนื่องมาจากมีความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพ อนามัยเท่านั้น โจทก์ทั้ง 9 และสมาซิกกลุ่มไม่อาจเรียกเอาค่าบริการ ค่าอะไหล่ที่เสียไป หรือค่าขาดประโยชน์ เพราะเข้าข้อยกเว้นการรับประกันของจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งเก้าฟ้องคดีเมื่อพันเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง จึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
คำให้การ จำเลยที่ 3 ผู้ประกอบรถยนต์
จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 3 ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้ง 9 และสมาชิกกลุ่ม จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประกอบรถยนต์ยี่ห้อมาสด้า รุ่นมาสด้า 2 สกายแอคทีฟ เครื่องยนต์ดีเซล จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 ไม่ใช่ผู้รับประกันสินค้า ไม่ใช่ผู้ประกอบธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และไม่ใช่ผู้ประกอบการตาม พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เพราะ ไม่ได้เป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ขายสินค้า รถยนต์รุ่นดังกล่าวไม่ใช่สินค้าที่ไม่ปลอดภัยหรือสินค้า ที่ชำรุดบกพร่องจากการผลิตและออกแบบ เพราะผ่านการทดสอบ ผ่านมาตรฐานอุตสาทกรรม
จำเลยที่ 1 แก้ไขให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจนใช้งานได้ตามปรกติ และบางกรณีเกิดจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง เช่น ใช้ยางรถยนต์ที่เสื่อมสภาพทำให้รถยนต์สั่น หรือโจทก์บางคนดัดแปลงสภาพรถยนต์
ไม่ได้บำรุงรักษาตามระยะทางหรือเวลาที่กำหนดไว้ในสมุดคู่มือ ทั้งรถยนต์รุ่นที่ขายในประเทศไทยแตกต่างจากที่ขายในต่างประเทศ และที่ขายในต่างประเทศก็ไม่เคยถูกเรียกคืนเพื่อเปลี่ยนสินค้า
ทั้งการเรียกคืนมีหลายอย่าง เช่น เพื่อตรวจสอบหรือปรับปรุงประสิทธิภาพ
โจทก์ทั้ง 9 ไม่อาจเรียกเอาค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ เพราะเลยที่ 3 มิได้กระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม หรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค หรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ไม่ได้ผลิต นำเข้า หรือขายสินค้าโดยรู้
อยู่แล้วว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือมิได้รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือเมื่อรู้ว่าสินค้าไม่ปลอดภัยภายหลังจากการผลิต นำเข้า หรือขายสินด้านั้นแล้วไม่ดำเนินการใด ๆ
ตามสมควรเพื่อข้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย จึงไม่จำต้องประกาศและรับสินค้าคืนหรือใช้ราคาแก่โจทก์ทั้ง 9 และสมาชิกกลุ่ม
หรือต้องห้ามจำหน่ายสินค้าที่เหลืออยู่และเรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่ายกลับคืนจนกว่าจะได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้มีความปลอดภัย หรือต้องห้ามผลิต นำเข้าสินค้าหรือทำลายสินค้าที่เหลือ โจทก์ทั้งเก้าและสมาชิกไม่อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายต่อจิตใจได้ เพราะความเสียหายต่อจิตใจต้องเนื่องมาจากมีความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพ อนามัยเท่านั้น
โจทก์ทั้ง 9 และสมาชิกกลุ่มไม่อาจเรียกเอาค่าขาดประโยชน์ได้ เพราะเข้าข้อยกเว้นการรับประกันของจำเลยที่ 1 ทั้งโจทก์ทั้ง 9 และสมาชิกกลุ่มหลายคนยังได้รับรถยนต์ไปใช้ในระหว่างซ่อม โจทก์ทั้ง 9 ฟ้องคดีเมื่อพันเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องจึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
เจาะข้อมูลนำสืบ รถยนต์รุ่นพิพาท
จำเลยทั้ง 3 นำสืบว่า รถยนต์รุ่นพิพาทแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง ช่วงแรก คือ รถยนต์ที่จำหน่ายในปี 2557 ถึงปี 2561 และช่วงที่สอง คือ รถยนต์ที่เปลี่ยนรูปร่างภายนอกและภายใน ซึ่งจำหน่ายในปี 2562 จนถึงปัจจุบัน รถยนต์ของโจทก์ทั้ง 9 เป็นรถยนต์ที่จำหน่ายในช่วงแรก
รถยนต์รุ่นพิพาทไม่ใช่สินค้าที่ชำรุดบกพร่องและไม่ไช่สินค้าที่ไม่ปลอดภัย แต่เป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลซึ่งมีกำลังอัดสูง ทำให้เครื่องยนต์สั่นมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน ทั้งเครื่องยนต์ดีเชล
ใช้วิธีฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปที่กระบอกสูบเพื่อจุดระเบิด น้ำมันเชื้อเพลิงไม่ได้รวมกับอากาศมาก่อนทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์เหมือนเครื่องยนต์เบนชินและทำให้เกิดเขม่า
รถยนต์จึงมีอุปกรณ์เพื่อลดมลพิษจากไอเสีย คือ ระบบหมุนเวียนอเสีย (อีจีอาร์) กับระบบกรองและกำจัดเขม่า (ดีพีเอฟ) แต่ระบบหมุนเวียนไอเสีย (อีจีอาร์) ไม่ทำให้รถยนต์สั่นหรือเร่งไม่ขึ้นแต่อย่างใด เพราะไม่ได้ทำให้เกิด เขม่าเพิ่มขึ้น และการกำจัดเขม่ามิได้เกิดในเครื่องยนต์ แต่เขม่าที่เกิดขึ้นตามปรกติอาจทำให้เครื่องยนต์สั่นได้ และหากมีการดัดแปลงเครื่องยนต์ เช่น ติดกล่องดันราง ตั้งโปรแกรมการทำงานของเครื่องยนต์ขึ้นใหม่ (รีแมฟ) เพื่อเพิ่มปริมาณการฉีดน้ำมัน
การตัดระบบหมุนเวียนไอเสีย (อีจีอาร์) ออกไปทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เกิดเขม่ามากขึ้น เพราะอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ไม่เป็นไปตามค่าที่กำหนด อาจทำให้รถยนต์สั่นและเร่งเครื่องยนต์ไม่ขึ้นได้ เขม่าอาจไปสะสมที่ระบบกรองและกำจัดเขม่า (ดีพีเอฟ) มากกว่าปรกติ รถยนต์รุ่นพิพาทมีการกำจัดเขม่าแบบอัตโนมัติ ซึ่งทำงานเมื่อขับขี่รถยนต์ด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป จะไม่ทำงานเมื่อดับเครื่องยนต์ การทำงานใช้วิธีการให้หัวฉีดฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเข้าไปเพื่อเผาไหม้แล้วส่งไอเสียไปที่ระบบกรองและกำจัดเขม่า
(ดีพีเอฟ)
ทั้งนี้การกำจัดเขม่าจะเกิดขึ้นบ่อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการใช้งานรถยนต์ด้วย เช่น การจราจรที่ติดขัดเป็นเวลานานทำให้เกิดเขม่าสะสมได้มาก ทั้งในขณะที่รถยนต์กำลังกำจัดเขม่าอยู่นั้น ผู้ใช้รถยนต์สามารถขับได้ตามปรกติ รวมถึงเร่งความเร็วได้ตามปรกติ รถยนต์รุ่นพิพาทมีสมุดคู่มือการใช้ให้แก่ลูกค้า ซึ่งมีคำแนะนำเกี่ยวกับชนิดของน้ำมันเครื่องที่ใช้ด้วย เพราะหากใช้น้ำมันเครื่องชนิดอื่นจะทำให้อายุการใช้งานของระบบกรองและกำจัดเขม่า (ดีพีเอฟ) สั้นลงหรือเสียหายได้
เมื่อรถยนต์รุ่นพิพาทถูกจำหน่ายไปแล้วระยะหนึ่ง ผู้ผลิตได้พัฒนาซอฟต์แวร์กล่องควบคุมเครื่องยนต์ขึ้น จึงต้องจัดการซอฟต์แวร์นี้ใหม่ เรียกว่า อัพเดทซอฟต์แวร์หรือรีโปรแกรม อันเป็นการบำรุงรักษารถยนต์ตามปรกติ แม้ว่ารถยนต์จะไม่มีอาการสั่นหรือเร่งความเร็วไม่ขึ้นก็ตาม การรีโปรแกรมจึงไม่ใช่การแก้ไขความชำรุดบกพร่อง
ศาลสั่งจำเลยที่ 1 ชำระเงิน พร้อมประกาศรับรถแก้ไขภายใน 2 ปี
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ทั้ง 9 และจำเลยทั้ง 3 แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์ทั้ง 9 เป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์ยี่ห้อมาสด้า รุ่นมาสด้า 2 สกายแอคทีฟ เครื่องยนต์ดีเซล โจทก์ทั้ง 9 นำรถยนต์เข้าศูนย์บริการหลายครั้งอ้างว่ามีปัญหาเครื่องยนต์สั่น เร่งความเร็วไม่ขึ้น กับมีปัญหาน้ำมันเครื่องเกินหรือพร่องไปจากปรกติ
พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1-9 กับให้จำเลยที่ 1 จัดการประกาศและรับรถยนต์ยี่ห้อมาสด้า รุ่นมาสด้า 2 สกายแอคที่ฟ เครื่องยนต์ดีเซล ที่ผลิตระหว่างปี 2557 ถึงปี 2561 (ก่อนเปลี่ยน
รูปร่างภายนอกและภายใน เพื่อทำการแก้ไขภายในสองปีนับแต่วันพิพากษา โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 1 เอง ห้ามจำเลยที่ 1 จำหน่ายรถยนต์รุ่นดังกล่าวที่ผลิตในช่วงปี 2557 ถึงปี 2561(ก่อนเปลี่ยนรูปร่างภายนอกและภายใน) ที่เหลืออยู่ และให้เรียกเก็บรถยนต์รุ่นดังกถ่าวที่ผลิตในช่วงเวลาดังกล่าวที่ยังไม่ได้จำหน่ายแก่ผู้บริโภค หากมีกลับคืนจนกว่าจะได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสินค้าดังกล่าวให้มีความปลอดภัย
กับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาลในนามของโจทก์ทั้ง 9 เฉพาะในทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ทั้ง 9 ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความ 100,000 บาท และให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินรางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์ทั้ง9 เป็นจำนวนเงิน 150,000 บาท รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ตามบัญชีค่าใช้จ่ายที่ทนายความโจทก์ทั้ง 9 ยื่นต่อศาลฉบับลงวันที่ 22 มีนาคม 2566 เป็นเงิน 294,744 บาท ให้แก่ทนายความฝ่ายโจทก์ทั้ง 9 ยกฟ้องโจทก์ทั้ง 9
สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีระหว่างโจทก์ทั้ง 9 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก