กพท.ออกประกาศมาตรการเฝ้าระวังโควิด-19 สำหรับผู้ดำเนินการเดินอากาศผู้ปฎิบัติ

ตามที่ปัจจุบันปรากฏว่าการแพร่กระจายของผู้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ได้ครอบคลุมเขตพื้นที่ในประเทศต่าง ๆ มากขึ้น และส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปฏิบัติการของผู้ดำเนินการเดินอากาศ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในอากาศยานและผู้ดำเนินการสนามบิน รวมทั้งได้มีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 รุนแรงมากยิ่งขึ้น นั้น

เพื่อให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในอากาศยานและผู้ดำเนินงานสนามบิน มีแนวทางในการปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมายไทยและมาตรฐานสากล ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization) และเพื่อยกระดับการดำเนินมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรค ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินข้างต้นให้ยุติลงโดยเร็ว สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จึงออกประกาศมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 สำหรับผู้ดำเนินการเดินอากาศ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในอากาศยานและผู้ดำเนินการสนามบิน ดังต่อไปนี้

1. มาตรการตามประกาศนี้ให้ใช้บังคับแก่การทำการบินทั้งเที่ยวบินระหว่างประเทศและภายในประเทศ

2. ผู้โดยสารหรือบุคคลจะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางท่าอากาศยานระหว่างประเทศ เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ เท่านั้น

(1) เป็นกรณีหรือบุคคลที่ได้รับยกเว้นจากนายกรัฐมนตรี หรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศตามความจำเป็น โดยอาจกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาก็ได้

(2) เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามความจำเป็น ซึ่งเมื่อเสร็จภารกิจแล้วต้องกลับออกไปโดยเร็ว

(3) ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในอากาศยาน (Crew members) อันได้แก่ นักบินและลูกเรือ ซึ่งจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาตามภารกิจและมีกำหนดเวลาเดินทางออกอย่างชัดเจน

(4) เป็นบุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลที่มาปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือเป็นบุคคลหรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุญาต ตลอดจนบุคคลในครอบครัวของบุคคลดังกล่าว โดยติดต่อกระทรวงการต่างประเทศเพื่อออกหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (Certificate of Entry to the Kingdom)

(5) เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หรือได้รับอนุญาตจากทางราชการไทยให้ทางานในราชอาณาจักร (Smart Visa)

(6) เป็นผู้มีสัญชาติไทยที่มีหนังสือรับรองจากสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่พำนัก ให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักร

บุคคลตาม (4) (5) และ (6) จะต้องมีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่ามีสุขภาพเหมาะสมต่อการเดินทางทางอากาศ (Fit to Fly Health Certificate) ซึ่งได้รับการตรวจรับรองหรือออกให้มีระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง

3. ผู้โดยสารหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศไทยต้องปฏิบัติตามมาตรการการกักตัวหรือมาตรการป้องกันโรคอย่างอื่นที่ทางราชการกำหนด

4. เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจปฏิเสธไม่ให้ผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ตรวจพบและต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือไม่ยินยอมให้ตรวจ เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองได้

5. ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศประเมินระดับความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของแต่ละเที่ยวบินตามเกณฑ์ ดังนี้

เมื่อรวมคะแนนทั้ง 3 ปัจจัยแล้ว นำมาจัดระดับความเสี่ยง ดังนี้

เที่ยวบินความเสี่ยงต่ำ (Low risk) คะแนน 3 – 4 คะแนน

เที่ยวบินความเสี่ยงปานกลาง(Medium risk) คะแนน 5 – 7 คะแนน

เที่ยวบินความเสี่ยงสูง (High risk)คะแนน 8 – 11 คะแนน

เที่ยวบินซึ่งปฏิบัติการบินโดยใช้อากาศยานที่ไม่มีระบบกรองอากาศแบบ High-Efficiency Particulate Air (HEPA) filtering system ให้จัดเป็นเที่ยวบินความเสี่ยงสูง (Highrisk)

ระดับความเสี่ยงของเที่ยวบินใด ๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น กรณีเหตุฉุกเฉินหรือกรณีเที่ยวบินพิเศษ

6. ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศที่ให้บริการจากสถานีต้นทางในต่างประเทศซึ่งจะทำการบินเข้ามาในราชอาณาจักรทำการตรวจคัดกรองเบื้องต้นโดยการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature Screening) ของผู้โดยสาร ตามแนวทางดังต่อไปนี้

(1) เที่ยวบินความเสี่ยงต่ำ (Low Risk Flights) ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดที่ไม่ต้องสัมผัสกับร่างกายของผู้ถูกตรวจวัด (Non-contact infrared thermometer) ก่อนขึ้นเครื่อง และสังเกตอาการโดยทั่วไป หากวัดอุณหภูมิได้สูงกว่า 37.3 องศาเซลเซียส หรือมีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทันที หากการวินิจฉัยเห็นว่ามีความเสี่ยง ให้งดการออกบัตรขึ้นเครื่อง (Boarding Pass) แก่ผู้โดยสารนั้น

(2) เที่ยวบินความเสี่ยงปานกลางและเที่ยวบินความเสี่ยงสูง (Medium and High Risk Flights) ให้ตรวจวัดและสังเกตอาการทั้งก่อนขึ้นเครื่องและระหว่างเที่ยวบิน

(1) ก่อนขึ้นเครื่อง (Pre-enplaning) ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดที่ไม่ต้องสัมผัสกับร่างกายของผู้ถูกตรวจวัด (Non-contact infrared thermometer) และสังเกตอาการโดยทั่วไป หากวัดอุณหภูมิได้สูงกว่า 37.3 องศาเซลเซียส หรือมีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทันที หากการวินิจฉัยเห็นว่ามีความเสี่ยงให้งดการออกบัตรขึ้นเครื่อง (Boarding Pass) แก่ผู้โดยสารนั้น

(2) ระหว่างเที่ยวบิน (In-flight) สำหรับเที่ยวบินความเสี่ยงสูงและเป็นเที่ยวบินระยะทางไกลใช้เวลาในการบินเกินกว่า 4 ชั่วโมง (high-risk long-haul (> 4 h) flights) ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดที่ไม่ต้องสัมผัสกับร่างกายของผู้ถูกตรวจวัด (Non-contact infrared thermometer) และสังเกตอาการโดยทั่วไป หากวัดอุณหภูมิได้สูงกว่า 37.3 องศาเซลเซียส หรือมีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้ปฏิบัติตาม 9.

ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศที่ให้บริการจากสถานีต้นทางในประเทศไทยซึ่งจะทำการบินออกไปนอกราชอาณาจักรพิจารณาดำเนินการตามวรรคหนึ่งตามความเหมาะสมและจำเป็นของสถานการณ์ และให้ติดตามมาตรการป้องกันโรคติดต่อของหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศหรือเขตปกครองพิเศษที่เป็นสถานีปลายทางด้วย

7. การป้องกันการติดเชื้อสาหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ในอากาศยาน (Infection Control Measures for Crew Members) ให้ดำเนินการตามแนวทางที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ประเมินได้ตาม 5. ของแต่ละเที่ยวบิน โดยใช้อุปกรณ์ช่วยป้องกัน (Personal Protective Equipment (PPE)) ดังนี้

(1) เที่ยวบินความเสี่ยงต่ำและเที่ยวบินความเสี่ยงปานกลาง (Low Risk and Medium Risk Flights) ให้สวมหน้ากากอนามัย(disposable medical masks or surgical masks)ในการปฏิบัติงาน

(2) เที่ยวบินความเสี่ยงสูง (High Risk Flights)

(1) นักบิน (Flight Crew) ให้สวมหน้ากากอนามัย (surgical masks) และแว่นตาป้องกัน (goggles) และเปลี่ยนชิ้นใหม่เมื่อจำเป็นหรือเห็นสมควร

(2) ลูกเรือ (Cabin Crew) ให้สวมหน้ากากชนิด N95 หรือ หน้ากากอนามัย (surgical masks), แว่นตาป้องกัน (goggles) และถุงมือยาง (disposable rubber gloves) และเปลี่ยนชิ้นใหม่เมื่อจำเป็นหรือเห็นสมควร

8.การแบ่งพื้นที่ในห้องโดยสาร (Cabin Area Division) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ให้แบ่งพื้นที่ในห้องโดยสารออกเป็นส่วนต่าง ๆ ตามประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกัน ควรพิจารณาติดตั้งม่านกั้น (disposable curtain) สาหรับแสดงการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ นั้น และมีป้ายบอกพื้นที่อย่างชัดเจน ดังนี้

(1) เขตปลอดเชื้อ (Clean Area) ให้กันพื้นที่ของห้องโดยสารส่วนหน้าสุดส่วนหนึ่งไว้ใช้สำหรับเป็นที่นั่งของลูกเรือโดยเฉพาะ ห้ามมิให้ผู้ที่ใส่ชุดป้องกันเชื้อ (protective clothing) เข้ามาในพื้นที่ส่วนนี้ และให้จัดทางเข้าออกประตูขึ้นเครื่อง (boarding gate) ที่ติดกับพื้นที่ส่วนนี้ไว้ให้สำหรับลูกเรือใช้เท่านั้น

(2) เขตกันชน (Buffer Zone) เป็นพื้นที่ส่วนที่ถัดมาจากเขตปลอดเชื้อ (Clean Area) จัดไว้ให้สำหรับลูกเรือใช้ในการสวมใส่และถอดชุดป้องกันเชื้อ (protective clothing)

(3) พื้นที่สำหรับผู้โดยสารทั่วไป (Passenger Sitting Area) เป็นพื้นที่ส่วนที่ถัดมาจากเขตกันชน (Buffer Zone) จัดไว้ให้สำหรับผู้โดยสารทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ ให้พิจารณาจัดที่นั่งโดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรระหว่างผู้โดยสารแต่ละคน

(4) พื้นที่สำหรับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิด (Area for Close Contacts) เป็นพื้นที่ส่วนที่ถัดมาจากพื้นที่สำหรับผู้โดยสารทั่วไป (Passenger Sitting Area) จัดไว้ให้สำหรับผู้โดยสารที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้พิจารณาจัดที่นั่งโดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรระหว่างผู้โดยสารแต่ละคน และเว้นระยะห่างจากผู้โดยสารในพื้นที่อื่นอย่างน้อย 2 แถวที่นั่งว่าง

(5) พื้นที่กักกันโรค (Quarantine Area)เป็นที่นั่ง ๓ แถวหลังสุด จัดแยกไว้ต่างหากสำหรับแยกกักผู้โดยสารที่ป่วยหรือสงสัยว่าจะป่วยเพื่อเฝ้าสังเกตอาการและป้องกันการแพร่กระจายของโรค

(6) ห้องน้ำ (Lavatories) ให้กันห้องน้ำด้านหน้าสุดไว้ให้สำหรับลูกเรือใช้เท่านั้น และให้ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหลังการใช้งานแต่ละครั้ง

9. ในกรณีที่พบผู้โดยสารหรือลูกเรือที่มีอาการป่วยหรือสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ขณะอยู่บนอากาศยาน ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศดำเนินการ On-board Emergency Quarantine Measures ดังนี้

(1) ให้จัดที่นั่ง 3 แถวหลังสุดของห้องโดยสารไว้เป็นพื้นที่กักกันโรค (Quarantine Area) และหากเป็นไปได้ ให้จัดให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าจะป่วยนั่งที่ที่นั่งริมหน้าต่างด้านขวา ให้ห่างไกลจากผู้โดยสารคนอื่นมากที่สุด

(2) ให้กันห้องน้ำห้องหลังสุดด้านขวาไว้ใช้สำหรับกรณีการกักกันโรคโดยเฉพาะ

(3) ให้มอบหมายหน้าที่ให้ลูกเรือคนหนึ่งทำหน้าที่ในพื้นที่กักกันโรค (Quarantine Areas) โดยเฉพาะ และหากไม่จำเป็นให้ลูกเรือที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับลูกเรือคนอื่นในระยะ ใกล้กว่า 2 เมตร

(4) ให้นักบินผู้ควบคุมอากาศยานแจ้งข้อมูลการตรวจพบผู้โดยสารหรือลูกเรือที่มีอาการป่วยหรือสงสัยว่าจะป่วยดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศที่สถานีปลายทางทราบ เพื่อรายงานให้แก่ผู้ดำเนินการสนามบิน ณ ท่าอากาศยานปลายทาง พร้อมทั้งกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มดังต่อไปนี้ ส่งให้เจ้าหน้าที่ ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ ณ ท่าอากาศยานทุกแห่ง

(1) General Declaration (ตาม Appendix 1. to ICAO Annex 9)

(2) Public Health Passenger Locator Form (ตาม Appendix 13. to ICAO Annex 9)

(3) แบบ ต. 8 แนบท้ายกฎกระทรวง ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558

10. ถ้ามีความจำเป็นเมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่ได้รับรายงานตาม 9. (4) ให้ผู้ดำเนินการสนามบิน ณ ท่าอากาศยานปลายทางพิจารณาจัดลานจอดอากาศยานที่แยกออกมา (Isolated Aircraft Parking Position) เพื่อประโยชน์ในการกักกันโรคให้กับอากาศยาน

11. ทุกครั้งหลังจากเสร็จสิ้นปฏิบัติการบินขนส่งผู้โดยสาร (Passenger flight) ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศทำการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) อากาศยาน ตามที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศกำหนด ทั้งในส่วนห้องโดยสาร (Passenger Compartment) และระวางบรรทุกสินค้า (Cargo Compartment)

12. ผู้ดำเนินการสนามบินจะต้องทำการฆ่าเชื้อโรค (Airport Terminal Disinfection) ในบริเวณที่ผู้โดยสารป่วยหรือผู้โดยสารที่ต้องสงสัยว่าจะป่วย (Patient Under Investigati