ส่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน จุดเปลี่ยนโลก ยิ่งชาชิน ยิ่งเสี่ยงแปรผันถาวร

จุดเปลี่ยนโลก
The Russian military's Uragan multiple rocket launchers fire rockets at Ukrainian troops at an undisclosed location. (Russian Defense Ministry Press Service via AP, File)

รัสเซีย-ยูเครน สู้รบกันมานานเกือบครึ่งปี มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายหมื่นคนทั้งสองฝ่าย ไม่เพียงทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก นี่ยังเป็น จุดเปลี่ยนโลก ด้วย

วันที่ 2 สิงหาคม 2565 สำนักข่าว เอพี รายงานบทวิเคราะห์ผลกระทบจากสงคราม รัสเซีย-ยูเครน โดย จอห์น เลสเตอร์ นักข่าวของเอพีที่รายงานข่าวจากยุโรปมาตั้งแต่ปี 2002 (พ.ศ. 2545) และรายงานข่าวสงครามยูเครนตั้งแต่เริ่มต้น

เลสเตอร์มองว่าสงครามนี้เป็นจุดเปลี่ยนของโลก เหมือนเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น การทดสอบระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกที่มลรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา วันที่ 16 กรกฎาคม 1945 (พ.ศ. 2488) และนาทีที่ นีล อาร์มสตรอง เป็นมนุษย์คนแรกที่ประทับรอยเท้าบนดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 1969 (พ.ศ. 2511)

จุดเปลี่ยนโลก
FILE – ทหารรัสเซียประจำการหน้าโรงงานอาซอฟสตัล เมืองมาริอูปอล ทางใต้ของยูเครน  June 13, 2022. (AP Photo, File)

สำหรับสงครามรัสเซีย-ยูเครน เริ่มนับจากวันที่ 24 ก.พ. 2022 จากการประกาศของประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ให้กองทัพเริ่ม “ปฏิบัติการทางทหาร” ในภูมิภาคดอนบาส

การรุกรานของรัสเซีย การสังหารและการทำร้ายฝ่ายตรงข้ามอย่างทารุณในเมืองมาริอูปอล และเมืองบูชา ทำให้เมืองทั้งสองเข้าไปเพิ่มอยู่ในรายชื่อเมืองที่เคยเกิดเหตุร้ายแรงในสงคราม เช่น เดรสเดน (เยอรมนี) สเรเบรนิตซา (บอสเนีย) และออราดูร์-ซูร์-กลาน (ฝรั่งเศส)

July 2, 2022, a Russian Su-25 ground attack jet fires rockets on a mission in Ukraine.(Russian Defense Ministry Press Service via AP, File)

โลกก้าวหน้าแต่สงครามถอยหลัง

เสียงสัญญาณไซเรนที่ดังสนั่นทั่วเมืองต่าง ๆ ของยูเครน เป็นสิ่งที่คนในปารีส หรือเบอร์ลิน และชาวยุโรปรุ่นที่เติบโตขึ้นมาสัมผัสแต่สันติภาพ ไม่เคยได้ยินมาก่อน และต่างถูกกระตุกขวัญอย่างโหดร้ายต่ออุดมการณ์และความเปราะบางของยุโรป

การเกิดสงครามขึ้นใหม่ในยุโรป และความจำเป็นที่ต้องเลือกข้าง เพื่อปกป้องสิ่งที่ถูกต้องจากสิ่งที่ผิด ยังทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนทางภูมิรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

จุดเปลี่ยนโลก
Russian soldiers fire a 2S4 Tyulpan in Ukraine.(Russian Defense Ministry Press Service via AP, File)

สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยังเป็นกระจกสะท้อนถึงมนุษยชาติด้วยเช่นกัน ว่าการอยู่บนคมมีดที่โง่เขลา ทำให้ถอยหลังไปได้ ทั้งที่อุตส่าห์ก้าวหน้ามาแล้ว

โลกก้าวหน้ามาถึงขั้นที่เร่งเวลาผลิตวัคซีนต่อสู้กับโรคระบาดโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังบรรลุข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ แต่แล้วผู้ทรงอำนาจอย่างปูตินกลับสั่งเริ่มปฏิบัติการทางประวัติศาสตร์ บีบให้ยูเครน ชาติที่เป็นเอกราชและมีลักษณะเหมือนยุโรป หลุดเข้าไปในวงโคจรของรัสเซียในยุคสหภาพโซเวียต ช่วงที่ปูตินยังทำงานเป็นสายลับให้กับองค์กรน่ากลัวอย่างเคจีบี

ชาวยูเครนยกย่องวีรบุรุษที่สู้รบในมาริอูปอล. (AP Photo/David Goldman)

นาโต้คืนชีพ-จากภาวะสมองตาย

การแสดงจุดยืนร่วมกันของนาโต้ ที่ต่อต้านรัสเซียรุกรานยูเครน ทำให้พบเหตุผลของการก่อตั้งองค์การนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เพียงสามปีหลังจากโควิด-19 เขย่าขวัญโลก ตามด้วยสงครามยูเครน องค์การพันธมิตรทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในโลกเคยเกือบจะจมไปอย่างช้า ๆ อย่างชนิดซ่อมแซมไม่ได้

นายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เคยระบุว่า นาโต้อยู่ในสภาพเหมือน “สมองตาย” ส่วนนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐในตอนนั้น ไม่มีความอดทนกับเหล่าพันธมิตรที่เป็นรากฐานสำคัญของนโยบายความมั่นคงของสหรัฐ มานานกว่าครึ่งศตวรรษ

FILE – กองทัพสวีเดน (Joel Thungren/Swedish Armed Forces/TT via AP, File)

นายทรัมป์กล่าวอย่างเอือมระอาว่า สหรัฐต้องมาแบกรับภาระด้านกองทัพอย่างไม่เป็นธรรมมากเกินไป ในขณะที่สมาชิกนาโต้อื่น ๆ ให้งบฯกับองค์การน้อยนิดเกินไป

แต่มาถึงตอนนี้ ท่าทีรุกกร้าวของรัสเซียที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ฟินแลนด์และสวีเดนทบทวนเรื่องนโยบายความมั่นคงของตนเองใหม่ ประกอบกับเสียงสนับสนุนจากประชาชนในประเทศให้เข้าร่วมกับนาโต้ก็เพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้สองประเทศสมัครเข้าเป็นสมาชิกนาโต้อย่างเป็นทางการ แม้ว่าปูตินขู่อย่างดุดันแล้วก็ตาม

แซงก์ชั่นถูกด้อยค่า

ด้านฝั่งเอเชีย ที่อยู่ห่างไกลออกไปก็ได้รับผลกระทบนี้เช่นกัน เริ่มจากจีน กำลังพิจารณาแนวทางของรัสเซียเป็นบทเรียนทางทหารที่จะนำไปใช้ได้กับกรณีไต้หวัน

อินเดีย จีน และประเทศอื่น ๆ ในเอเชียที่ต้องการพลังงาน จึงด้อยค่ามาตรการแซงก์ชั่นรัสเซียของตะวันตกด้วยการซื้อน้ำมันรัสเซียในปริมาณที่เพิ่มขึ้น

สงครามในยูเครนส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงไปทั่วโลก ทั้งราคาอาหาร พลังงาน และทุกอย่างที่พุ่งสูงขึ้น ผลกระทบจากราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้น ทำให้เงินเฟ้อพุ่งเป็นประวัติการณ์และเศรษฐกิจถดถอย เป็นภาวะ “Stagflation” ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อทศวรรษ 1970

เรือขนส่งน้ำมันของจีนออกจากท่าเรือรัสเซีย. REUTERS/Tatiana Meel

แล้วจะอย่างไรต่อ ?

เมื่อสงครามยังไม่สิ้นสุด มีทางเลือกมากมายเกินกว่าจะคาดเดาได้ แต่ด้วยการต่อสู้ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน มนุษยชาติคุ้นเคยกับระเบิด เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน

ขณะที่เที่ยวบินอวกาศมีมนุษย์โดยสารไปด้วยกลายเป็นเรื่องรูทีน หรือกิจวัตรประจำวัน ทั้งหมดที่เราหวังได้ก็คือสงครามในยุโรปจะไม่เป็นเช่นนั้นไปด้วย

……