ยื่นภาษีปี 2567 ผ่าน My Tax Account ต้องทำอย่างไร

ภาษี My Tax Account

เปิดวิธียื่นภาษีปี 2567 ผ่าน My Tax Account ตัวช่วยผู้เสียภาษีตรวจสอบข้อมูลการบริการยื่นภาษีบนออนไลน์ง่ายขึ้น ทั้งค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว การออมและลงทุน ดอกเบี้ยกู้ยืมที่อยู่อาศัย ช้อปดีมีคืน และเงินบริจาค

วันที่ 5 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานสำหรับ My Tax Account คือตัวช่วยที่จะทำให้ผู้เสียภาษีเข้าถึงข้อมูลการบริการยื่นภาษีบนออนไลน์และบริการของกรมสรรพากร รวมถึงการตรวจสอบประวัติการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ข้อมูลค่าลดหย่อน ก่อนที่จะยื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยสามารถพิมพ์ข้อมูลแบบ ใบเสร็จรับเงินสำหรับการยื่นแบบภาษีปัจจุบัน ตรวจสอบสถานะการขอคืนภาษีและการนำส่งเอกสารหลักฐานประกอบการขอคืนภาษี

ขั้นตอนการเข้าระบบ My Tax Account

-เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th เลือกเมนู My Tax Account ตรวจสอบข้อมูลทางภาษี

-ระบบจะแสดงหน้าจอ Login ให้ใส่ Username และ Password เดียวกันกับระบบ e-Filing ใส่เลข Laser ID หลังบัตรประชาชนและกด “เข้าสู่ระบบ”

-ระบบจะแสดงหน้าจอ Login ให้ใส่ Username และ Password เดียวกันกับระบบ e-Filing ใส่เลข Laser ID หลังบัตรประชาชนและกด “เข้าสู่ระบบ”

-หน้าจอจะปรากฏให้ยืนยันตัวตน ระบบจะส่งรหัส OTP พร้อมรหัสอ้างอิงไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่ระบบได้ให้ไว้กรอกเลขรหัสที่ได้รับภายในเวลา 5 นาที

-ระบบจะแสดงหน้าจอประวัติการยื่นแบบ (ภ.ง.ด.90/91) 3 ปีภาษี (รวมปีภาษีปัจจุบัน) หลังจากนั้นให้กด “ตรวจสอบข้อมูล”

-หน้าจอปรากฏ สรุปข้อมูลเบื้องต้นประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษีจากระบบ My Tax Account เลือก “ใช้ข้อมูลชุดนี้ในการออกแบบ” และกดเลือก “เริ่มการยื่นแบบ”

-กรณีที่ต้องการใช้ข้อมูลในระบบ My Tax Account ในการยื่นแบบ ระบบจะเข้าสู่หน้าจอแสดงรายละเอียดของข้อมูลผู้มีเงินได้ ให้ตรวจสอบข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน

-หลังจากนั้นระบบจะนำเข้าสู่การยื่นแบบ e-Filing โดยจะต้องบันทึกข้อมูลแต่ละหน้าให้ครบจนไปสิ้นสุดที่หน้า “ยืนยันการยื่นแบบ”

ข้อมูลค่าลดหย่อน My Tax Account

1.ค่าใช้จ่ายส่วนตัวและครอบครัว

-ประวัติการใช้สิทธิลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้เสียภาษีได้เคยใช้สิทธิในการยื่นแบบผ่านระบบ e-Filing ในปีภาษีที่ผ่านมา

-ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่กรมสรรพากรได้รับจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

2.การออมและการลงทุน

-เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้รับจาก กบข.

-เงินสมทบกองทุนประกันสังคม (เฉพาะกรณีการนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่นายจ้างนำส่งให้แทนลูกจ้าง) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้รับจากสำนักงานประกันสังคม

-เงินสะสมกองทุนเงินออมแห่งชาติ (กอช.) ซึ่งเป็นข้อมูลที่กรมสรรพากรได้รับจากกองทุนการออมแห่งชาติ

-ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ซึ่งเป็นข้อมูลที่กรมสรรพากรได้รับจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม

3.ดอกเบี้ยกู้ยืมที่อยู่อาศัย

-ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยงานผู้ให้กู้ เช่น ธนาคาร ภายใต้การได้รับความยินยอมจากผู้เสียภาษี

4.มาตรการช้อปดีมีคืน

-ลดหย่อนโครงการช้อปดีมีคืน ไม่เกิน 40,000 บาท

5.เงินบริจาค

-ลดหย่อนเงินบริจาคทั่วไป ไม่เกิน 10% ของเงินได้

-ลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา และการบริจาคสาธารณะ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้

-ลดหย่อนเงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท