Miss Universe 2021 : ชุดจริง “นางคาด” ที่แอนชิลี ใส่ขึ้นประกวด รอบชุดประจำชาติ

นางคาด แอนชิลี

โผยโฉม “นางคาด” ชุดดจริง ที่ “แอนชิลี สก๊อต-เคมมิส” ตัวแทนสาวไทย ใส่ขึ้นประกวดรอบชุดประจำชาติ บนเวทีนางงามจักวาลครั้งที่ 70 (Miss Universe 2021) ที่ประเทศอิสราเอล สัปดาห์หน้า

วันที่ 3 ธันวาคม 2564 สื่อหลายสำนักรายงานว่า สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนการสร้างสรรค์ชุดประจำชาติไทยให้แก่กองประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2021 เผยโฉมชุดจริง “นางคาด” (Woman of steel) ที่ “แอนชิลี สก๊อต-เคมมิส” มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2021 จะใส่ขึ้นเวทีนางงามจักวาลครั้งที่ 70 (Miss Universe 2021) ที่ประเทศอิสราเอล สัปดาห์หน้า

ก่อนหน้านี้ บริษัท ทีพีเอ็น โกลบอล จำกัด (TPN GLOBAL) ผู้ถือลิขสิทธิ์การจัดการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ (Miss Universe Thailand) ได้ประกาศผลว่า “ชุดนางคาด” จะเป็นชุดประจำชาติไทยบนเวทีนางงามจักวาลครั้งที่ 70 (Miss Universe 2021) ที่ประเทศอิสราเอล เดือนธันวาคมนี้

“ชุดนางคาด (Woman of steel) สร้างสรรค์ด้วยแรงบันดาลใจจาก “เลือดนักสู้ในตัวหญิงสาว” ชุดประจำชาติไทย “นางคาด” ฝีมือการออกแบบโดย จาตุรณ แร่เพชร ซึ่งผู้ออกแบบได้สร้างสรรค์ชุดประจำชาติไทยผ่านรูปแบบศิลปะการต่อสู้ไทยโบราณที่เรียกว่า “มวยคาดเชือก” ประยุกต์เข้ากับความเป็นสากล

แม้จะเป็นเพียงเชือกเส้นบาง แต่เมื่อพันทบกันเป็นเกลียวแน่นก็กลับกลายเป็นอาวุธที่เปี่ยมไปด้วยความแข็งแกร่งไม่ต่างจากเหล็กกล้า ดุจดังพลังความหาญกล้า ผสมความงามของหญิงสาว เส้นเชือกที่ร้อยต่อถักทอประดับโลหะคาดไปกับหมัดและร่างกายของสาวงาม

ทั้งนี้ เป็นเทคนิคสำคัญที่ส่งเสริมในการออกแบบครั้งนี้ มากไปกว่านั้น “นางคาด” จะแสดงให้คุณเห็นว่า “นางงาม” เป็นได้มากกว่าภาพลักษณ์ที่สวยงาม ทั้งยังเป็นพลังสำคัญที่จะประกาศให้ทั้งโลกได้เห็นถึงวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์และพลังนักสู้ของคนไทย อีกหนึ่งนัยสำคัญของคำว่า “คาด” คือ การนำพลังใจจากคนไทยทั้งประเทศเรียงร้อยรวมกันอย่างเหนียวแน่น เพื่อส่งใจเชียร์และประกาศก้องให้ทั้งโลกเห็นว่าพวกเราคนไทยแข็งแกร่งเพียงใดอีกด้วย

ร่วมส่งเชียร์จาก “ไทยแลนด์” ให้ก้องโลกอีกครั้ง กับการต่อสู้ครั้งใหม่ของ “แอนชิลี สก๊อต-เคมมิส” สาวงามหนึ่งเดียวแห่งสยามที่ทรงพลังและมีคุณค่าสมบูรณ์แบบทุกองศา พร้อมก้าวไปพิชิตมงกุฎระดับโลกจากเวที “มิสยูนิเวิร์ส” (Miss Universe) ณ เมืองเอลัต ประเทศอิสราเอล ในเดือนธันวาคมนี้

ชุดประจำชาติ ในยุค IMG ใน 6 ปีที่ผ่านมา

  • 2020 : ประเทศเมียนมา : ชุดเมียนมาธรรมดา พร้อมชูป้าย “Pray for Myanmar” สวมใส่โดย “Thuzar Wint Lwin” มิสยูนิเวิร์สเมียนมา
  • 2019 : ประเทศฟิลิปปินส์ : ชุดนกสีเงิน สวมใส่โดย “Gazini Ganados” มิสยูนิเวิร์สฟิลิปปินส์
  • 2018 : ประเทศลาว : ชุดธารน้ำใจสู่ประเทศลาว สวมใส่โดย “ออนอะนง หอมสมบัด” มิสยูนิเวิร์สลาว
  • 2017 : ประเทศญี่ปุ่น : ชุดนินจา ผสมผสานเป็นชุดกิโมโน สวมใส่โดย “Momoko Ab” มิสยูนิเวิร์สญี่ปุ่น
  • 2016 : ประเทศเมียนมา : ชุดหุ่นสาย สวมใส่โดย “Htet Htet Htun” มิสยูนิเวิร์สเมียนมา
  • 2015 : ประเทศไทย : ชุดตุ๊กตุ๊กไทยแลนด์ สวมใส่โดย “อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์” มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์
    ตัวแทนสาวไทยคว้าชุดประจำชาติ

ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่ได้รับชนะเลิศในการประกวดมากที่สุด ร่วมกับประเทศโคลอมทั้งสิ้น 6 ครั้ง

  • ครั้งที่ 1 ในปี 1966 “ชุดนางรำ” สวมใส่โดย : แสงเดือน แม้นวงศ์
  • ครั้งที่ 2 ในปี 1988 “ชุดไทยที่ดัดแปลงจากฉลองพระองค์พระราชินี” สวมใส่โดย : ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก
  • ครั้งที่ 3 ในปี 2005 “ชุดไทยในสมัยอยุธยา สวมศิราภรณ์ทองถักบนศีรษะ” สวมใส่โดย : ชนันภรณ์ รสจันทน์
  • ครั้งที่ 4 ในปี 2008 “ชุดไทยประยุกต์ สปิริตออฟไฟต์ติ้ง” สวมใส่โดย : กวินตรา โพธิจักร
  • ครั้งที่ 5 ในปี 2010 “ชุดไทยประยุกต์ สยามไอยรา” สวมใส่โดย : ฝนทิพย์ วัชรตระกูล
  • ครั้งที่ 6 ในปี 2015 “ชุดตุ๊กตุ๊กไทยแลนด์” สวมใส่โดย : อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์