รัสเซียช้ำ พิษแซงก์ชั่น มอสโก2แสนคนส่อตกงาน – เอเชียผจญคลื่นเงินเฟ้อ

พิษแซงก์ชั่น
A couple walkin downtown Moscow on April 17, 2022. (Photo by Kirill KUDRYAVTSEV / AFP)

ชาวรัสเซียเผชิญ พิษแซงก์ชั่น ซึ่งเป็นแรงกดดันในสงครามบุกยูเครนอย่างหนัก เฉพาะชาวกรุงมอสโก 2 แสนคนเสี่ยงตกงาน เพราะการถอนกิจการของชาติตะวันตก 

วันที่ 19 เมษายน 2565 ซีเอ็นเอ็น รานงานว่า นายเซอร์กี ซับยานิน นายกเทศมนตรีกรุงมอสโก เมืองหลวงของรัสเซีย โพสต์ถึงผลกระทบที่ชาติตะวันตกถอนกิจการจากรัสเซียหรือระงับธุรกิจไว้ เพื่อประท้วงที่รัสเซียบุกยูเครน ว่า ทำให้ประชาชนนับเฉพาะในกรุงมอสโก มากกว่า 200,000 คนเสี่ยงตกงาน

พิษแซงก์ชั่น
A woman leaves a currency exchange office in central Moscow on April 18, 2022.  (Photo by Alexander NEMENOV / AFP)

นับจากที่ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย สั่งกองทัพบุกยูเครน ตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ. บรรดาบริษัทต่างชาติโดยเฉพาะชาติตะวันตกพากันถอนตัวออกจากรัสเซียแทบทุกกิจการ ตั้งแต่เบียร์ไปจนถึงรถยนต์

บริษัทใหญ่อย่าง แมคโดนัลด์ ที่มีหลายสาขาในรัสเซีย ว่าจ้างคนในรัสเซียราว 62,000 คนสัญญาว่าจะยังจ่ายเงินให้พนักงานอยู่ อย่างน้อยคือในช่วงเวลาจำกัด

A logo of the McDonald’s restaurant is seen in the window with a reflection of Kremlin’s tower in central Moscow, Russia March 9, 2022

ส่วนบริษัทอิงกา กรุ๊ป ของสวีเดน เจ้าของธุรกิจ อิเกีย ว่าจ้างพนักงานในรัสเซีย 15,000 คน ให้คำรับประกันว่าจะจ่ายเงินพนักงานให้ 3 เดือน แต่ยังไม่แน่ชัดว่า บริษัทเหล่านี้จะช่วยเหลือพนักงานไปได้นานเพียงใด

นายกเทศมนตรีกรุงมอสโก กล่าวว่า รัฐบาลรัสเซียพยายามเข้ามาช่วยเหลือกลุ่มคนทำงานเหล่านี้ไม่ให้ถูกทอดทิ้ง โดยมีโครงการช่วยพนักงานที่ทำงานให้กับบริษัทต่างชาติที่ระงับกิจการไว้ รวมถึงบริษัทที่ตัดสินใจออกจากรัสเซีย

พิษแซงก์ชั่น
People walk next to skyscrapers at Moscow International business centre, also known as “Moskva-City” in Moscow, Russia April 14, 2022. REUTERS/Maxim Shemetov

ความช่วยเหลือนี้ ครอบคลุมการฝึกหัด การว่าจ้างชั่วคราว การทำงานด้านสาธารณะ และการจัดแจงให้องค์กรหรือบริษัทจ้างพนักงานเหล่านี้กลับเข้าไปใหม่

ด้านประธานาธิบดีปูตินกล่าวกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลระหว่างการประชุมวิดีโอลิงก์ ว่าควรจะต้องใช้งบประมาณสนับสนุนเศรษฐกิจ พร้อมเร่งกระบวนการใช้กระแสเงินในประเทศสำหรับการค้ากับต่างประเทศ ภายใต้สภาวการณ์ใหม่

พิษแซงก์ชั่น
Russian President Vladimir Putin chairs a meeting on economic issues  Monday, April 18, 2022. (Mikhail Klimentyev, Sputnik, Kremlin Pool Photo via AP)

การลงโทษทางเศรษฐกิจ หรือแซงก์ชั่น ที่ชาติตะวันตกใช้กับรัสเซีย ทำให้รัสเซียเสี่ยงจะไม่มีเงินชำระหนี้ต่างประเทศครั้งแรกในรอบศตวรรษ เนื่องจากเงินสำรองระหว่างประเทศถูกอายัด ขณะที่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงมากจนคาดว่าจะเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจตามมา

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศนำการลงโทษรัสเซีย และกดดันอย่างหนักต่อชาติที่ยังคบค้าสมาคมกับรัสเซีย ซึ่งนางเจเน็ต เยลเลน รมว.คลังสหรัฐกล่าวเตือนชาติเหล่านี้ว่าจะต้องเจอกับผลกระทบ

เอเชียเจอเข้าแล้ว คลื่นเงินเฟ้อ

ด้าน บลูมเบิร์ก รายงานผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนต่อชาติเอเชีย ว่าคลื่นภาวะเงินเฟ้อเริ่มซัดมาถึงภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกแล้ว ทำให้ราคาอาหารและพลังงานพุ่งพรวด ทั้งที่พยายามเลี่ยงไม่ให้เจอสภาพแบบสหรัฐและยุโรป

A strike called by private transport operators in New Delhi, Monday, April 18, 2022. AP Photo/Manish Swarup)

อัตราเงินเฟ้อทั่วเอเชียสูงเกินคาดการณ์ส่งผลกระทบ ทั้งจีน อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเกาหลีใต้ ขณะที่นิวซีแลนด์ทำนิวไฮในรอบ 22 ปี เมื่อวันที่ 13 เม.. และยังมีเค้าลางเลวร้ายตามมาเพราะค่าต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เลวร้ายที่สุดยังมาไม่ถึง

การที่ตลาดเริ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อและธนาคารกลางดำเนินการเข้มข้นมากขึ้นทั่วเอเชียสะท้อนว่าอาจจะเกิดแนวโน้มเหมือนในสหรัฐ ซึ่งราคาผู้บริโภคเมื่อเดือนที่แล้วสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปลายปี 2524 ทำให้ธนาคารกลางต้องรับมือ

ส่วนพันธบัตรรัฐบาลในภูมิภาคที่สูงขึ้นตลอดทั้งปี นำโดยเกาหลีใต้ กลับให้ผลตอบแทนโดยรวมในเอเชียลดลงร้อยละ 2.6% ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2556 เป็นสัญญาณว่าธนาคารกลางบางแห่งจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลออัตราเงินเฟ้อและหนุนสกุลเงินไว้เป็นทุนออกจากภูมิภาค

The KEB Hana Bank headquarters in Seoul, South Korea, Friday, April 15, 2022. (AP Photo/Ahn Young-joon)

การที่รัสเซียรุกรานยูเครนเป็นจุดเปลี่ยนทำให้ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคปั่นป่วน ราคาพลังงานและเชื้อเพลิงสูงขึ้น อุปทานธัญพืชที่ส่งไปตลาดใหญ่ในภูมิภาคสั่นคลอน ราคาปุ๋ยและการขนส่งบวกเพิ่มไปกับราคาอาหารโลก

ราคาอาหารพุ่งพรวด

ธนาคาพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี ระบุว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในชาติกำลังพัฒนาของเอเชียบ่งบอกถึงเงินเฟ้อที่พุ่งพรวด กำลังจะขยับจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 3.7 ในปีนี้ ทำให้ผู้กำหนดนโยบายเปลี่ยนโฟกัสและทำให้นักลงทุนบางคนหวาดผวา

กลุ่มธนาคารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ระบุว่าเมื่อเดือนที่แล้ว เงินลงทุน 22,300 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 735,900 ล้านบาท ไหลจากออกเอเชีย รวมทั้ง จีน ซึ่งเป็นการขายครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.. 2563

อินเดีย ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกกำลังประสบปัญหาราคาอาหารและเชื้อเพลิงพุ่งสูงขึ้น พ่อค้าแผงผักชานเมืองมุมไบเจอปัญหานี้กับตัวเอง เขายื่นถุงพลาสติกใส่ผักหลายชนิดให้ลูกค้าราคา 450 รูปีหรือประมาณ 198 บาท ซึ่งแพงกว่าเมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อนถึงร้อยละ 80

FILE PHOTO: Aretail market area in Kolkata, India, March 22, 2022. REUTERS/Rupak De Chowdhuri/File Photo

พ่อค้าบอกว่า ช่วยไม่ได้จริงๆ ราคาข้าวของทะยานขึ้นทุกอย่าง รวมทั้ง แก๊สหุงต้มก็แพงขึ้นร้อยละ 30

ศักติกานตา ดาส ผู้ว่าการธนาคารทุนสำรองอินเดีย เรียกสถานการณ์นี้ว่า การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกด้านเศรษฐกิจมหภาคและอัตราเงินเฟ้อ ตั้งแต่สิ้นเดือน .. ช่วงที่รัสเซียบุกยูเครนเป็นแรงผลักให้ราคาที่นิ่งก่อนหน้านี้เกิดความเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงทำให้เงินเฟ้อไม่หยุด

ราคาผู้ผลิตในจีนปรับขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าและลดดจากร้อยละ 8.8 เมื่อเดือน .. แต่ยังสูงกว่าค่ามัธยฐานที่ร้อยละ  8.1

ส่วนราคาผู้บริโภค ไม่รวมอาหารสดในญี่ปุ่นซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน .. เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าซึ่งเป็นอัตราที่ขึ้นเร็วที่สุดในรอบสองปี เนื่องจากราคาพลังงานสูงขึ้น

Visitors walk past diners eating at food stalls at Gwangjang Market in Seoul on April 18, 2022. (Photo by Anthony WALLACE / AFP)

ด้านธนาคารกลางในเกาหลีใต้และสิงคโปร์ประชุมกันไปสัปดาห์ก่อน และนักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในกรุงโซลจะปรับขึ้นอีกครั้ง

ขณะที่สิงคโปร์คาดว่าจะกำหนด Imported Inflation หรืออัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเสื่อมค่าของสกุลเงินของประเทศนั้นๆ ให้มีวามเข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะ พลังงาน

ส่วนราคาอาหารเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเงินเฟ้อต่อธนาคารกลางเอเชีย แม้ว่าภูมิภาคดังกล่าวจะเป็นผู้ส่งออกสุทธิก็ตาม

HSBC Holdings Plc. ระบุว่าการการล็อกดาวน์ในจีนเพื่อสกัดโควิด-19 เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อในภาคการขนส่ง

นอกจากนี้ การขึ้นราคาผู้บริโภคก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เตือนห่วงโซ่อุปทานเลวร้ายลง

นักวิจัยจาก ANZ and Nomura Holdings Inc. มองว่าทั้งราคาโรงงานและราคาผู้บริโภคได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย ขณะที่บางบริษัทแบกรับค่าธรรมเนียมหรือค่าอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนตัวลงเอาไว้เอง

คริสตัล ถัน  นักเศรษฐศาสตร์ของ ANZ กล่าวว่าช่องว่างระหว่างราคาโรงงานและราคาผู้บริโภคกว้างมาก จะเห็นว่ามีแรงกดดันราคาที่จะไหลไปสู่ราคาผู้บริโภค ในที่สุด ผู้ผลิตก็จะส่งต่อต้นทุนที่สูงขึ้นไปสู่ราคาผู้บริโภค

ห่วงโซ่อุปทานในเอเชียจะเลวร้ายลงในหลายเดือนข้างหน้าท่ามกลางความกังวลเรื่องเงินเฟ้อทั่วโลก สงครามในยูเครนยิ่งทำให้ราคาเชื้อเพลิงสูงและการล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้ยิ่งทำให้มีปัญหากับท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก

(FILES) A factory in Linquan county, Fuyang city, in China’s eastern Anhui province. (Photo by AFP) / China OUT

แม้ข้อมูลไม่ได้ชี้ไปในทิศทางเดียว แต่ต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นและเวลาในการจัดส่งที่นานขึ้นส่งสัญญาณเลวร้ายต่อเนื่อง

เคนเนธ หว่อง ผู้บริหารบริษัทผลิตชุดชั้นในชั้นนำของโลกมีโรงงานในจีน กัมพูชาและไทย เห็นว่าราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้นร้อยละ 20 ซึ่งมีวัตถุดิบที่จะต้องประกอบกันหลายชิ้นส่วน เช่น ผ้า แผ่นโฟม ลวดโลหะ และตัวปรับพลาสติกซึ่งราคายังพุ่งไม่หยุด

ในสถานการณ์ปกติ หว่องจะแจ้งลูกค้าเรื่องผลิตภัณฑ์ที่จะเก็บไว้ได้ตลอดอายุการใช้งานได้นานถึง 3 ปี แต่ตอนนี้ ต้องปรับราคาขึ้นเรื่อยๆ 

หว่องกล่าวว่าก่อนหน้านี้ เคยซื้อของอย่างยางยืด ด้าย หรือหัวเข็มขัด โดยไม่ต้องคิดเรื่องนี้เลย แต่ตอนนี้ต้องมาบริหารจัดการอย่างจริงจัง