
สำนักพุทธฯ ยื่นหนังสือ มติมหาเถรสมาคม ห้ามพระภิกษุเกี่ยวข้องกับการเมือง
วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ที่รัฐสภา นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงว่า กรณีมติมหาเถรสมาคม เรื่องพระภิกษุเกี่ยวข้องกับการเมือง และไม่ประพฤติปฏิบัติตามมติมหาเถรสมาคม ตามหนังสือที่ยื่นโดย นายสิปป์วร แก้วงาม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ต่อประธานสภาว่า
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เข้าบัญชีวันนี้ 5 จังหวัด
- เช็กเงื่อนไขกู้ “ออมสิน” ปลดหนี้นอกระบบ คุณสมบัติผู้กู้ต้องมีอะไรบ้าง ?
- 10 อันดับเมืองที่ค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก ปี 2023
1.กรณีพระภิกษุไปร่วมเป็นกรรมาธิการ อนุกรรมาธิการ หรือที่ปรึกษาในคณะกรรมาธิการ ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของฝ่ายการเมืองที่ดำเนินการโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา มอบให้ประธานฝ่ายปกครองที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้งไปพิจารณากำหนดแนวทาง วิธีการ หรือมาตรการให้ชัดเจนในการตำหนิโทษ
2.กรณีหน่วยราชการที่ขอให้กรรมการมหาเถรสมาคม หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นที่ปรึกษา หรือกรรมการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เสนอผ่านมหาเถรสมาคมพิจารณา
นพ.สุกิจกล่าวว่า 3.กรณีรัฐสภา ขอให้กรรมการมหาเถรสมาคมไปเป็นกรรมาธิการ อนุกรรมาธิการ หรือที่ปรึกษาในคณะกรรมาธิการ มอบให้ พศ.เป็นผู้แทนมหาเถรสมาคม และเมื่อดำเนินการในนามมหาเถรสมาคมแล้วให้รายงานมหาเถรสมาคมทราบ
4.กรณีรัฐสภาขอพระภิกษุรายรูป ต่อพระภิกษุโดยตรงปฏิบัติภารกิจของฝ่ายการเมือง ให้พระภิกษุรูปนั้นแจ้งผู้บังคับบัญชาใกล้ชิด เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงมหาเถรสมาคมพิจารณา และ 5.มอบ พศ.แจ้งมติมหาเถรสมาคมต่อรัฐสภาทราบแนวปฏิบัติดังกล่าว
นพ.สุกิจกล่าวต่อว่า โดยทางสภาได้ทำหนังสือแจ้งต่อไปยังฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งประธานกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร และประธานกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา เพื่อพิจารณาหาแนวทางปฏิบัติในอนาคต ตนได้สอบถามไปยังกรรมาธิการบางคณะว่าเคยมีการให้พระภิกษุสงฆ์มารับตำแหน่งในคณะกรรมาธิการหรือไม่ ปรากฏว่าเคยมี แต่ปัจจุบันนั้นไม่มีแล้ว