ปีนี้ “โลหะเงิน” อาจราคาสูงสุดในรอบ 9 ปี และสูงกว่าราคาทองคำ

โลหะเงินราคาสูง
AFP/ JOEL SAGET

มีคาดการณ์ว่าปีนี้ราคาโลหะเงินอาจจะสูงถึง 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เป็นระดับราคาสูงสุดในรอบ 9 ปี และเป็นไปได้ที่จะราคาสูงกว่าทองคำ เนื่องจากราคาสัมพันธ์กับภาวะเงินเฟ้อ และผลิตได้น้อย ไม่พอต่อความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น

วันที่ 20 มกราคม 2566 สำนักข่าว CNBC รายงานว่า ราคา “โลหะเงิน” อาจจะพุ่งสูงถึง 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในปีนี้ ซึ่งเป็นระดับราคาสูงสุดในรอบ 9 ปี และมีความเป็นไปได้ที่ราคาเงินจะสูงกว่าทองคำ

โดยนักวิเคราะห์อธิบายว่า อุทานที่ไม่เพียงพอ ประกอบกับแนวโน้มที่เงินให้กำไรดีกว่าทองคำในช่วงภาวะเงินเฟ้อสูงคือปัจจัยหลักที่สนับสนุนคาดการณ์นี้

ทั้งนี้ ครั้งล่าสุดที่เม็ดโลหะเงินราคาสูงแตะระดับ 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์คือในเดือนกุมภาพันธ์ 2566

เจนี่ ซิมพ์สัน (Janie Simpson) ซีอีโอ ABC Bullion บอกว่า จากสถิติในอดีตที่ผ่านมา เงินเคยให้กำไร 20% ต่อปี ในปีปีที่อัตราเงินเฟ้อสูง และราคาโลหะเงินยังสัมพันธ์กับราคาทองคำด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่ราคาโลหะเงินจะพุ่งไปที่ 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในปีนี้ แม้มีแนวโน้มว่าจะมีปัจจัยต้านที่สำคัญก็ตาม

เม็ดโลหะเงิน (silver spot) เคยมีราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 49.45 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในปี 1980 ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 13.5% เพิ่มขึ้นจากราคาประมาณ 4 ดอลลลาร์ต่อออนซ์ในปี 1976 ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 5.7%

สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน CNBC รายงานราคาล่าสุดของโลหะเงิน ณ วันที่ 19 มกราคม (เวลาสหรัฐ) ที่ 24.02 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อสหรัฐอยู่ที่ 6.5%

นิคกี้ ชีลส์ (Nicky Shiels) หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์โลหะของบริษัทค้าโลหะมีค่า MKS PAMP กล่าวว่า แร่เงินอยู่ในภาวะขาดแคลน และมีปริมาณลดลงอย่างเห็นได้ชัดในสต๊อกการถือครองซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในนิวยอร์กและลอนดอน โดยลดลงมากกว่าทองคำ

ทั้งนี้ เงินเป็นโลหะที่ใช้โดยทั่วไปในการผลิตยานยนต์ แผงโซลาเซลล์ เครื่องประดับ และอิเล็กทรอนิกส์

นิกกี้บอกอีกว่า คาดว่าแร่เงินจะขาดดุลมากกว่า 100 ล้านออนซ์ในอีก 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากอุปสงค์จากภาคอุตสาหกรรมกระตุ้นให้อุปทานตึงตัว ซึ่งดีมานด์หลักของแร่เงินนั้นมาจากภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นเกือบ 50% ของความต้องการทั้งหมด

เธอบอกคาดการณ์อีกว่า ความต้องการแร่เงินจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 15% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า เป็นผลมาจากความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์

ส่วนฝั่งซัพพลายนั้น ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะผลิตได้มากพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากแร่เงินที่ผลิตได้ส่วนใหญ่เป็นผลพลอยได้จากเหมืองตะกั่ว สังกะสี ทองแดง และทองคำ

จากข้อมูลของ The Silver Institute ระบุว่า ในปี 2022 มีซัพพลายแร่เงินจากเหมืองแร่รวมทั้งหมด 843.2 ล้านออนซ์ ซึ่งยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี ที่ผลิตได้ 900 ล้านออนซ์ เมื่อปี 2016

แรนดี้ สมอลล์วู้ด (Randy Smallwood) ประธานบริษัทเหมือง Wheaton Precious Metals บอกว่า ซัพพลายโลหะเงินขึ้นถึงระดับสูงสุดเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว จากนั้นการผลิตโลหะเงินทั่วโลกก็ลดลง และจะไม่ได้เห็นแร่เงินจากเหมืองในปริมาณมากเท่านั้นแล้ว

เขาอธิบายว่า เมื่อราคาแร่เงินเพิ่มสูงขึ้น ก็ไม่ใช่ว่าเหมืองเงินจะสามารถผลิตแร่เงินเพิ่มขึ้นได้ เพราะเหมืองแร่เงินสามารถผลิตแร่เงินได้ 25% ของซัพพลายทั้งหมดเท่านั้น นอกจากนั้น ตลาดต้องพึ่งพาการผลิตแร่เงินจากเหมืองตะกั่ว-สังกะสี เพื่อตอบสนองต่อดีมานด์ที่สูง

เขาบอกอีกว่าไม่แปลกใจหากราคาแร่เงินจะสูงถึง 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่เขาคิดว่าราคานั้นไม่ควรจะคงที่อยู่นาน เขาเรียกร้องให้ราคาอยู่ในระดับที่พอเหมาะเหนือ 20 ดอลลาร์ต่อออนซ์

อย่างไรก็ตาม MKS PAMP ยังมีคาดการณ์ในทางตรงข้ามอีกว่า ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจจะทำให้ความต้องการแร่เงินลดน้อยลง ซึ่งอาจจะทำให้ราคาแร่เงินร่วงต่ำลงไปถึง 18 ดอลลาร์ต่อออนซ์

เช่นกันกับเจนี่ ซิมพ์สัน (Janie Simpson) ซีอีโอ ABC Bullion ที่เห็นไปในทางเดียวกันว่า ความเสี่ยงที่ใหญ่หลวงที่สุดต่อราคาโลหะเงิน คือ หากธนาคารกลางสหรัฐยังคงใช้นโยบายการเงินอย่างเข้มงวดต่อไป แล้วอัตราเงินเฟ้อลดลงเร็วกว่าที่ตลาดคาดไว้ นั่นจะเป็นอุปสรรคต่อราคาเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากดีมานด์โลหะเงินส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับผลผลิตของภาคอุตสาหกรรม 

…………………