ศาลตัดสินคดีกลุ่มกบฏ กปปส. คุก “สุเทพ” 5 ปี ที่เหลือ 4 เดือน-9 ปี

FILE PHOTO : MANAN VATSYAYANA / AFP

ศาลตัดสินคดีกลุ่มกบฏ กปปส. คุกสุเทพ 5 ปี และ 3 รัฐมนตรี คือ พุทธิพงษ์ 7 ปี ณัฏฐพล 6 ปี 16 เดือน ถาวร 5 ปี

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาคดี คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส.กับพวกรวม 39 คน

สรุปสาระสำคัญพฤติการณ์ความผิด ที่อัยการบรรยายในคำฟ้อง

ร่วมกันมั่วสุม เป็นอั้งยี่ ซ่องโจร จัดตั้งกองกำลัง แบ่งหน้าที่กันกระทำก่อความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร

ยุยงปลุกระดมให้ประชาชนทั่วประเทศกระด้างกระเดื่อง ร่วมชุมนุมขับไล่ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ออกจากตำแหน่ง

ขัดขวางการเลือกตั้ง ส.ส. เพื่อไม่ให้นายกรัฐมนตรี และ ครม. ชุดใหม่เข้าบริหารประเทศ

ให้ข้าราชการระดับสูงรายงานตัวกับกลุ่ม กปปส.

แต่งตั้งคณะบุคคลเข้าบริหารประเทศเป็น “รัฐบาลประชาชน” เป็นรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งจะออกคำสั่งแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และ ครม. โดยจะนำรายชื่อขึ้นกราบบังคมทูลฯ เอง

จัดตั้งกองกำลังส่วนหนึ่งพร้อมอาวุธเข้าไปบุกยึดสถานที่ราชการและหน่วยงานสำคัญหลายแห่ง เพื่อไม่ให้รัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินได้

ปิดกั้นขัดขวางเส้นทางคมนาคมขนส่งเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน

ปิดกรุงเทพฯ ด้วยการตั้งเวทีปราศรัย 7 จุดทั่วกรุงเทพฯ ปิดกั้นเส้นทางการจราจร

จัดตั้งกองกำลังรักษาพื้นที่ วางเครื่องกีดขวาง ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง

สำหรับจำเลยทั้ง 39 คน มีคำพิพากษา ดังนี้

1.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จำคุก 5 ปี

2.นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ยกฟ้อง

3.นายชุมพล จุลใส จำคุก 9 ปี 24 เดือน

4.นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ จำคุก 7 ปี

5.นายอิสสระ สมชัย จำคุก 7 ปี 16 เดือน

6.นายวิทยา แก้วภราดัย จำคุก 1 ปี เเละปรับ 13,333 รอลงอาญา 2 ปี

7.นายถาวร เสนเนียม จำคุก 5 ปี

8.นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ จำคุก 6 ปี 16 เดือน

9.นายเอกนัฏ พร้อมพันธ์ จำคุก 1 ปีปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี

10...อัญชะลี ไพรีรัก จำคุก 1 ปีปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี

11.พลเอกปรีชา เอี่ยมสุพรรณ ตาย

12.นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี

13.นายยศศักดิ์ โกไศยกานนท์ ยกฟ้อง

14.นายถนอม อ่อนเกตุพล จำคุก 1 ปีปรับ 13,333บาท รอลงอาญา 2 ปี

15. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข จำคุก 3 ปี

16. พระพุทธะอิสระ หรือ นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ จำคุก 4 ปี 8 เดือน

17.นายสาธิต เซกัลป์ จำคุก 2 ปี ปรับ 26,666 รอลงอาญา 2 ปี

18.นางสาวรังสิมา รอดรัศมี ยกฟ้อง

19. พลอากาศโทวัชระ ฤทธาคนี จำคุก 1 ปี ปรับ13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี

20. พลเรือเอกชัย สุวรรณภาพ จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี

21. นายแก้วสรร อติโพธิ ยกฟ้อง

22.นายไพบูลย์ นิติตะวัน ยกฟ้อง

23.นายถวิล เปลี่ยนศรี ยกฟ้อง

24. เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ จำคุก 4 ปี 16 เดือน

25. นายมั่นแม่น กะการดี จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี

26.นายคมสัน ทองศิริ จำคุก 2 ปี

27.พล..ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ยกฟ้อง

28.นายนายพิภพ ธงไชย ยกฟ้อง

29.นายสาวิทย์ แก้วหวาน จำคุก 2 ปี

30.นายสุริยะใส กตะศิลา จำคุก 2 ปี

31. นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด ยกฟ้อง

32....ภัทรพงศ์ สุปิยะพาณิชย์ ยกฟ้อง

33.นายสำราญ รอดเพชร จำคุก 2 ปี 16 เดือน

34. อมร อมรรัตนานนท์  จำคุก 20 เดือน

35.นายพิเชษฐ พัฒนโชติ จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี

36. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ ยกฟ้อง

37.นายกิตติชัย ใสสะอาด จำคุก 4 เดือน ปรับ 6,666 รอลงอาญา 2 ปี

38.นางทยา ทีปสุวรรณ จำคุก 1 ปี 8 เดือน ปรับ 26,666 รอลงอาญา 2 ปี

39.นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ยกฟ้อง

สรุปยกฟ้องจำเลยที่ 2,13,18,21,22,23,27,28,31,32,36,39

จำเลยทั้ง 12 คนที่รอลงอาญานั้นเพราะบางคนเป็นเพียงผู้ร่วมชุมนุมเท่านั้น เเละเเม้บางคนจะเป็นเเกนนำในการชุมนุมด้วยก็ตาม เเต่ความผิดที่จำเลยเเต่ละคนกระทำนั้นน้อยกว่าจำเลยอื่นอีกทั่วไม่ปรากฎว่ามีพฤติการณ์อุกอาจหรือรุนเเรงจากการชุมนุมประกอบกับไม่ปรากฎว่าจำเลยดังกล่าวเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนจึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยดังกล่าวกลับตัวเป็นพลเมืองดี

นอกจากนี้ยังให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยที่ 3,5,8,16,24,33,38 มีกำหนดคนละ 5 ปี

เเละให้นับโทษของจำเลยที่ 15,25,30 ต่อจากโทษตามท้ายฟ้องด้วย

เพิกถอนสิทธิการเมือง 5 ปี

สำหรับกรณีนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และนายอิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปชป. ต้องพ้นจากการเป็น ส.ส. เนื่องจากศาลอาญาสั่งเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของพวกเขาเป็นเวลา 5 ปี

และมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการเมือง ของนายสุวิทย์ ทองประเสริฐ, ร.ต. แซมดิน เลิศบุศย์, นายสำราญ รอดเพชร และนางทยา ทีปสุวรรณ ทำให้เธอไม่สามารถลงรับสมัครเลือกตั้งผู้ว่า กทม.

ไม่มีเจตนากบฏ

ส่วนข้อหากบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญวิเคยนิจฉัยเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มุ่งหวังรัฐบาลลาออก ให้มีการปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาประเทศก่อนเลือกตั้ง จึงไม่มีลักษณะล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญ โดยที่คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร วินิจฉัยแล้วไม่มีเจตนาความผิดฐานกบฏ