เปิดมุมมอง “ศุภชัย” เศรษฐกิจไทยฝ่าพายุความเปลี่ยนแปลง สู่ยุค 5.0

เปิดมุมมอง “ศุภชัย” แนะ เศรษฐกิจไทยฝ่าพายุ 6 ความเปลี่ยนแปลง สู่ยุค 5.0 สร้างโอกาสการเติบโตสู่ศูนย์กลางดิจิทัล ชู 5 เสา ECOSYSTEM เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความมั่นคงต่อชีวิต ดึงซอฟต์พาวเวอร์ไทย ท่องเที่ยว-ซีรีส์-อาหาร สร้างมูลค่าเพิ่ม หวั่นหากช้าจ่อถูกประเทศอาเซียนอื่นแซง

วันที่ 20 มีนาคม 2567 นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวระหว่างงานสัมมนา PRACHACHAT BUSINESS FORUM เสวนาภายใต้หัวข้อ The new chapter ธุรกิจไทย (ในวันที่โลกไม่เหมือนเดิม) ซึ่งจัดโดย ประชาชาติธุรกิจว่า เมื่อเราจะเปลี่ยนจากโลกยุค 4.0 เป็น 5.0 นั่นสามารถเปลี่ยนไปได้อย่างไร เมื่อดูการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก จะให้ความสำคัญกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง 6 ด้านที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คือ 1. ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียม

2. การปฏิรูปดิจิทัล เพราะหากเราไม่มีการพัฒนา ตั้งแต่ AI และยกระดับเป็น Smart City Smart Industry เป็นต้น ก็จะไม่สามารถแข่งขันในระดับโลกได้ และหากเราดำเนินการทั้งสองเรื่องไปด้วยความถูกต้อง จะเป็นการยกระดับประเทศ และหากเราไม่มีการพัฒนา สร้างระยะห่างออกไปเรื่อย ๆ จะมีผลต่อความมั่นคงทางสังคมและระบบเศรษฐกิจ

3. ปัญหาโลกร้อนและเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นเป้าหมายในระดับโลก ประเทศมหาอำนาจ และหลายประเทศทั่วโลก พร้อมวางเป้าหมายปี 2050 จะลดการปล่อยก๊าซเป็นศูนย์ ไม่ให้อุณหภูมิโลกร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่ปัจจุบันอุณหภูมิได้มีการปรับขึ้นมาแล้ว 1-1.2 องศาเซลเซียส ในช่วง 80 ปีที่ผ่านมา

ซึ่งไม่สามารถทำได้จึงได้มีการหยิบยก เช่น นำเรื่องของนิวเคลียร์ขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่ เป็นต้น หากจะมองให้เห็นภาพมากขึ้น เช่น ขั้วโลกเหนือหากน้ำแข็งละลาย ระดับน้ำจะสูงขึ้น 6 เมตร แต่หากน้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลายหมดระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 60 เมตร จึงจะมีผลต่อการดิสรัปชั่นทั้งโลก ที่ไม่สามารถที่จะคาดการณ์ได้ ร้อนก็ร้อนสุดขั้ว เย็นก็เย็นสุดขั้ว แล้งก็แล้งสุดขั้ว ท่วมก็ท่วมสุดขั้ว โดยสิ่งที่มีผลกระทบเหล่านี้มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจสังคมทั้งหมด

4. ขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งวันนี้จะเห็นแล้วว่าปัญหาที่เกิดขึ้น อาทิ แถบทะเลจีนใต้ ยุโรปตะวันออกหรือแม้กระทั่งมิดเดิลอีสต์ ที่เจอปัญหา เรื่องราวนี้ ล้วนมีผลกระทบ สิ่งที่ตามมา คือ อินเดีย ประกาศตัวว่าปี 2030 จะขึ้น

เป็นเศรษฐกิจอันดับ 3 ของโลก แซงญี่ปุ่นขึ้นมาและเป็นไปได้สูง ซึ่งจะทำให้อำนาจเศรษฐกิจของโลกแบ่งเป็นรายขั้วมากขึ้น

และจะทำให้ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีนลดลงและจะมีมุมมองใหม่เกิดขึ้น เกิดการประสานอำนาจของโลกขึ้นมาก็ได้ และจะช่วยให้ไทยได้ประโยชน์และหลุดจากกับดักได้

5. พฤติกรรมของผู้บริโภค ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเยอะมาก

6. สุขภาพมนุษย์ สังคมผู้สูงวัย ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น และการใช้จ่ายเกี่ยวกับผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เห็นได้จาก บริษัทประกันภัย ไม่ใช่ทำประกันภัยเพียงแค่เรื่องของอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้น แต่ทำอย่างไรเพื่อให้บั้นปลายชีวิตมีคุณภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังจะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของโลก ระบบประกันสังคม ระบบประกัน

สุขภาพ ก็เข้ามาในระบบสังคมให้มีคุณภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ให้มีความสงบตามมาพัฒนาได้อย่างทั่วถึง

ปัจจัยใหม่ของความเหลื่อมล้ำ

นายศุภชัยกล่าวว่า หากพูดถึงผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำมีปัจจัยใหม่ 4 เรื่องที่เข้ามาเกี่ยวข้อง คือ

1. ความรู้คู่คุณธรรม การเข้าถึงระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ จะต้องมีเรื่องของคุณธรรมซึ่งจะเป็นเรื่องที่ใหญ่ขึ้น

2. การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) กำลังจะออกใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับ Virtual Bank เป้าหมายไปกลุ่มที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงิน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 70% ในประเทศไทย และในอาเซียนมีมากกว่านี้ แต่สิ่งที่ใหญ่มากคือที่มี คือ เศรษฐกิจไม่ได้อยู่ในระบบภาษี เป็นระบบที่อยู่ภายใต้ที่เรามองไม่เห็นใหญ่มาก เศรษฐกิจส่วนนี้ใหญ่ 2-3 แสน

ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเกินกว่า 50% ของ GDP ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทำให้ระบบของสังคมระบบเศรษฐกิจขาดประสิทธิภาพ

3. การเข้าถึงระบบการสื่อสาร และเทคโนโลยี เพื่อให้เข้าถึงตลาด และองค์ความรู้ เข้าสู่ตลาด โดยไม่ต้องผ่านระบบเศรษฐกิจในรูปแบบเดิม โดยสามารถเข้าสู่ตลาดโดยตรงอย่าง เช่น อินฟลูเอนเซอร์ ติ๊กต๊อก ซึ่งได้แต่ Tencent ไป ถ้า TikTok เข้าตลาดหุ้นได้ก็จะมีมูลค่าตลาดใกล้เคียงกับ Google Facebook เป็นต้น เป็น ซึ่งบริษัทที่มีมูลค่าสูง แต่ก็มีความพยายามจะเข้าซื้อTikTok อย่างในส่วนของสหรัฐ ซึ่งมีคนสนใจที่จะรอซื้อ

แน่นอนว่าการเชื่อมโยงมีความจำเป็น อินเตอร์เน็ต มือถือ อาจจะไม่พอ เพราะมีความจำกัดของการปฏิบัติงาน ตามหลักแล้ว จำเป็นจะต้องมีคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น เพราะเพื่อพัฒนาทำงานวิจัยเพิ่มองค์ความรู้

4. ระบบประกันสังคมซึ่งมีความสำคัญและปัจจุบันของเรามีความผิดปกติผู้มีฐานะมากก็จะมีมูลค่าประกันสูง และหากผู้ที่มีรายได้น้อย อาจจะไม่มีประกันในระบบสังคมเลย ฉะนั้น ถ้ามนุษย์ทำงาน หากป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวจะประสบปัญหาทันที ดังนั้น ระบบของประกันสังคม ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เป็นระบบที่ต้องให้ทุกคนสามารถเข้าถึง และเป็นสิ่งจำเป็นใหม่ที่จะให้ระบบสังคมเกิดความมั่นคงของชีวิตเพิ่มขึ้น

ถ้าหากเราบอกว่าความเหลื่อมล้ำให้ลดลง แม้จะไม่สามารถที่จะทำให้หมดไปได้ แต่ควรให้เกิดความเสมอภาค 4 เรื่องใหญ่นี้ จึงเป็นเรื่องที่เป็นนโยบายระดับรัฐและให้เกิดความร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งเป็นนโยบายระดับโลกอีกด้วย

เปลี่ยนผ่านสู่ยุค 5.0

นายศุภชัยกล่าวว่า หากพูดถึงวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเข้าสู่ยุค 5.0 ขอนิยามไว้ ใช้คำว่า “ยุคสังคมแห่งภูมิปัญญาที่ยั่งยืนที่เรารู้ว่าเป็นยุคที่มนุษย์และเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียวกัน” แม้กระทั่งองค์กรก็จะเป็นหนึ่งเดียวกับเทคโนโลยี และเรารู้ว่ามีปัญหาในเรื่องของการเชื่อมโยงแห่งความยั่งยืนหากเราสามารถผนวกเอา 3 เรื่องเข้าร่วมกัน ซึ่งเป็นเป้าหมายของโลกคือเรื่องของความยั่งยืนทรัพยากรมนุษย์และเรื่องของเทคโนโลยีเราจะเข้าสู่ยุค 5.0

และการเข้าสู่ยุคนี้ขีดความสามารถของมนุษย์ที่เกิดขึ้นนอกจากคุณธรรมจริยธรรมก็คือในเรื่องของการใช้เทคโนโลยี แต่ในเวลาเดียวกันเราก็ต้องสามารถที่จะปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น และทำอย่างไรซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่เราจะแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีอายุจะสามารถปรับเปลี่ยน

ไปสู่ยุคที่ทันสมัยอาจจะเข้าถึงได้ 20-30 เปอร์เซ็นต์ แต่หากพูดถึงเด็กในปัจจุบันเข้าอยู่ในยุคนี้แล้ว

ในเด็กทุกประเทศตอนนี้ มีความท้าทายในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะในระดับที่สามารถควบคุมระบบ AI ได้อย่างน้อย 10% สำหรับ 10% ของประเทศไทย จะต้องจบระบบทางด้านวิศวกรรม ไอที AI จะต้องมีจำนวนเท่าไหร่ 50% เท่ากับ 5 ล้านคน ทุกวันนี้ มีเด็กที่จบทางด้านคอมพิวเตอร์ Data ไอที เพียง 40,000 คนต่อปี ซึ่งทำอย่างไรจะได้ 5 ล้านคน

ทั้งนี้ เรามีผู้ที่จบมัธยม การศึกษาระดับ ปวช. ปวส. เฉลี่ย 1 ปีน่าจะประมาณ 1 ล้านคน ถ้าหากวันนี้เราบอกว่าคอมพิวเตอร์เป็นวิชาพื้นฐานตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้น บางประเทศตั้งแต่ประถมศึกษา แต่สำหรับประเทศไทยระดับมัธยมศึกษามัธยมตอนต้น 3 ปี จะต้องมี

ความรู้ในระดับคอมพิวเตอร์ จะทำให้มีผู้มีความรู้ด้านนี้ 3 ล้านคนเฉลี่ยต่อปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งเราจะต้องดูในเรื่องของบุคลากรและนโยบายที่จะผลักดันมีมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากบอกว่าสามารถนำวิชาความรู้เรื่องของคอมพิวเตอร์ไปเริ่มต้นในระดับประถมศึกษา คิดว่าอนาคตจะเห็นการศึกษาระดับ ปวช.และปวส. เมื่อจบจะผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนี้มาก ซึ่งจะเป็นพื้นฐานใหม่ของทุกอุตสาหกรรมและพื้นฐานทุกอาชีพ

เศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ตรงไหน

พร้อมกันนี้ นายศุภชัยยังตั้งคำถามว่า เศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ตรงไหน โดย IMF (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) คาดการณ์เศรษฐกิจไทย ปี 2567 โต 2.7% ลดลงจากคาดการณ์เมื่อต้นปีที่มองไว้ 3% เศรษฐกิจยุโรปขยายตัว 0.9% เพราะเศรษฐกิจกำลัง

แย่ และไม่น่าจะดีขึ้นเท่าไหร่ รัสเซีย 2.6% สามารถยังคงอยู่ได้ สหรัฐอเมริกา 2.1% โตน้อยลงเนื่องจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่แนวโน้มคาดว่าจะปรับลดลงดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อินเดีย 6.5% ส่วนจีน 5% เพราะการส่งออกของจีนมีการเติบโต

หลายประเทศจ่อแซงไทย

เศรษฐกิจอาเซียน โต 4.2% โดยเมื่อดูภาพรวมการเติบโตเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน หลายประเทศมีการเติบโตเป็นไปในทิศทางที่ดี ยกตัวอย่าง เช่น ฟิลิปปินส์โต 5.5%

“ไทยยังมีการมองว่าเติบโตช้าที่สุดในกลุ่มอาเซียน โดยขณะที่หลายประเทศทั่วโลกมองว่าหากจะเข้าไปลงทุนประเทศเป้าหมาย คือ อินเดีย ที่เศรษฐกิจเติบโต 6.5% และกลุ่มประเทศในอาเซียน ที่เศรษฐกิจโต 5.5% และมีประชากรรวมถึง 2,000 ล้านคน”

ทั้งนี้ หากกลุ่มอาเซียน เศรษฐกิจมีการเติบโตในระดับนี้ ก็จะอยู่เป็นอันดับ 4 ของโลกนับจากอินเดีย ภายในปี 2030 และหากดู GDP ประเทศไทย อีกไม่นานมองว่าหลายประเทศในกลุ่มอาเซียนจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกับประเทศไทยซึ่งจะใช้เวลาไม่นานซึ่งเป็นสิ่งที่เรากำลังจะเจอ

ประเทศไทยถือว่ากำลังเดินไปช้ามาก นโยบาย สังคมระบบนิเวศโครงสร้างพื้นฐานระบบการศึกษาการให้สิทธิประโยชน์เพื่อดึงดูดการลงทุนเป็นเรื่องที่เราต้องเร่งและดำเนินการเพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำและให้เศรษฐกิจเติบโตเพราะเรามีโอกาสในการเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจในอาเซียน

ความสามารถดิจิทัลไทย

IMD จัดอันดับประเทศที่มีความสามารถใยการแข่งขันด้านดิจิทัล ซึ่งประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 35 จากอันดับที่ 40 จาก 64 รองมาจากมาเลเซีย อยู่ที่อันดับ 34

ขณะที่ ประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้นมา 5 ตำแหน่งในปี 1 ปี ซึ่งดัชนีนี้ให้ความสำคัญใน 3 เรื่องคือ ความรู้ ไทยอยู่อันดับที่ 41 แม้เราจะเป็นระดับเศรษฐกิจที่ 26 ของโลก ซึ่งอนาคตกลุ่มประเทศในอาเซียน กำลังจะแซงประเทศไทยภายใน 2-3 ปี และมีโอกาสว่าระดับเศรษฐกิจของไทยจะไปอยู่ในระดับที่ 30 ของโลกได้ ใน 3-4 ปีเพราะประเทศเพื่อนบ้านมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วมาก

ด้านเทคโนโลยีประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 15 ซึ่งมีการเติบโตเร็วมาก ซึ่งทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในด้านเทคโนโลยี ได้ส่วนเรื่องความพร้อมในอนาคตประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 42 ในตัวชี้วัด

และในส่วนของความรู้และความพร้อมในอนาคตเมื่อดูในรายละเอียดจะเกี่ยวข้องในเรื่องของบุคคล ความพร้อมในทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีส่วนสำคัญคือเรื่องของกรอบความคิด

ดันไทยศูนย์กลางเทคโนโลยี

การที่จะผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยจะเป็น ศูนย์กลางทางด้าน อีวี แต่เราต้องมีการปรับตัวเพราะประเทศไทยจะมีการลงทุน semi conductor จะลงทุนกับใคร ซึ่งนักลงทุนใหญ่ ก็มีโอกาสที่จะไปลงทุนในมาเลเซีย แต่หากประเทศไทยมีความพร้อม นักลงทุนก็อาจจะเข้ามาสนใจและลงทุนในประเทศไทย

ทั้งนี้ ไทยเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยี ซึ่งมีความเป็นไปได้ เพราะ Microsoft , Google, Amazon แม้จะยังไม่ได้มาแต่ปัจจุบัน Microsoft เข้ามาลงทุนในไทยแล้ว รวมไปถึง Google, Google Cloud และกำลังจะขยายการลงทุนในประเทศไทยเพิ่ม

ปัจจุบันพบว่านักลงทุนหรือบริษัทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีให้ความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนใน 2 ประเทศคือไทยและมาเลเซีย “การที่นายกเศรษฐาวิ่งไปทั่วโลก ไปให้การรับรองดึงการลงทุนมีผลมาก ทำให้ประเทศไทยกลับมาอยู่ในแผนที่โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องดิจิทัลฮับ”

Smart City เป็นเรื่องที่ใหญ่ หากจะให้เป็นเมืองที่เป็น Smart City ได้จะต้องใช้จำนวนกล้องเท่าไร ดูจากสิงคโปร์มีกล้องอยู่กว่า 200,000 ตัว ในกรุงเทพฯมีประมาณ 600 ตัว หากไทยมีความปลอดภัยสูง จะเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวมี่เข้ามา ประชากรในประเทศมั่นใจในการใช้ชีวิต

เชื่อมรถไฟไทย-อาเซียน

การเชื่อมรถไฟไทย-อาเซียน ควรมีการเปลี่ยนชื่อ เพราะจะทำให้อุปสรรคจากลดลง แต่จริงๆเป็นการเชื่อมโยงโลจิสติกส์ทั้งภูมิภาค ตั้งแต่หนองคาย EEC กรุงเทพฯ ไปทางภาคใต้ขยายลงไปมาเลเซีย ประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์ ทางภาคตะวันออกมีขยายต่อไปกัมพูชาไปถึงเวียดนาม ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางขนส่งแน่นอนเพียงแต่ต้องมีความชัดเจนใน

เรื่องของการผลักดัน
“หากประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ จะทำให้เกิดการค้าขายและเป็นการรวมศูนย์ของการค้า-ขาย นำไปสู่การเป็น ศูนย์กลางของเรื่องค้า (Trade Hub) นำไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางด้านการเงิน ซึ่งเรามีโอกาสที่จะเป็นศูนย์กลางในเรื่องของ Financial Hub ระบบการเงิน”

นอกจากนี้ เส้นทางของรถไฟมีการเชื่อมไปทางอันดามัน ซึ่งเชื่อมมหาสมุทรอินเดีย ทำให้ประเทศไทยเชื่อมมหาสมุทรอินเดียส่งต่อไปยังยุโรปได้ เป็นเรื่องที่ทำให้ภูมิศาสตร์ของประเทศไทยดี ซึ่งจะมีผลต่อทำให้เงินทุนหมุนเวียน เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่จะเปลี่ยนประเทศไทยได้มาก แต่ก็อาจจะเป็นสิ่งที่หลายคนกังวลเพราะอย่างคนจีนจะเข้ามาประเทศไทยมากขึ้น มองกลับกันคนไทยอาจจะไปจีนเพิ่มมากขึ้น เพราะประเทศจีนก็มีความเจริญและก็พัฒนาและมีความน่าอยู่มากขึ้น

ไทยจะผ่านพายุอย่างไร

การที่ประเทศไทยจะผ่านพายุไปได้จะต้องมีการทำเรื่องของระบบ 5 เสาสำคัญในมุมมองของเอกชน

1. TRANSPARENCY ความโปร่งใส ระดับ KPI ตัวชี้วัดใหม่ ที่ต้องเริ่มต้นจากเป้าหมาย การตรวจสอบ หากเรามีเป้าหมายที่จะโตเทียบเคียงกับอาเซียนทั้งหมดหรือโตกว่าและเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในเรื่องอะไรจะต้องมีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ถูกต้อง

2. MARKET MACHNISM กลไกตลาดและวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ การตอบสนองตลาด การนำระบบ AI เข้ามามีส่วนร่วม

3. LEADERSHIP & TALENTS ผู้นำและบุคลากรเพื่อบุคลากร 5.0 ต้องการให้ระบบการศึกษาของประเทศดีขึ้น

4. EMPOWER-MENT เด็กเป็นศูนย์กลางเพิ่มคุณธรรม พัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีศักยภาพ ในการตอบสนองความต้องการของตลาด

5. TECHNOLOGY การพัฒนาเทคโนโลยี สร้างศูนย์กลางทางด้านการศึกษาในระดับภูมิภาค
นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนพัฒนาคน 5.0 โดยนำวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ควรเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรเป็นวิชาพื้นฐานในชั้นเรียน ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาเด็กทุกคนควรมีคอมพิวเตอร์สะอาดโดยผลักดันที่ 6 แสนเครื่อง

การใช้งบประมาณที่เข้ามาใช้ก็มองไว้ว่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ในการที่จะส่งเสริมให้นักเรียนมีคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ถูกควบคุมและเป็นของโรงเรียนไม่ใช่ของผู้ปกครอง เพื่อพัฒนานักเรียนและเชื่อมโยงข้อมูลองค์ความรู้ให้ทั่วถึง ระบบการศึกษาก็ต้องปรับเปลี่ยน รวมไปถึงระดับอุดมศึกษาด้วย หากเริ่มได้ตั้งแต่ระดับโรงเรียน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องของการคำนวณแต่เป็นเรื่องของเหตุผลและการประยุกต์ใช้ การผ่านการมหาวิทยาลัยให้มุ่งเน้นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ETHIC คุณธรรมด้วยล้านคนเป็นผู้ที่มีทักษะดิจิทัลขั้น สูงภายในปี 2028

การส่งเสริม Smartup ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 1,000 Startup แล้วประเทศไทยจะผลักดันไปสู่ 20,000 Startup ภายในปี 2027 และมีอินเซนทีฟให้กับเอกชนเข้าไปทำได้มากขึ้น ขณะที่ประเทศสิงคโปร์มี Startup จำนวนมาก และเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางได้ Startup ต้องมีการเร่งยกระดับ

นายศุภชัยกล่าวสรุปว่า “ในความเปลี่ยนแปลง หากบริษัทไม่ปรับตัว จะขาดทุนและปิดตัวลง บริษัทที่เสมอตัวแสดงว่าทำ Digital tran information ได้สำเร็จ บริษัทที่เติบโตและกำไรเพิ่มต่อเนื่อง คือ Tech Company เป็นบริษัทที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี ประเทศก็ไม่แตกต่างกัน”