กรมอุตุฯประกาศเตือน พายุโคอินุ ฉบับที่ 9 หลาย จว.ยังมีฝนตก 60-80%

พื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนัก-9 ตุลาคม

กรมอุตุฯออกประกาศเตือน ฉบับที่ 9 พายุ “โคอินุ” คาดเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ 10-11 ต.ค.นี้ เตือนผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทาง ส่วนพายุโซนร้อน “บอละเวน” ยังอยู่ห่างจากไทยมาก ขณะที่ 24 ชั่วโมงข้างหน้าหลายจังหวัดยังมีฝนตกหนัก 60-80% ของพื้นที่

วันที่ 9 ตุลาคม 2566  นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โคอินุ” ฉบับที่ 9 (270/2566) ว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (9 ต.ค. 66) พายุโซนร้อน “โคอินุ” บริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 21.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 112.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

พายุนี้เคลื่อนที่ทางตะวันตกค่อนทางใต้เล็กน้อยด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าในช่วงวันที่ 10-11 ต.ค. 66 จะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศเตือน ฉบับที่ 9 พายุโคอินุ

กรมอุตุนิยมวิทยายังอัพเดตสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้ตอนบน : พายไต้ฝุ่น “โคอินุ (KOINU)” ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกตามแนวชายฝั่งตอนใต้ของประเทศจีนในวันที่ 9-10 ต.ค. 66 แต่เมื่อปะทะกับมวลอากาศเย็นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ พายุนี้จะไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย แต่ฝนที่เกิดขึ้นมาจากร่องมรสุมและหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมในขณะนี้

และ ในมหาสมุทรแปซิฟิกมี พายุโซนร้อน “บอละเวน (BOLAVEN)” ก่อตัวคาดว่าจะแรงขึ้นอีก แต่อยู่ห่างจากประเทศไทยมาก จึงไม่มีผลกระทบ ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำทางด้านตะวันออกของฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะเคล่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ ในช่วงวันที่ 13 -16 ต.ค. 66 แต่ก่อตัวในช่วงที่มีมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว จึงไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย แต่ยังต้องติดตามเป็นระ

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

พาย "โคอินุ (KOINU) และพายุโซนร้อน "บอละเวน (BOLAVEN)"
พายุ “โคอินุ (KOINU)” และพายุโซนร้อน “บอละเวน (BOLAVEN)”

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 18.00 น. วันนี้ ถึง 18.00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร
อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น
มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา และบุรีรัมย์
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี
พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และสมุทรสาคร
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพฯและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

พื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนัก 24 ชั่วโมงข้างหน้า 9-10 ตุลาคม 2566