อ.เจษฎา เฉลยแล้ว แมวตกตึกชั้น 6 รอดมาได้ เกิดจากสาเหตุอะไร

เจ้าชิฟู”

อ.เจษฏา ไขคำตอบ แมวตกตึกชั้น 6 แค่เล็บหลุด แนะเจ้าของเลี้ยงบนตึกสูง ควรป้องกันแมวออกระเบียง

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 “เจ้าชิฟู” แมวตัวหนึ่ง ที่มีน้ำหนักกว่า 8.5 กิโลกรัม ตกจากคอนโดฯชั้น 6 ลงสู่หลังรถสีแดงจนกระจกแตก จนกลายเป็นกระแสแชร์ความเอ็นดูและห่วงใยในตัวน้องแมวอ้วนไปทั่วสังคมออนไลน์นั้น

ล่าสุด “ศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์” อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์” แชร์เรื่องราวดังกล่าว พร้อมให้ความรู้ถึงคนเลี้ยงแมวว่า แมวนั้นไม่ได้ปลอดภัยจากการตกจากที่สูง ตามที่หลายคนเข้าใจ

เคสนี้ถือเป็นความโชคดีมากที่ตกลงมาแล้วไม่ตาย เพราะส่วนใหญ่หากแมวตกจากตึกชั้น 7 ลงมา จะมีโอกาสทั้งตายหรือบาดเจ็บ

“แมวตกตึก 6 ชั้นไม่ตาย” … มันโชคดีแล้วครับ ส่วนใหญ่จะตายหรือบาดเจ็บถ้าตกจากตึก 7 ชั้นลงมาวานนี้ มีข่าวอทาหรณ์สำหรับคนที่เลี้ยงแมวบนคอนโดฯหรือตึกสูง

โดยมีภาพจากกล้องวงจรปิด บันทึกเหตุการณ์ขณะที่แมว ชื่อ ชิฟู แมวตัวใหญ่ลายเสือ อายุประมาณ 5 ปี น้ำหนักกว่า 8.5 กิโลกรัม ตกจากชั้น 6 ตึกคอนโดฯแห่งหนึ่ง ในเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ลงมาใส่กระจกหลังรถยนต์จนแตกยับเป็นรูโบ๋

ADVERTISMENT

ส่วนเจ้าชิฟูนั้นรอดปาฏิหาริย์ ผลเอกซเรย์ 2 รอบออกมา ปรากฎว่ากระดูกทุกส่วนไม่แตกไม่ร้าวแต่อย่างใด มีเพียงเล็บหลุด 2 เล็บ และห้อเลือดอีกเล็กน้อย เป็นอุทาหรณ์ให้กับคนที่เลี้ยงสัตว์บนตึกสูง ให้ระวังไม่ให้เผลอปิดประตูระเบียงทิ้งเอาไว้

เรื่องนี้ ก็ต้องนับว่าเจ้าแมวชิฟูมันโชคดีมาก เพราะถึงเราจะชอบคิดว่า แมวมันไม่ตายจากการตกที่สูง มันมี 9 ชีวิต …

ADVERTISMENT

แต่ความจริงแล้ว มีแมวที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ จากการพลัดตกจากอาคารสูง ดังเช่น จากรายงานข่าวของสำนักข่าว BBC (https://www.bbc.com/thai/features-50118094) ที่พูดถึงปัญหาแมวพลัดตกจากอาคารสูง ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเขตเมือง ที่ผู้คนส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ตามตึกสูง

ตามรายงานข่าว BBC บอกว่า ปรากฏการณ์ที่แมวตกจากตึกสูงนี้ เรียกว่า “ไฮไรส์ ซีนโดรม high-rise syndrome” ซึ่งแมวที่ตกจากอาคารสูง 2 ชั้นขึ้นไป (หรือราว 7-9 เมตรขึ้นไป) มักจะได้รับบอบช้ำทั้งทางร่างกายและจิตใจ และพบกรณีแมวในประเทศสิงคโปร์ตกจากตึกสูง ราว 5 รายต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็นประมาณ 250 ตัวต่อปี และครึ่งหนึ่งของแมวที่ตกจากตึกสูงนี้ มักตายในจุดเกิดเหตุ !

โดยอาการบาดเจ็บที่มักพบจากการที่แมวตกจากที่สูงนี้ ได้แก่ กระดูกหัก ส่วนใหญ่มักเป็นกระดูกขากรรไกร เพราะคางแมวกระแทกกับพื้นตอนที่ตกลงมา (โดยกรณีที่พบบ่อยที่สุดคือ กระดูกขากรรไกรหักและฟันร้าว)

อาการบาดเจ็บที่ขา ภาวะบาดเจ็บที่ข้อต่อ เส้นเอ็นฉีกขาด หรือขาหัก อาการบาดเจ็บภายใน โดยเฉพาะที่ปอด

“เจ้าชิฟู”

ซึ่งทำให้บรรดาเจ้าของแมว เริ่มตระหนักกับปัญหานี้เพิ่มขึ้น และต้องปรับปรุงห้องพักที่อยู่ตามตึกสูง ให้มีความปลอดภัยสำหรับสัตว์เลี้ยง จนกลายเป็นธุรกิจที่กำลังเฟื่องฟูอย่างมากในสิงคโปร์

อย่างไรก็ตาม เคยมีการวิจัยจากนายสัตวแพทย์ Jared Diamond ที่ทำงานในโรงพยาบาลสัตว์ที่ New York ได้ศึกษาค้นคว้าและเก็บข้อมูลเชิงสถิติจากการตกตึกของแมว โดยได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาไว้ในวารสาร Nature เอาไว้อย่างน่าสนใจ ว่า

– จากการศึกษาแมวกว่า 115 ตัว จากการตกตึกจากชั้นที่ 2 ถึง ชั้นที่ 32

– มีแมวจำนวน 11 ตัว เสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บช่วงอกหรือช็อกตาย และแมวที่รอดชีวิต มีอาการบาดเจ็บเล็กน้อยจนถึงบาดเจ็บสาหัส

– โดยแมวที่ตกจากชั้นที่ 7 ถึง ชั้นที่ 32 ส่วนใหญ่กลับรอดชีวิตทั้งหมด !?

– ผลสรุปการวิจัยพบว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีทักษะการเอาตัวรอดแต่กำเนิด ซึ่งมีชื่อว่า “การกลับตัวกลางอากาศ”

– แมวสามารถจัดระเบียบร่างกายของตัวเอง ระหว่างที่อยู่กลางอากาศได้ โดยแมวจะชะลอความเร็วระหว่างตก ได้ด้วยการกางแขนขาที่มีขนนุ่มฟูเพื่อต้านแรง ไม่ว่าแมวจะตกจากชั้นไหนก็ตาม ความเร็วปลายจะอยู่ที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งไม่มากพอที่จะทำให้น้องแมวเสียชีวิตได้

– แต่แมวที่ตกจากตึกชั้นที่ต่ำกว่า 7 ชั้นลงมา จะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า (แมวที่ตกจากตึกที่สูงกว่า 7 ชั้น) เนื่องจากแมวไม่มีเวลามากพอ ที่จะจัดระเบียบร่างกายตัวเองให้ทัน !!

(อธิบายเพิ่ม) การที่แมวตกจากตึกสูงไม่เกิน 7 ชั้นมีโอกาสบาดเจ็บขาหัก หรือบาดเจ็บมากกว่าตกจากที่สูงกว่านั้น เพราะเวลาที่สิ่งต่าง ๆ ตกจากตึก มันจะมีสิ่งที่เรียกว่า ความเร็วปลาย (terminal velocity) ซึ่งก็คือความเร็วที่สุดที่เกิดขึ้นได้เพราะมีแรงต้านอากาศ ทำให้สิ่งที่ตกลงมา ไม่ตกเร็วไปกว่านี้ (100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

และที่ความเร็วปลายนี้ แมวจะรู้สึกเหมือนตัวมันไร้น้ำหนักและผ่อนคลาย (คล้ายกรณีของนักกระโดดร่ม เมื่อตกลงมาถึงที่ความเร็วปลาย) ทำให้สัญชาตญาณของแมว บอกให้มันกางขาทั้งสี่ขาออก (เหมือนนักกระโดดร่มที่กางแขนขา)

ส่งผลให้เพิ่มแรงต้านอากาศ ความเร็วขณะที่แมวร่วงจะช้าลง ขณะที่มันก็จะเตรียมตัวลงสู่พื้นแบบกระจายแรงกระแทกไปให้ทั่วร่างกายอันยืดหยุ่นของมัน และเนื่องจากมันมีน้ำหนักตัวค่อนข้างน้อย จึงไม่ทำให้แมวตาย

…แต่ถ้าแมวตกจากตึกเตี้ยๆ ด้วยระยะทางที่สั้นเกินไป มันกลับไม่สามารถเปลี่ยนท่ากลางอากาศได้ทัน ร่างกายจึงกระแทกกับพื้นได้ (ทั้งหมดนี้ เป็นสมมุติฐานที่นักวิจัยคาดเอาจากสถิติการบาดเจ็บของแมวตกตึก ไม่ได้มีการทดลองเอาแมวจริง ๆ โยนจากตึก)

ดังนั้น การที่แมวตกตึก จึงไม่ใช่แค่เรื่องขำ ๆ เล่น ๆ ที่คิดว่ามันจะรอดชีวิตได้ง่าย ๆ เพียงเพราะคิด ตึกที่อยู่นั้นไม่ได้สูงอะไรมากมาย (เพราะมันพลิกกลับตัวไม่ทัน เลยกระแทกพื้นบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้) และอาจเกิดเหตุไม่คาดฝัน แมวหลุดออกไปนอกระเบียง อย่างกับข่าวนี้ก็เป็นได้

เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุแบบนี้อีก การเลี้ยงแมวบนตึกสูงจึงต้องทำการปิดประตูหรือกระจกที่เชื่อมไปบริเวณระเบียง

ถ้าไม่มีใครอยู่ห้อง ควรจะจับแมวไว้ในกรง และถ้าพบว่าแมวตกตึก ตกจากที่สูง ให้รีบนำไปพบสัตว์แพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อให้ตรวจวินิจฉัยร่างกายโดยละเอียด

อ.เจษฎา