3 อันดันผลตอบแทนกองทุนยั่งยืนในไทยสูงสุดปี’65

ESG ความยั่งยืน CSR

กองทุนยั่งยืน (ESG) ปี 2565 หลายกลุ่มถูกกดดันจากการปรับดอกเบี้ยขึ้นส่งผลให้กองทุนทำผลงานได้ไม่ดีนัก แต่การลงทุน ESG ในประเทศไทยได้ผลตอบแทนดีกว่าในต่างประเทศที่ส่วนใหญ่ผลตอบแทนติดลบในปีนีที่ผ่านมา

วันที่ 4 มกราคม 2566 นางสาวชญานี จึงมานนท์  นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย)  กล่าวว่า ในปี 2565 ราคาหุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวกับ ESG หรือ Sustainable-investing ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับหุ้นอื่น ๆ ทั่วไป แต่ในระยะยาวเชื่อว่าหุ้นในกลุ่มนี้จะยังคงแข่งขันได้กับภาพตลาดหุ้นโดยรวม

โดยการลงทุนกองทุนหุ้นที่ใช้ปัจจัย ESG มีหลายรูปแบบ บางกองทุนอาจมีลักษณะการกระจุกตัวของการลงทุนทำให้มีความเสี่ยงที่มากกว่ากองทุนที่ลงทุนแบบกระจายหลายกลุ่มอุตสาหกรรม หรืออาจมีลักษณะของการลงทุนหุ้นเติบโตจึงได้รับผลกระทบจากการปรับดอกเบี้ยขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจในปีหน้ามีส่วนกดดันในกลุ่มนี้ได้เช่นเดียวกับการลงทุนโดยทั่วไป  แต่โดยรวมการลงทุน ESG ในประเทศไทยได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนต่างประเทศที่ส่วนใหญ่มีผลตอบแทนติดลบในปีนี้

โดยกองทุนยั่งยืนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 6.6 หมื่นล้านบาท มีเงินไหลออกสุทธิสะสม 11 เดือนรวม 425 ล้านบาท ข้อมูล ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2565

สำหรับกองทุนยั่งยืนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดตั้งแต่ต้นปี (YTD) 3 อันดับแรกมีดังนี้

ทั้งนี้ การลงทุนอย่างยั่งยืนเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากขึ้นโดยเฉพาะในต่างประเทศ เนื่องจากการนำปัจจัยด้าน ESG ถือเป็นส่วนช่วยลดความเสี่ยงได้อีกรูปแบบหนึ่ง  รวมทั้งผู้ลงทุนเริ่มหันมาให้ความสนใจต่อประเด็นความยั่งยืนมากขึ้นเช่น ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ถือเป็นด้านที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ภาคเอกชนมีการปรับตัว เปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของธุรกิจ จึงทำให้การลงทุนอย่างยั่งยืนจะยังมีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวได้