ไทยติด 1 ใน 5 ประเทศแรกของโลก กำจัดไขมันทรานส์ ได้ใบรับรอง WHO ปี 2566

วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา

ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศแรกของโลกที่องค์การอนามัยโลกมอบใบรับรอง ผ่านการตรวจสอบการกำจัดไขมันทรานส์ ปี 2566

วันที่ 26 ธันวาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานคณะกรรมการ อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคตหอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศและมอบใบรับรอง WHO Validation Certificate of Trans Fat Elimination ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2566 ให้กับ 5 ประเทศแรกของโลกที่ผ่านการตรวจสอบด้านการกำจัดไขมันทรานส์ (Trans-Fatty Acids : TFA) ได้แก่ เดนมาร์ก ลิทัวเนีย โปแลนด์ ซาอุดีอาระเบีย และไทย

“ไขมันทรานส์เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ และการบริโภค TFA เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 1 ของการบริโภคอาหารที่ให้พลังงานทั้งหมด มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและการเสียชีวิต

ซึ่ง TFA บางส่วนผลิตโดยอุตสาหกรรมนั้น เป็นส่วนที่ไม่จำเป็นและสามารถกำจัดได้ จึงได้ออกแผนปฏิบัติการกำจัด TFA ที่ผลิตโดยอุตสาหกรรม เพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบายและกรอบการทางานนับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา โดย WHO จะมีกระบวนการติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบการดาเนินงานของประเทศสมาชิก ประเทศที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบจะได้รับใบรับรอง WHO เป็นครั้งแรกในปี 2023 โดย 5 ประเทศแรกของโลกที่ได้รับใบรับรองนี้”

สำหรับเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อออกใบรับรองให้นั้น ประเทศสมาชิกจะต้องมี (1) นโยบายที่มีผลบังคับใช้ของแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการกำจัดไขมันทรานส์ ได้แก่ ข้อกาหนดในการสั่งห้ามผลิต ใช้ หรือขายน้ำมันที่เติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils :PHO) หรือข้อกาหนดที่จำกัดปริมาณไขมันทรานส์ในอาหาร ไขมัน และน้ำมันที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมมีปริมาณ TFA ไม่เกินร้อยละ 2 ของไขมันทั้งหมด หรืออาจใช้ทั้ง 2 นโยบายร่วมกันก็ได้ และ (2) ต้องมีระบบตรวจติดตามผล (3) ต้องมีระบบการบังคับใช้ (4) ต้องมีรายงานและเอกสารเก็บไว้สาหรับการตรวจสอบ

WHO มีกระบวนการตรวจสอบโดยทีมผู้ตรวจประเมินไขมันมันทรานส์ (TFA Evaluation Team) ที่จะตรวจสอบใบสมัครของประเทศสมาชิกรวมถึงเอกสารประกอบทั้งหมด และอาจทาการตรวจเยี่ยมประเทศด้วยหากมีความจาเป็น ซึ่งทีมผู้ตรวจประเมินไขมันทรานส์นี้ เป็นทีมย่อยของกลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคการกาจัดไขมันทรานส์ (Trans Fat Elimination Technical Advisory Group : TFATAG)

ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญอิสระระดับนานาชาติที่มีประสบการณ์ทางวิชาชีพ และความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการกาจัด TFA รวมถึงวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ เทคโนโลยีการอาหาร วิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการอาหาร การควบคุมและกฎระเบียบด้านอาหาร ระบาดวิทยาด้านโภชนาการ และนโยบายด้านอาหารและโภชนาการ

นอกจากนี้ WHO ยังได้จัดทาฐานข้อมูลเพื่อติดตามความคืบหน้าของประเทศต่างๆ ในการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการอื่นๆ เพื่อลดและกาจัด TFA ที่ผลิตโดยอุตสาหกรรม และได้พัฒนา TFA Country Score Card เพื่อติดตามผลการดาเนินงานของประเทศต่างๆ แบ่งเป็น 4 ระดับคะแนนตามนโยบายของชาติ ดังนี้

ระดับ 1 : มีนโยบายระดับชาติที่มุ่งมั่นในการกาจัด TFA ที่ผลิตจากอุตสาหกรรม (มี 53 ประเทศ)

ระดับ 2 : มีมาตรการเสริมอื่นๆ เช่น ส่งเสริมทางเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าแก่ประชาชน (มี 18 ประเทศ)

ระดับ 3 : มีมาตรการกาหนดปริมาณ TFA แต่มีข้อจากัดน้อยกว่าคาแนะนา (มี 16 ประเทศ)

ระดับ 4 : มีนโยบายการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการกาจัด TFA และสอดคล้องตามคาแนะนา (มี 56 ประเทศ) ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มนี้ รวมถึงได้ผ่านการตรวจสอบและได้รับใบรับรองแล้วว่า เป็นประเทศที่มีนโยบายและการบังคับใช้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำจัด TFA ที่ผลิตโดยอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องตามคาแนะนำของ WHO

สำหรับการดำเนินงานของประเทศไทย ในปี 2561 สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลได้นาเสนอผลการวิจัยเรื่อง “ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์ Thailand : Trans fat-Free Country” พบว่า อาหารในท้องตลาดที่ปนเปื้อนกรดไขมันชนิดทรานส์ในระดับเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกกาหนด (> 2.2 กรัมต่อวัน หรือ > 0.5 กรัมต่อมื้อ) ได้แก่ โดนัททอด พัฟและเพสทรี เวเฟอร์ มาร์การีน และเนย เพียงบางยี่ห้อเท่านั้น

ผลการวิจัยได้ข้อสรุปว่า ประเทศไทยสามารถประกาศสถานะปลอดการปนเปื้อนกรดไขมันชนิดทรานส์ได้ภายใน 1 ปี เพื่อไม่ให้มีผลเชิงลบต่อสุขภาพของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และควรดำเนินการภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. คำจากัดความของ “ปลอดไขมันทรานส์” มิใช่การตรวจไม่พบกรดไขมันชนิดทรานส์ แต่เป็นการกาหนดความเข้มข้นสูงสุดที่ยอมให้มีได้ โดยใช้ปริมาณที่ไม่ก่อความเสี่ยงเชิงสุขภาพเป็นเกณฑ์ ได้แก่ < 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค

2. ผู้ผลิตน้ำมันและไขมัน ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนผลิตภัณฑ์เดิมที่ปนเปื้อนกรดไขมันชนิดทรานส์ โดยใช้กระบวนการผสมน้ำมัน (Oil Blending) ซึ่งต้นทุนด้านเทคโนโลยีและวัตถุดิบไม่สูง

3. เร่งรัดมาตรการด้านกฏหมายที่ห้ามมิให้ใช้ไขมันที่ผลิตจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนในการผลิตอาหาร เพื่อลดการได้เปรียบและเสียเปรียบทางการค้าของผู้ผลิตอาหาร และเฝ้าระวังการทุ่มตลาดของสินค้าคัดทิ้งจากประเทศสหรัฐอเมริกา และ

4.การกล่าวอ้างทางโภชนาการในผลิตภัณฑ์อาหารที่เกี่ยวกับปริมาณไขมันทรานส์ ซึ่งต้องพิจารณาทั้งปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์และกรดไขมันอิ่มตัว เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคสับสนและเกิดผลเสียต่อสุขภาพ

ในขณะที่ผู้ประกอบการไทยที่ผลิตอาหารในกลุ่มที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการปรับกระบวนการผลิต และปรับสูตรการผลิตอาหาร โดยมีระยะเวลาการปรับตัวก่อนที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขจะมีผลบังคับใช้

โดยสื่อต่างๆ ได้ร่วมประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย

โดยมีเนื้อหาสาคัญ คือ ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่าน กระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิตนำเข้า หรือจำหน่าย

ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 2562 การจะได้รับใบรับรองฉบับนี้ ต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา สื่อสารมวลชน และประชาชน เนื่องจากเป็นแผนปฏิบัติการระดับประเทศ การได้รับใบรับรองจึงเป็นความภูมิใจร่วมกันของคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทั่วโลกทราบว่า อาหารไทยเป็นอาหารที่ปลอดภัยจากไขมันทรานส์