หลักเกณฑ์อภัยโทษ “ราชทัณฑ์ แจงตามกรอบกฎหมาย-ไม่มีการเลือกปฏิบัติ

นักโทษ

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงทำความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์อภัยโทษ ยืนยันตามกรอบกฎหมาย -ไม่มีการเลือกปฏิบัติ

วันที่ 10 ธันวาคม 2564 นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงทำความเข้าใจต่อสังคมและประชาชนทั่วไป เรื่องหลักเกณฑ์การอภัยโทษเป็นการทั่วไปเป็นมาตรการอย่างหนึ่ง เพื่อจูงใจให้ผู้ต้องขังประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยเรือนจำ และพัฒนาพฤตินิสัย เพื่อพร้อมกลับประพฤติตน เป็นพลเมืองดีของสังคม

โดยให้ได้รับการอภัยโทษตามความร้ายแรงของประเภทคดี และลดหลั่นกันไปตามชั้น ของนักโทษเด็ดขาด ซึ่งเป็นตามหลักอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา รวมทั้งเป็นหลักการสากลการอภัยโทษ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ เป็นการทั่วไป และเป็นการเฉพาะราย  โดยหลักการของการอภัยโทษทุกครั้งจะมีการแบ่งผู้ต้องขัง ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. ผู้ได้รับการปล่อยตัว
  2. ผู้ได้รับการลดโทษ
  3. ผู้ไม่ได้รับการลดโทษ

1. กลุ่มผู้ได้รับการปล่อยตัว

  • ผู้ต้องกักขัง
  • ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ
  • ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ ที่เป็นผู้เจ็บป่วย พิการ ชราภาพ
  • นักโทษเด็ดขาดที่เป็นผู้พิการ เจ็บป่วย ชราภาพ หรือได้รับโทษจำคุกมานานจนใกล้จะพ้นโทษแล้ว (เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี)
  • นักโทษที่ได้รับการพัฒนาพฤตินิสัยจนได้รับการเลื่อนชั้นเป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม เหลือโทษไม่เกิน 2 ปี

ทั้งนี้ ผู้ที่จะได้รับการปล่อยตัวจะต้องเป็นนักโทษตั้งแต่ชั้นกลางขึ้นไป ไม่เป็นผู้กระทำความผิดซ้ำ และไม่เป็นผู้กระทำความผิดอาญาร้ายแรง เช่น ปล้น ฆ่า ข่มขืน คดีทุจริตฯ หรือคดียาเสพติดให้โทษ

2.กลุ่มผู้ได้รับการลดโทษ

แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามความร้ายแรงของคดี และได้รับการลดโทษ ตามชั้นนักโทษเด็ดขาด

  • คดีอาญาทั่วไป ชั้นเยี่ยม ลดโทษ 1 ใน 2 จนถึงชั้นกลาง ลดโทษ 1 ใน 5
  • คดีอาญาร้ายแรงตามบัญชีท้าย พ.ร.ฎ.อภัยโทษ ชั้นเยี่ยม ลดโทษ 1 ใน 3 จนถึงชั้นกลาง ลดโทษ 1 ใน 6
  • คดียาเสพติดรายย่อย ชั้นเยี่ยม ลดโทษ 1 ใน 5 จนถึงชั้นกลาง ลดโทษ 1 ใน 8
  • คดียาเสพติดรายใหญ่ (ต้องได้รับโทษจำคุกมาระยะหนึ่งแล้ว โดยจะไม่ได้อภัยโทษในครั้งแรก) ชั้นเยี่ยม ลดโทษ 1 ใน 6 จนถึงชั้นกลาง ลดโทษ 1 ใน 9

แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม 1. นักโทษเด็ดขาดประหารชีวิตที่เคยได้รับการลดโทษแล้ว 2.นักโทษคดียาเสพติดรายใหญ่ ซึ่งได้รับโทษจำคุกมาไม่นาน 3. ผู้กระทำความผิดซ้ำที่ไม่ใช่นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม 4. นักโทษชั้นต้องปรับปรุงหรือชั้นต้องปรับปรุงมาก หรือกระทำความผิดอาญาร้ายแรง เช่น ฆ่า ข่มขืน จึงถูกจัดเป็นชั้นต้องปรับปรุงมาก หรือกระทำผิดระเบียบวินัยเรือนจำ จึงถูกลงโทษลดชั้น
โดยในการตรากฎหมายครั้งนี้

ทั้งนี้ กรมราชทัณฑ์ ขอให้สังคมและประชาชนเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ภายใต้กรอบของกฎหมาย และจะให้การดูแลผู้ต้องขังทุกคนด้วยความเสมอภาค เท่าเทียม ไม่มีการเลือกปฏิบัติ หรือให้สิทธิประโยชน์ต่อผู้ต้องขังกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ พร้อมให้โอกาสแก่ผู้กระทำความผิดได้กลับตนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม