ฤดูหนาวไทยปี’65 เริ่มช้ากว่าปกติ เช็กพยากรณ์อากาศ-ข้อควรระวังที่นี่!

อากาศหนาวเย็นตอนบน
เครดิตภาพ : Orapin Wachangngoen

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย มาช้ากว่าปกติ 1 สัปดาห์ และจะมีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 8-9 องศาเซลเซียส

วันที่ 2 ตุลาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยาเผยถึงการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2565-2566 ออกประกาศวันที่ 27 กันยายน 2565 ระบุว่า จะเริ่มต้นประมาณต้นสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณ 1 สัปดาห์ และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2566

โดยอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) อยู่ที่ 20-21 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสูงกว่าค่าปกติประมาณประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 19.9 องศาเซลเซียส) และจะมีอากาศหนาวเย็นมากกว่าปีที่ผ่านมา (อุณหภูมิต่่าสุดเฉลี่ยปีที่ผ่านมา 21.0 องศาเซลเซียส)

ส่าหรับอุณหภูมิต่ำที่สุดคือ 8-9 องศาเซลเซียส ส่วนมากจะอยู่ตอนบนของทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอุณหภูมิต่่าที่สุดบริเวณกรุงเทพมหานครจะอยู่ที่ 17-18 องศาเซลเซียส และปริมณฑล 15-16 องศาเซลเซียส

ช่วงเวลาที่จะมีอากาศหนาวเย็นที่สุด จะเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2565 ถึงปลายเดือนมกราคม 2566 ส่วนบริเวณยอดดอยและยอดภูรวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และจะมีน้่าค้างแข็งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

ขณะที่บริเวณภาคใต้จะมีอากาศเย็นบางแห่งในบางวัน ส่วนมากตอนบนของภาค แต่ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2565 กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะท่าให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่ ส่าหรับคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยจะมีก่าลังแรงเป็นระยะ ๆ ในบางช่วงมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

เดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2565 อาจจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้หรือเคลื่อนตัวผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ ซึ่งท่าให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่น รวมทั้งคลื่นลมจะมีก่าลังแรง และอาจมีคลื่นพายุซัดฝั่ง ความสูงของคลื่น 3-4 เมตร

อากาศทั่วไปไทยตอนบน

ช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2565 บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางแห่งในบางวันทางตอนบนของภาค

ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกจะมีอากาศเย็นบางแห่งทางตอนบนของภาค โดยจะมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และอาจลมกระโชกแรงบางแห่งในบางวัน เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะ ๆ โดยจะมีก่าลังอ่อนถึงปานกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดปกคลุมประเทศไทย

จากนั้นจนถึงปลายเดือนมกราคม 2566 จะมีอากาศหนาวเย็นมากขึ้น โดยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศหนาวเย็นเกือบทั่วไป สำหรับบริเวณยอดดอย ยอดภู รวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้ในบางช่วง

ส่วนบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกจะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางแห่งในบางช่วงส่วนมากทางตอนบนของภาค ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทย โดยจะมีกำลังแรงเป็นระยะ ๆ และต่อเนื่อง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมประเทศไทย และกำลังแรงเป็นระยะ ๆ

ส่วนในระยะต้นและกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ลักษณะอากาศอากาศจะแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้น และมีอากาศร้อน หลายพื้นที่ในตอนกลางวัน กับมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ แต่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง

อากาศทั่วไปภาคใต้

ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2565 ถึงต้นเดือนมกราคม 2566 จะมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบทั่วไป โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในบางแห่ง สำหรับคลื่นลมทะเลอ่าวไทยจะมีกำลังแรงเป็นระยะ ๆ ในบางช่วงจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้

โดยจะมีกำลังแรงเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2565 ประกอบกับในบางช่วงจะมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ นอกจากนี้ ในบางช่วงมักจะมีมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงหรือพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้หรือเคลื่อนผ่านภาคใต้

จากนั้นจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ฝนจะลดลง เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง และจะเริ่มเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกหรือลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมแทน

ข้อควรระวัง

1. ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2565 บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ประกอบกับจะมีน้ำเหนือไหลบ่าลงมา และในบางช่วงจะมีน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่

2. ในเดือนธันวาคม 2565 และมกราคม 2566 บริเวณยอดดอยและยอดภูมักจะเกิดน้ำค้างแข็งขึ้นได้ กับจะมีหมอกหนาเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ยวดยานพาหนะไว้ด้วย

3. ในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2566 อาจมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนตัวจากประเทศเมียนมาผ่านประเทศไทยตอนบน ซึ่งจะทำให้ช่วงดังกล่าวเกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่